อดีต สส.เชียงใหม่ น้อมรำลึก “ในหลวง ร.9 ” เสด็จฯ อ.จอมทอง

สุรพล เกียรติไชยากร อดีต สส.เชียงใหม่ 9 สมัย ++เมื่อครั้ง เป็นประธานลูกเสือชาวบ้าน อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เข้าเฝ้าฯถวายมาลัยกร เมื่อวันที่ 2กุมภาพันธ์ พศ.2520 ขณะพระบาทสมเด็จพระปริมรทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯไปยังดอยอินทนนท์ เพื่อเยี่ยมราษฎร มีรับสั่ง"ขอบใจ"
สุรพล เกียรติไชยากร อดีต สส.เชียงใหม่ 9 สมัย เมื่อครั้ง เป็นประธานลูกเสือชาวบ้าน อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เข้าเฝ้าฯถวายมาลัยกร เมื่อวันที่ 2กุมภาพันธ์ พศ.2520 ขณะพระบาทสมเด็จพระปริมรทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯไปยังดอยอินทนนท์ เพื่อเยี่ยมราษฎร มีรับสั่ง “อบใจ”

จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ทรงงานที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์

เมื่อเสด็จฯแปรพระราชฐาน ประทับ ณ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ และทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่เปี่ยมล้นด้วยพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นต่อพสกนิกรในพื้นที่

และเป็นหนึ่งในพื้นที่ก่อเกิดโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ , โครงการหลวง และสถานีเกษตรที่สูงต่างๆมากมาย

อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอีกพื้นที่ทรงงาน ที่มีสถานีเกษตรที่สูงอินทนนท์ , โครงการหลวงอินทนนท์ ,มี “พระมหาธาตุเจดีย์นภเมทนีดล” ที่จัดสร้างขึ้นโดยกองทัพอากาศร่วมกับพสกนิกรชาวไทย เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบเมื่อปี พ.ศ.2530 ประดิษฐานอยู่บนที่สูงสุดในราชอาณาจักรไทย เคียงคู่ “พระมหาธาตุเจดีย์นภพลภูมิสิริ” ซึ่งสร้างถวาย “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ” ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบเมื่อพ.ศ 2535

00317-800x519

หากกล่าวถึงบุคคลที่มีโอกาสได้เฝ้ารับเสด็จฯ และรับรู้พระมหากรุณาธิคุณ ในพื้นที่ อำเภอจอมทอง เป็นอย่างดี คงต้องยกย่องบุคคลท่านนี้” สุรพล เกียรติไชยากร “หรือ”เฮียเส่ง” อดีตผู้แทนขวัญใจชาวบ้าน 9 สมัย บอกเล่า รำลึกถึงอดีตที่ผ่านมา เกี่ยวกับพระมหากรุณาธิคุณ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช ได้น่าติดตาม

“เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 เวลาประมาณ บ่าย 3 โมง เป็นห้วงเวลาที่ประชาชนคนไทยทุกหู่เหล่าเศร้าโศกวิปโยคกันทั้งแผ่นดิน เมื่อทราบข่าวการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปริมนทรมหาภูมิพลอดุลยเดช”
ผมในฐานะพสกนิกรไทยที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และพระองค์ รู้สึกเศร้าเสียใจ ด้วยรำลึกถึงครั้งที่ได้ร่วมกิจกรรมลูกเสือชาวบ้านในพระบรมราชูปถัมน์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2518 ได้ทำหน้าที่ประธานลูกเสือชาวบ้าน ทั้งระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับรองประธานภาคเหนือ 17 จังหวัด  ทำให้มีโอกาสได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พร้อมถวายรายงานบ่อยครั้ง ในขณะเสด็จฯเยี่ยมราษฎร ในพื้นที่

3-jpg

และเมื่อวันที่ 2 กพ.2520 ทรงพระราชยานพาหนะด้วยพระองค์มายังอำเภอจอมทอง ไปยังดอยอินทนนท์ ซึ่งตอนนั้นถนนขึ้นสู่อินทนนท์ กำลังเริ่มก่อสร้าง เดินทางยากลำบากมาก  ก่อนนั้นพระองค์เสด็จฯมาทางเฮลิคอปเตอร์ หลายครั้ง ทรงเยี่ยมชาวเขาที่บ้านขุนกลาง และชาวปะกากะญอ-กะเหรี่ยงที่บ้านอ่างกาน้อย แม่กลางหลวง อีกหลายๆพื้นที่ ทอดพระเนตรเห็นความทุกข์ยากลำบากของราษฎร ตอนนั้นก็ยังมีการปลูกฝิ่น เพื่อเป็นรายได้ดำรงชีวิต

“พระองค์ได้ทรงคิดค้น ศึกษาหาวิธีการแก้ปัญหาเพื่อนำพืชเกษตรที่สามารถปลูกให้ผลผลิต สร้างรายได้ ทดแทนการปลูกฝิ่น เกิดเป็นโครงการหลวง สถานีเกษตรอินทนนท์ โครงการตามแนวพระราชดำริอีกมากมาย ในพื้นที่ทั่วเชียงใหม่และภาคเหนือราษฎรมีรายได้ดีขึ้นก็ลดเลิกการปลูกฝิ่น ลดการบุกรุก ทำลายป่าต้นน้ำ”

ผมมีโอกาสนำคณะลูกเสือชาวบ้าน เข้าเฝ้า จำได้ตอนนั้นพระองค์ทรงมีแผนที่ในพระหัตถ์ ได้มีพระราชดำรัสกับ ดร.อาณัติ อาภาภิรมย์ รมว.เกษตรฯในขณะนั้นว่า ต้องพัฒนาชาวเขาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

