เตือนระวังหอม-กระเทียมเน่าเสีย

b7

หอม-กระเทียม พืชอาหารประจำครัวไทย ที่คนไทยรู้จัก และนิยมใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร ซึ่งในระยะหลังการเก็บเกี่ยว หอม-กระเทียม มักพบการระบาดของโรคราดำ และโรคเน่าเละ ของหอม-กระเทียม ทำให้เกิดความเสียหาย ต่อผลผลิตและต่อผู้บริโภค
ในระยะช่วงหลังการเก็บเกี่ยวหอม-กระเทียมนี้ เกษตรกรและผู้บริโภค มักพบปัญหา หอม-กระเทียมเน่าเสียหาย ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา ได้แก่ โรคราดำ(Black Mold) ซึ่งเกิดจากเชื้อรา แอสเปอร์จิลลัส ไนเกอร์ จะพบมีผงราสีดำขึ้น ระหว่างกาบหัวหรือระหว่างกลีบของหอม-กระเทียม เส้นใยจะมีหัวสีดำ ซึ่งฟุ้งกระจายได้ง่าย ต่อมาหัวหอม-กระเทียมจะเน่าฝ่อเสียหายหมด อีกโรคหนึ่งคือ โรคเน่าเละ (Soft Rot) เกิดจากเชื้อรา เอร์วิเนีย คาราโตโวรา หัวหอมจะมีอาการนิ่มภายใน เมื่อผ่าออกจะพบเนื้อเยื่อตรงกลางหัวเน่า ซ้ำมีกลิ่นเหม็นถ้าทิ้งไว้ จะเน่าหมดทั้งหัว
คำแนะนำ 1.ควรเก็บหอม-กระเทียมที่แก่จัด โดยให้กาบใบแห้งเสียก่อน 2.ควรผึ่งหอม-กระเทียม ให้แห้งก่อนเก็บรักษา หรือเก็บไว้บริโภค 3.เก็บรักษาในที่เย็น และมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ชื้น เช่น ทำหมวดหอม-กระเทียม แล้วแขวนไว้ในเรือนโรง ที่มีอากาศโปร่ง ไม่กองสุมกันจนเกิดความร้อน ซึ่งจะทำให้เชื้อราเจริญได้ดี 4.ถ้าเกษตรกรพบการระบาดของโรคในแปลงปลูก ควรฉีดพ่นด้วยสารเด๊กซานคาโนรอน อัตราตามที่ฉลากแนะนำ และต้องคำนึงถึงความปลอดภัยจากสารเคมีตกค้างในผลผลิต ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ควรฉีดพ่นก่อนเก็บเกี่ยวไม่น้อยกว่า 10 วัน 5.เกษตรกรควรเก็บรวบรวมหอม-กระเทียมที่เป็นโรคไปเผาทำลาย

ร่วมแสดงความคิดเห็น