เกษตร วิถีสุขภาพ การวิจัยและพัฒนา การปลูกข้าว บนพื้นที่ราบสูง (2)

B7

จากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน ทำให้บนพื้นที่ราบสูงการเกิดสภาวะฝนล่าช้าปริมาณฝนตกน้อยลงฝนทิ้งช่วงเกิดการระบาดของโรคและแมลง เพื่อลดผลกระทบดังกล่าววิธีการใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าด้วยระบบข้าวนาน้ำน้อยเป็นแนวทางหนึ่งที่ลดการใช้น้ำในแปลงนา และการลดระบาดของโรคและแมลงที่เป็นตัวนำพาตัว รวมทั้งเป็นการเตรียมรองรับกับสภาวะการขาดแคลนน้ำในอนาคต ซึ่ง “ระบบน้ำน้อย” คือ การปล่อยให้แปลงนาแห้งหรือให้มีน้ำน้อยที่สุด สลับกับการขังน้ำในระยะ ข้าวแตกกอ ระบบนาน้ำน้อยทำให้ธาตุอาหารในดินเกิดประสิทธิภาพ กล่าวคือ ในช่วงที่ดินแห้งทำให้รากข้าวได้รับออกซิเจนเกิดการสร้างรากใหม่เพื่อช่วยในการดูดน้ำ แร่ธาตุสู่ต้นข้าวเสริมสร้างการเจริญเติบโตระบบนาน้ำน้อยช่วยลดการใช้น้ำสำหรับนาข้าวบนพื้นที่สูงลงถึง 35-38 % โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผลิตข้าว (ระบบนาน้ำน้อยให้ผลิตข้าวมากกว่าระบบน้ำขัง 8-9 %) อีกทั้งยังช่วยลดการระบาดของโรคกาบใบแห้งและเพลี้ยกระโดด เพราะหากเกิดโรคแมลงเหล่านี้ยากแก่การเข้าถึงสารเคมีเพื่อกำจัด จึงต้องใช้วิธีการจัดน้ำที่ถูกต้องเพื่อป้องกันในขั้นต้น

จากความหลากหลายของพันธุ์ข้าวท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ถือว่ามีโอกาสในด้านกระแสความนิยมบริโภคข้าวสุขภาพ ข้าวมีสีแดง (สีแดง สีดำ) โดยการคัดเลือกพันธุ์ข้าวท้องถิ่นบนพื้นที่สูงที่มีคุณสมบัติพิเศษทางคุณค่าโภชนาการเพื่อแปรรูปหรือเพิ่มมูลค่า สามารถจำหน่ายสร้างรายได้แก้เกษตรกรและเป็นอาหารสุขภาพทางเลือกแก้ผู้บริโภค จาการศึกษาความต้องการบริโภคข้าวในตลาด พบว่า ความนุ่มเหนียวของข้าวเป็นปัจจัยที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญมากที่สุดและกอปรกับพันธุ์ข้าวนั้นๆ มีคุณค่าท่าโภชนาการสูงย่อมส่งผลดีต่อผู้บริโภค (ทั้งผู้ปลูกและผู้ซื้อ) อย่างไรก็ตามการเพิ่มมูลค่าข้าวต้องมีกระบวนการจัดการตั้งแต่ในแปลงผลิตจนกระทั่งถึงตลาดเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ข้าวที่มีคุณภาพ

ข้อมูลจาก…. ดร. จันทร์จิรา รุ่งเจริญ
นักวิชาการ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์กรมหาชน)

ทิพย์พา
[email protected]

ร่วมแสดงความคิดเห็น