เสน่ห์เครื่องราง…สุดยอด”กะลาพระราหู”

IMG_5393สุดยอด”กะลาพระราหู”ที่เข้มขลังแห่งแดนได้รับการยกย่องให้ติดอันดับ 1 ใน 5 เครื่องรางล้ำค่าหายากแห่งแดนล้านนา

“ครูบาเจ้า นันตา นันโท”แห่งวัดทุ่งม่านใต้ จังหวัดลำปาง ครูบานันตาท่านเกิดที่บ้านทุ่งม่านใต้ ต.บ้านเป้า อ.เมื่อง จ.ลำปาง เกิดเมื่อ พ.ศ.2415 ท่านเป็นเกจิยุคเก่าที่ร่วมยุคสมัยกับครูบาเจ้า ศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาจึงนับได้ว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ยุคต้นๆของล้านนาที่มีลูกศิษย์ลูกหาให้ความเคารพนับถือทั้งในและนอกพื้นที่เป็นอย่างมากด้วยครูบาท่านเป็นพระสมถะไม่ยึดติดกับลาภยศสรรเสริญใดๆเป็นพระที่บริสุทธิ์โดยแท้ได้เรียนรู้และศึกษาตำราจากอาจารย์ท่านต่างๆจนแตกฉานและท่านยังเป็นพระนักพัฒนาอีกด้วยลูกศิษย์ใกล้ชิดต่างรู้ดีว่าครูบาท่านเป็นพระเกจิจอมขมังเวทย์ด้วยจิตที่แก่กล้าแค่ท่านอธิษฐานก็สำเร็จแล้วท่านมักจะสร้างวัตถุมงคลหลายๆอย่างเพื่อเอาไว้แจกลูกศิษย์ลูกหาเอาไว้ใช้ป้องกันภัยเวลาเดินทางพุทธคุณครอบจักรวาลอย่างเช่นตะกรุดโทนเสื้อยันต์ผ้ายันต์นากเกี้ยววัวธนูและของวิเศษที่ได้รับการกล่าวถึงเสมอๆลูกศิษย์อยากได้เป็นเจ้าของมากที่สุดและเป็นที่หวงแหนมากที่สุดนั้นคือ”กะลาพระราหู”ที่ท่านสร้างเอาไว้แจกลูกศิษย์”กะลาราหู”ที่โด่งดังของล้านนา แม้แต่หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง ยังมีคนเรื่องเล่าสืบต่อมาว่าครั้งนึงยังได้ขึ้นมาเรียนวิชาทำกะลาเพิ่มเติมจากครูบานันตา กะลาแกะของท่านมีทั้งที่แกะแบบวิจิตรพิสดารฝีมือแบบช่างหลวงและฝีมือแบบชาวบ้านพ่อน้อยพ่อหนานลูกศิษย์ใกล้ชิดที่ติดตามรับใช้เป็นคนแกะให้มีครูอาจารย์ที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันที่ยังเป็นตำนานที่อ้างอิงเรื่องราวในอดีตได้ชีแนะบอกกล่าวเรื่องราวต่างๆไม่ให้ผิดเพี้ยนพ่อหนานได้เล่าให้ฟังว่าช่างที่แกะกะลาให้ครูบาท่านที่รู้ๆที่เห็นมีอยู่ 5 ท่าน

