น้อยหน่าและน้อยหน่าลูกผสม

B4 เป็นไม้ผลที่ปรับตัวได้ดีนิยมปลูกในเขตร้อนและเขตอบอุ่นในส่วนต่างๆของโลก+++ มีรสชาติดีนิยมบริโภคทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ พื้นที่ปลูกน้อยหน่าและน้อยหน่าลูกผสมของประเทศไทยโดยรวมปี 2546 เท่ากับ 232,579 ไร่ ปลูกกันมากในเขตพื้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นแหล่งปลูกที่มีชื่อเสียงและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ปลูกน้อยหน่าพันธุ์หนังและพันธุ์ฝ้ายมากที่สุด

ปัจจุบันน้อยหน่าลูกผสมเป็นพันธุ์ใหม่ที่เกษตรกรให้ความสนใจและปลูกกันเพิ่มมากขึ้นในทั่วทุกภาคของประเทศ  เป็นพันธุ์ที่ทำรายได้สูงให้กับเกษตรกรเนื่องจากให้ผลผลิตสูง ผลผลิตส่วนใหญ่ใช้บริโภคภายในประเทศและส่งออกประเทศใกล้เคียงเช่น จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนามและฮ่องกงเป็นต้น การปลูกน้อยหน่าในอดีตนิยมปลูกด้วย ทำให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพของผลไม่ตรงตามพันธุ์ เช่นผลมีขนาดเล็กลง เนื้อน้อย และเมล็ดมากกว่าพันธุ์เดิม ส่งผลให้การส่งออกไปขายยังต่างประเทศมีปริมาณลดลง สาเหตุส่วนหนึ่งนั้นมาจากการที่เกษตรกรขาดการใช้พันธุ์ดีที่ได้จากการคัดเลือกหรือปรับปรุงพันธุ์ รวมทั้งวิธีการขยายพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม

B5

พันธุ์น้อยหน่า และน้อยหน่าลูกผสมในประเทศไทย สถานีวิจัยปากช่องเป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่แหล่งปลูกน้อยหน่าที่สำคัญของประเทศ ได้เริ่มโครงการรวบรวมเชื้อพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์น้อยหน่าและน้อยหน่าลูกผสม ในปี พ.ศ. 2548 ด้วยงบสนับสนุนการวิจัย มก. โดยการสำรวจและเก็บตัวอย่างพันธุ์ปลูกจากแหล่งปลูกทั่วประเทศ จากพันธุ์ที่ชนะเลิศจากการประกวดในแต่ละพื้นที่ พันธุ์กลายเองจากธรรมชาติที่พบในแปลงเกษตรกร และพันธุ์ที่ปรับปรุงพันธุ์ในสถานีวิจัยปากช่อง เพื่อรวบรวมเชื้อพันธุ์ดีไว้ในแปลงรวบรวมพันธุ์ สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการปรับปรุงพันธุ์ และคัดเลือกสายพันธุ์ดีสำหรับส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกต่อไปในอนาคต ในปัจจุบันมีสายพันธุ์น้อยหน่าและน้อยหน่าลูกผสมจำนวนมากกว่า 100 สายพันธุ์ ปลูกไว้ในลักษณะแปลงรวบรวมพันธุ์ขนาดใหญ่ในสถานีวิจัยปากช่อง พร้อมกับจำแนกสายพันธุ์เบื้องต้น ตามลักษณะสีผิวของผล สีเนื้อ สีใบ ลักษณะของผลภายใน และภายนอกเป็นต้น แล้วแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มพันธุ์ คือ

1.น้อยหน่าพื้นเมืองหรือน้อยหน่าฝ้าย แบ่งออกได้ 2 สายพันธุ์ ตามลักษณะของสีผล คือ น้อยหน่าฝ้ายเขียวซึ่งมีผลสีเขียว กับน้อยหน่าฝ้ายครั่งมีผลสีม่วงเข้ม ลักษณะภายในผล เนื้อหยาบเป็นทราย ยุ่ยไม่จับตัวเป็นก้อน เนื้อมีสีขาวในน้อยหน่าฝ้ายเขียวและสีขาวอมชมพูในน้อยหน่าฝ้ายครั่ง เมื่อผลสุกเปลือกไม่ล่อนออกจากเนื้อเละง่าย มีกลิ่นหอมรสหวาน

2. น้อยหน่าหนังหรือน้อยหน่าญวน แบ่งออกได้ 3 สายพันธุ์ คือ น้อยหน่าหนังเขียวมีผลสีเขียว น้อยหน่าหนังทองเกิดจากการเพาะเมล็ดแล้วกลายพันธุ์ผลมีสีเหลืองทอง และน้อยหน่าหนังครั่งเกิดจากการเพาะเมล็ดแล้วมีการกลายพันธุ์เช่นเดียวกับหนังทองแต่มีผลสีม่วงเข้มคล้ายน้อยหน่าฝ้ายครั่ง ลักษณะภายในผล เนื้อมากเหนียวละเอียด สีขาวในน้อยหน่าหนังเขียว สีขาวอมชมพูในน้อยหน่าหนังครั่ง และสีขาวอมเหลืองในน้อยหน่าหนังทอง เมื่อผลสุกเปลือกล่อนเป็นแผ่นลอกจากเนื้อได้ กลิ่นหอมรสหวาน

3. น้อยหน่าลูกผสมหรืออะติมัวย่า เป็นลูกผสมที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างน้อยหน่า ( A. squamosa Linn.) กับ เชริมัวย่า (A. cherimola Mill.) มีชื่อสามัญว่า atemoya ปัจจุบันสถานีวิจัยปากช่อง ได้ทำการปรับปรุงพันธุ์น้อยหน่าและน้อยหน่าลูกผสม และได้คัดเลือกลูกผสมที่ตรงตามวัตถุประสงค์รวบรวมไว้ในแปลงฯ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น ขนาดของลำต้น ขนาดใบ ขนาดผล ผิวผล และลักษณะเนื้อเป็นต้น

4. ลูกผสมอื่นๆ เป็นกลุ่มพันธุ์ที่กลายพันธุ์เองจากธรรมชาติที่พบในแปลงเกษตรกร ไม่สามารถทราบชื่อพ่อแม่พันธุ์หรือที่มาของพันธุ์ได้ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับกลุ่มน้อยหน่าลูกผสมหรืออะติมัวย่า

ม.เกษตรศาสตร์ / ที่มา

ร่วมแสดงความคิดเห็น