แม่บ้านสามเหล่าจัดกิจกรรม “เส้นสายลายภูษา ล้านนาพัสตราภรณ์”

DSC_0334เมื่อเร็วๆ ณ ห้องเชียงทอง คุ้มคำเซ็นทราร่าคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เชียงใหม่ มีการแถลงข่าวงานกาล่าปันสุข “เส้นสายลายภูษา ล้านนาพัสตราภรณ์” โดยได้รับเกียรติจาก นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมแถลงข่าวพร้อมด้วยนางมลสุดา ชำนำประศาสน์ นายกเหล่ากาชาดประธานชรมรมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงใหม่ นางขจี ประทุมชาติ ประธานชมรมแม่บ้านทหารบก มณฑลทหารบกที่ 33 และม.ล.ถวัลย์วดี สัมบุณณานนท์ ประธานชมรมแม่บ้านตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ นายอินสม ปัญญาโสภา นายกสมาคมหนังสือพิมพ์ภาคเหนือ แห่งประเทศไทย และแสงหล้า อินทจักร์ ผู้บริหารคุ้มคำเซ็นทราร่าคอนเวนชั่้นเซ็นเตอร์ ร่วมแถลงข่าว โดยงานกาล่าปันสุข ครั้งนี้จะจัดขึ้นในวันพุธที่ 3 สิงหาคม 2559 ณ ห้องคุ้มคำหลวง ชั้น 3 ณ คุ้มคำเซ็นทาร่าคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เชียงใหม่

นางมลสุดา ชำนำประศาสน์ เปิดเผยว่า จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางประวัติศาสตร์มายาวนานกว่า 720 ปีและเคยเป็นราชธานีของอาณาจักร์ล้านนาในอดึต ซึ่งยังคงปรากฏประตูเมือง และคูน้ำล้อมรอบตัวเมืองเก่า ตลอดจนร่องรอยทางประวัติศาสตร์ต่างๆ มาจนถึงปัจจุบัน

DSC_0333ชาวเชียงใหม่มีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างหนึ่งคือ เป็นคนที่ชอบรักสวยรักงาม ดังนั้น วัฒนธรรมการแต่งกายจึงดูออกมาสวยงาม การแต่งกายของชาวเชียงใหม่่ที่นิยมแต่งกันคือ การแต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นชุดย้อนยุคของผู้คนชาวล้านนาในอดีตเป็นชุดที่นิยมแต่งกันเวลานมีงานหรือกิจกรรมสำคัญๆ เช่น ไปทำบุญวัด ร่วมประเพณีสำคัญๆ ปัจจุบัน ชาวเชียงใหม่ได้มีการฟื้นฟูวัฒนธรรมการแต่งกายพื้นเมืองขึ้น ซี่งมีหลากหลายรูปแบบเผ่าพันธุ์ของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในอาณาจักรล้านนาในอดีต เป็นการประยุกต์รูปแบบของเสื้อผ้าในยุคดั้งเดิมมาแต่งโดยพยายามรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของชาวพื้นเมืองเชียงใหม่ไว้

ซึ่งในปี พ.ศ. 2519 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นผู้ริเริ่มเครื่องแต่งกายประจำชาติไทย ส่งเสริมการทอผ้าไทย โดยจัดตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นอาชีพเสริมของราษฎร และดำรงรักษาศิลปะหัตถกรรมไทย ให้เป็นที่นิยมของคนทั่วไป การฟื้นฟูวัฒนธรรมการแต่งกายสตรีไทย มีผลสืบเนื่องมาถึงงานช่างฝีมือและหัตถกรรมครัวเรือน ที่ทรงมีแนวราชดำริให้มีการส่งเสริม และเชื่อมโยงไปถึงการฟื้นฟูวิธีการทอผ้า ที่เป็นเอกลักษณ์ของเฉพาะถิ่น ได้แก่ผ้าจก ที่ทรงส่งเสริมทั้งที่ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ผ้าแพรวาของกลุ่มชนภูไท ผ้ายกของจังหวัดเชียงใหม่ ฯลฯ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่ช่วยให้มีการทอผ้าพื้นเมืองจากท้องถิ่นต่างๆ ของประเทศที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น

นางขจี ประทุมชาติ ได้กล่าวเสริมว่า การจัดงาน”กาล่าปันสุข” ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้สมทบทุนช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาต่างๆ รวมทั้งเด็กๆ ในถิ่นทุรกันดานห่างไกลและขาดแคลน ทางแม่บ้านทหารบกจึงยินดีให้การสนับสนุนในเรื่องการจำหน่ายบัตรและร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

DSC_0339ม.ล.ถวัลย์วดี สัมบุณณานนท์ เผยว่าครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการร่วมกันจัดกิจกรรมในครั้งนี้ทางแม่บ้านตำรวจยินดีช่วยสนับสนุนการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ บรรยากาศการจัดงานมีการแสดงจากศิลปินรับเชิญ/การแสดงดนตรี และศิลปวัฒนธรรม อาทิเช่น การแสดง “สานศิลป์แพรไหม เทิดไท้องค์ราชินี” การแสดง “นาฎศิลป์ร่วมสมัย ศิลปะการนุ่นผ้า ” รวทั้งดนตรีที่ผสมผสานวัฒนธรรมสมัยใหม่เข้ากับดนตรีไทย และทางแม่บ้านตำรวจได้ส่งตัวแทนร่วมเดินแบบในครั้งนี้ด้วย

นายกเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงใหม่ ฯ ได้กล่าวเสริมว่า กิจกรรมในครั้งนี้ มีการเดินแฟชั่นโชว์แบบเสื้อผ้า โดยแบ่งเป็น 3 ชุด คือ ชุดไทยพระราชนิยม,ชุดผ้าพื้นเมืองประยุกต์ ,และชุดผ้าไทย โดยนายแบบนางแบบกิตติมศักดิ์ กว่า 60 คน และพิเศษสุ คุณเพ็ญพักตร์ ศิริกุล นายแบบและดาราที่มีชื่อเสียงได้ให้เกียรติมาร่วมเดินแบบในครั้งนี้ด้วยโดยงานกาล่าปันสุข ครั้งนี้จะจัดขึ้นในวันพุธที่ 3 สิงหาคม 2559 ณ ห้องคุ้มคำหลวง ชั้น 3 ณ คุ้มคำเซ็นทาร่าคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เชียงใหม่

ร่วมแสดงความคิดเห็น