กระแสพระราชดำรัสความตอนหนึ่ง เน้นให้คณะทำงานรับทราบว่า ยอดดอยอินทนนท์ เป็นยอดดอยที่สูงสดในประเทศไทยมีฝนตกมากที่สุด แต่น่าเสียดาย น้ำฝนไม่มีที่รองรับ ควรต้องมีอ่างเก็บน้ำ บริเวณเชิงเขาอินทนนท์ เพื่อกักเก็บน้ำมาใช้ในภาคการเกษตร ช่วงฤดูแล้ง ช่วงขาดแคลนน้ำ

6-jpg

ดอยอินทนนท์ มีสายน้ำสำคัญ 2 สายคือ แม่กลาง และลำน้ำแม่หอย ลำน้ำแม่กลาง ทำให้เกิดการท่องเที่ยว มีส่วนทำให้เกิดน้ำตกที่สวยงาม 5 แห่งตลอดสายน้ำ ไม่มีสามารถนำมาใช้ภาคการเกษตรได้ แต่มีผลดีต่อการท่องเที่ยว
ส่วนลำน้ำแม่หอย ควรจะนำมากักเก็บไว้ได้ ต้องศึกษาดู และเวลาฝนตกหนัก ลำน้ำ 2 สายมาบรรจบกันที่บ้านแม่หอย ส่งผลกระทบต่อการเกืดอุทกภัยในพื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงอำเภอจอมทองอีกด้วย

จากแนวพระราชดำริฯ ดังกล่าว สำนึกและน้อมรับใส่เกล้าฯ ตั้งสัจจาธิษฐานว่าเมื่อมีโอกาส จะติดตามโครงการนี้ จนกระทั่งต่อมาได้เป็นผู้แทนราษฎร

จึงเสนอโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำแม่หอยขึ้น ตั้งแต่ปีพศ.2538 จนปัจจุบันกรมชลประทานได้บรรจุในแผนงานก่อสร้าง อ่างเก็บน้ำขนาดกลางซึ่งจะบรรจุน้ำได้ประมาณ9 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นอ่างขนาดกว้าง230 เมตร สูง 30 เมตร กรมชลฯรับผิดชอบ เหตุที่ล่าช้า เพราะพื้นที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ อินทนนท์ และเขตป่าสงวนฯ ต้องใช้เวลาในขั้นตอนตรงนี้ จะใช้งบ 680 ล้านบาท

จึงนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ อย่างหาที่สุดมิได้ที่พระบาทสมเด็จพระปริมนทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานโครงการนี้ เพื่อพสกนิกรของพระองค์ และชาวจอมทอง-ดอยหล่อ จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อภาคการเกษตร++
ทุกวันนี้เกษตรกร ในพื้นที่ อินทนนท์ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมาก

5-jpg
สุรพล เกียรติไชยากร “หรือ”เฮียเส่ง”

การเสด็จสวรรคต ของพระองค์ นับเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของแผ่นดิน ของพสกนิกรชาวไทย เสมือนพ่อจากไปแต่มั่นใจว่า สิ่งที่พระองค์ได้ทรงเมตตา และพระราชทานนานัปการ รวมทั้งพระราชดำรัส คำสอนต่างๆ จะเป็นหลักการในชีวิตที่พสกนิกรคนไทยทุกคนจะต้องน้อมนำรำลึกนำไป ประพฤติ ปฏิบัติ เพื่อเป็นมงคลสูงสุของชีวิต ที่จะช่วยทำให้ครอบครัวชีวิต สังคมประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง มั่นคงตลอดไป โดยส่วนตัว เก็บภาพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช ติดตัวมาตลอดชีวิต นับตั้งแต่มีโอกาสได้เข้าเฝ้ารับเสด็จ ถวายงาน

เมื่อเป็นผู้แทนฯก็สำนึกตลอดว่า ต้องขยายผล โครงการเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชาวบ้าน  พระองค์ทรงงาน หนักเหนื่อยกว่าพวกเรา ตลอดชีวิตได้ดำเนินตามรอยพระบาท( บอกเล่าเสียงสั่นเครือ) ดูแลชาวบ้าน อย่างใกล้ชิด ไม่เคยคิดว่า เป็นผู้แทน เป็นสส.

แต่ทุกสถานะภาพ ในความรู้สึกที่เป็นคนไทยที่เกิดมาใต้ร่มพระบารมี แม้กระทั่งตอนนี้ก็ยังทุ่มเท ทำ นำหลักการทรงงาน นำเศรษฐกิจพอเพียง พระราชดำรัส ต่อยอด ขยายผลสู่ชาวบ้าน อย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลา

“สังคม บ้านเมืองจะดี น่าอยู่ยิ่งขึ้นต้องร่วมมือ ร่วมใจกันน้อมนำพระราชดำริ เดินตามรอยพระบาท สมเด็จพระปริมนทรมหาภูมิพลอดุยเดช “พ่อของแผ่นดิน” ซึ่งได้พระราชทานมอบสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อพสกนิกรไทยทุกๆคนตลอดไป ” อดีต สส.เชียงใหม่ กล่าวย้ำในตอนท้าย

4-jpg
สุรพล เกียรติไชยากร “หรือ”เฮียเส่ง”

ศิริ อันทรินทร์…..รายงาน

ร่วมแสดงความคิดเห็น