อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ลงตรวจพื้นที่เชียงใหม่ เตรียมปฏิบัติการเพิ่มสารฝนหลวงเติมน้ำในเขื่อน

 

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 7 มิ.ย. 59 นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้เดินทางมายังห้องประชุม ท่าอากาศยานทหารกองบิน 41 จ.เชียงใหม่ เพื่อรับฟังการดำเนินการและเพื่อร่วมเปิดโครงการความร่วมมือระหว่างกรมฝนหลวงและการบินเกษตรกับกองทัพอากาศ “การปฏิบัติการวิจัยพลุสารดูดความชื้นเสริมการปฏิบัติการฝนหลวงเมฆอุ่น ปี 2559”ลงตรวจ (4)

โดยโครงการนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ร่วมกับกองทัพอากาศ โดยศูนย์บรรเทาสาธารณภัยและศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศ จัดทำโครงการวิจัยและพัฒนาพลุสารดูดความชื้นขึ้นเสริมการปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อลดปัญหาการใช้สารฝนหลวงชนิดถุงที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่มีความละเอียดมาก และยังคงประสบปัญหาในการเก็บรักษา เนื่องจากมีการจับตัวกันเป็นก้อนได้ง่าย เพราะมีคุณสมบัติที่ไวต่อการดูดความชื้น ทำให้มีความยุ่งยากหรือเสียเวลาในการบดซ้ำ ก่อนนำขึ้นเครื่องบินโดยทำฝนหลวง ทางด้านกรมฝนหลวงอาการบินเกษตรจึงพยายามหาวิธีปรับปรุงร่วมกับหน่วยงานต่าง จนสามารถผลิตพลุสารดูดความชื้นขึ้น โดยใช้หลักการเผาไหม้สารจำพวก เกลือแกง หรือโซเดียมคลอไรต์ เพื่อให้อนุภาคของเกลือที่ถูกเผาไหม้ ทำหน้าที่เป็นแกนกลั่นตัวของเม็ดฝน ซึ่งทางด้านกรมฝนหลวงอาการบินเกษตร ได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าและวิจัยมาตั้งแต่ปี 2547 จนสามารถผลิตต้นแบบของพลุสารดูดความชื้น รวมทั้งออกแบบสร้างอุปกรณ์ติดตั้งและควบคุมการจุดพลุกับเครื่องบิน AU-23A ของกองทัพอากาศได้สำเร็จในปี 2549 และได้เริ่มนำมาทดสอบกับกลุ่มเมฆฝนจริงตั้งแต่ปร 2550 จนถึงปัจจุบันลงตรวจ (3)
ทางด้าน นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า ทางด้านกรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้ร่วมกับศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศ กองทัพอากาศ ในการประดิษฐ์และคิดค้นวิธีการทำพลุสารดูดความชื้น จนสำเร็จจำนวน 2 ชนืดคือ พลุสารแคลเซียมคลอไรด์ และพลุสารโซเดียมคลอไรด์ ใช้ติดตั้งกับเครื่องบิน AU-23A ของกองทัพอากาศ เพื่อปฏิบัติการทดลองการทำฝนหลวงเมฆอุ่น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มเมฆที่ทำฝน กับเมฆธรรมชาติที่ไม่มีการใช้พลุ พบว่าพลุสารดูดความชื้นทั้ง 2 ชนิด สามารถทำให้เมฆฝนมีขนาดใหญ่ขึ้น ก่อยอดได้สูงขึ้น ส่งผลทำให้เม็ดน้ำมีขนาดใหญ่และเพิ่มจำนวนมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณน้ำฝนเพิ่มมากขึ้นกว่าฝนที่ตกจากธรรมชาติ จึงสามารถสรุปได้ว่าการใช้พลุสารดูดความชื้นนั้น สามรถทำให้เม็ดน้ำในกลุ่มเมฆสามารถเจริญเติมโตได้ดีจนตกเป็นฝนได้ แต่อย่างไรก็ตามพลุสารดูดความชื้นทั้ง 2 ชนิดนี้ กำลังอยู่ในช่วงทดลองใช้ร่วมกับสารชนิดผงละเอียด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติการฝนหลวงตามขั้นตอนในตำราฝนหลวงพระราชทานต่อไปลงตรวจ (1)
อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับการเดินทางมาลงพื้นที่ในวันนี้ก็เพื่อเปิดโครงการวิจัยต่อเนื่องในเรื่องของการใช้สารดูดความชื้นในการเสริมการปฏิบัติการฝนหลวง ซึ่งโครงการวิจัยนี้ได้รับความร่วมมือจากกองทัพอากาศในการขึ้นบินและทำพลุแคลเซียมคลอไรด์ และพลุสารโซเดียมคลอไรด์ เพื่อใช้ในการเสริมการปฏิบัติการฝนหลวงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเดิมทีนั้นได้มีการใช้เครื่องบินของกรมฝนหลวงในการโปรยสารฝนหลวง แต่เนื่องจากตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. ไปจันถึง 31 ส.ค. โครงการวิจัยจะมีการนำมาประยุกต์ใช้เพื่อเสริมการปฏิบัติการทำฝนหลวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยนโยบายของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ที่จะเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติการกรมฝนหลวงเพื่อที่จะเติมน้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งในลุ่มน้ำปิง
สำหรับตัวของพลุที่ใช้ในการปฏิบัติการนั้นมีความแตกต่างกันคือสารดูดความชื้นนั้นจะมีการจุเป็นพลุและเป็นควันเข้าไป ส่วนสารในการทำฝนหลวงนั้นจะใช้การโปรยบนท้องฟ้า ซึ่งมีอนุภาคใหญ่กว่าพลุที่ใช้จุด สิ่งที่ดีก็คือเมื่อทำการโปรยสารฝนหลวงเข้าไป และทำการจุดพลุเข้าไปก็จะมีการทำปฏิกิริยากันกับสารฝนหลวง ที่มีอนุภาคใหญ่กว่าก็ไปชนกับอนุภาคของพลุซึ่งทำจากโซเดียมคลอไรด์ หรือ แคลเซียมคลอไรด์ ก็จะทำปฏิกิริยาทำให้ฝนตกนั้นมีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วย ซึ่งการดำเนินการนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในโครงการเสริมเติมน้ำในเขื่อน ซึ่งขณะนี้ทางกรมฝนหลวงได้รับนโยบายจากทางท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ให้ดำเนินการเสริมเติมน้ำให้กับเขื่อนภูมิพลเป็นหลัก ดังนั้นจึงได้มีการย้ายฐานปฏิบัติการทำฝนหลวงจากจังหวัดพิษณุโลกมาอยู่ที่จังหวัดตาก ในขณะเดียวกันพื้นที่ตอนบนนั้นก็จะมีการเสริมเติมด้วยปฏิบัติการเติมสารดูดความชื้น เพื่อเสริมการปฏิบัติการฝนหลวงของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงที่เชียงใหม่ และจะมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. ไปจันถึง 31 ส.ค.59 นี้

ร่วมแสดงความคิดเห็น