ศิลปะแตกต่างกันไปบ้างส่วนใหญ่เป็นศิลปะแกะแบบพระราหูครึ่งองค์ที่เรียกง่ายๆว่าศิลปแบบหัวจุกแกะจากกะลาตาเดียวอ่อนบ้างแก่บ้างแล้วแต่จะหาได้และที่พิเศษก็เป็นกะลาเผือกเล็กบ้างใหญ่บ้างไม่แน่นอน มีทั้งลง รัก ชาด ทอง หรือเป็นแบบที่ไม่ลงอะไรเลยก็มีท่านเล่าว่าเวลาครูบาท่านไปไหนนั่งรถเกวียนไปต่างถิ่นมักจะเห็นท่านนั่งแกะกะลาไปด้วยอธิษฐานจิตไปด้วยและก็เอาเก็บไว้ในย่ามเพื่อรอฤกษ์ยามที่จะทำการปลุกเสก กะลาของครูบานันตาถือได้ว่าเป็นที่แสวงหาของนักสะสมเครื่องรางล้านนาจึงไม่แปลกอะไรเลย ที่กะลาของท่านจะเป็นที่นิยมอย่างมากติดอันดับต้นๆของเครื่องรางล้านนา ท่านเคยทำกะลาราหูถวายให้แก่ ครูบาเจ้าศรีวิชัย ไว้พกติดตัวครั้งที่ต้องเดินทางไปสอบอธิกรณ์ยังกรุงเทพแต่เสียดายไม่มีใครเคยได้เห็นกะลาคู่นั้นอีกเลยว่าตกทอดไปอยู่ที่ไหน การสร้างกะลาของท่านจะแกะเองจึงยังเป็นความลับที่ดำมืดมีกะลาอีกหลายคู่ที่ท่านแกะอย่างวิจิตรสวยงามทำให้คนสำคัญถูกเก็บรักษาไว้โดยไม่มีออกมาให้เห็นอีกเยอะ ส่วนที่เห็นบ่อยๆท่านจะบอกให้ช่างแกะกะลาขึ้นเป็นรูปพระราหูได้เท่าไหร่เอาเท่านั้นแล้วนำมาเข้าพิธีปลุกเสกตามฤกษ์ที่สันทรายกลางแม่น้ำวังในการทำพิธีปลุกเสกในแต่ละครั้งท่านจะทำให้เสร็จภายในคืนเดียวและท่านจะปลุกเสกตามคกบอกเล่าว่าบางครั้งจารแค่เพียงคู่เดียวแบบนำฤกษ์ครูท่านเป็นพระอภิญญาแก่กล้าแค่ตั้งจิตอธิษฐานก็สำเร็จแล้วมีความศักดิ์สิทธิ์เท่ากันหมดซึ่งเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์อย่างยิ่งแล้วท่านจะนำกะลาทั้งหมดกลับไปปลุกเสกในกุฏิอีกครั้ง และนำออกมาแจกจ่ายให้กับลูกศิษย์เอาไว้บูชา กะลาของท่านมีทั้งแบบคู่และแบบเดี่ยว แต่ส่วนมาก เรามักนิยมแบบคู่มากกว่าคือ มีทั้งสุริยประภาและจันทรปะภาคือกลางวันและกลางคืน การบูชาจะนำกะลาทั้งสองชิ้นมาประกบกัน กลางวันให้บูชาสุริยะประภา กลางคืนให้บูชาจันทรประภา การบูชากะลาราหูนั้น โบราณท่านว่า ถ้าบูชาอย่างถูกวิธีมักให้คุณเอนกอนันต์ ทั้งเมตตาค้าขายร่ำรวยเงินทอง อยู่ยงคงกระพัน หนุนดวงกันป้องกันสิ่งเร้นลับภูตผีปีศาจ หวังสิ่งใดก็จะสำเร็จตามแต่จะอธิษฐานแบบครอบจักรวาลเรื่องความขลังเครื่องรางของท่านเขียน10ตอนก็ไม่หมดครับ การบูชากะลาพระราหูตามแบบล้านนา ส่วนใหญ่มักใช้เครื่องหอม น้ำอบน้ำปรุงและดอกไม้ขาวที่มีกลิ่นหอมเช่นดอกมะลิใส่พานสวดคาถาแล้วบูชาไว้บนหิ้งพระ หรือพกติดตัว

ครูบาเจ้า นันตา นันโท มรณภาพเมื่อปีพ.ศ. 2504 อายุได้ 90 ปีครับ แต่เครื่องรางที่ท่านสร้างไว้ให้ยังคงเข้มขลังและยังคงเป็นเครื่องรางล้ำค่าหายากและราคาแพงมาจนถึงปัจจุบันจึงปฏิเสธไม่ได้ว่ากะลาพระราหูของท่านราคาแพงมากจึงมีงานทำเรียนแบบออกมามากมายและทำได้ดีด้วยเซียนหน้าใหม่โดนรับน้องมานักต่อนักแล้วจึงต้องใช้การพิจารณาอย่างละเอียดในทุกๆแง่มุมวันนี้ผมจึงนำภาพกะลาพระราหูศิลปะชั้นครูหลายๆคู่มาลงให้ชมกันครับขอบคุณ คุณโต้ง สนิมไม้ คุณ เชน เชียงใหม่ มา ณ ที่นี้ด้วยครับสัปดาห์หน้ามาพบกับสุดยอดเครื่องรางล้านนาล้ำค่าหายากอย่าลืมติดตามอ่านกันนะครับ

ตั้ม เชียงใหม่
ล้านนาแกลอรี่

ร่วมแสดงความคิดเห็น