นานาสาระน่ารู้…ควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยง ผลกระทบจากฝุ่นละอองในอากาศดังนี้

1.หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีหมอกควันหรือฝุ่นละออง ถ้าจำเป็นต้องอยู่ในสถานที่ที่มีหมอกควันหรือฝุ่นละอองให้ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูกซึ่งขอรับได้ที่สถานพยาบาลทุกแห่งแต่หากไม่มีหรือไม่สะดวกในการขอรับ ให้ใช้ผ้าชุบนํ้าหมาดๆ ปิดปากปิดจมูกแทนได้ สำหรับบริเวณพื้นที่ว่างเปล่าควรปลูกพืชคลุมหน้าดินไว้ เพื่อลดโอกาสที่ฝุ่นละอองจะลอยฟุ้งขึ้นมาในอากาศได้
2.ปิดประตูหน้าต่าง ด้านที่รับลมซึ่งพัดหมอกควันเข้าสู่ภายในบ้านและเปิดประตูหน้าต่างด้านตรงข้ามกับทิศทางลม
3.หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีหมอกควันปกคลุม โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงได้แก่ เด็ก คนชรา ผู้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ หอบหืด
4.การเปิดพัดลมในอาคารบ้านพัก ควรเป่าลมกระทบผ่านผิวนํ้าก่อน จะช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศได้
5.ผู้ที่เป็นโรค หอบหืด โรคหัวใจ โรคปอด เด็กและคนชรา ควรพักผ่อนอยู่ในบ้าน และเตรียมยาอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อม
6.ใช้นํ้าสะอาด กลั้วคอ แล้วบ้วนทิ้งวันละ 3 – 4 ครั้ง ห้ามกลืน
7.งดเว้นการสูบบุหรี่และควรดื่มนํ้าบ่อยๆ ในช่วงที่มีฝุ่นควันรบกวน
8.หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายและทำงานหนัก ที่ต้องออกแรงมากนอกบ้าน และบริเวณที่มีฝุ่นควันรบกวน
9.เมื่อมีอาการผิดปกติต่อระบบหายใจและสายตาหลังสูดดมและอยู่ในบริเวณที่มีหมอกควัน ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
10.งดการรองรับนํ้าฝนไว้ใช้อุปโภคชั่วคราว แต่หากจำเป็นควรให้ฝนตกลงมาอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ก่อนรองนํ้าใช้
11.ห้ามเผาขยะ เศษใบไม้ กิ่งไม้ หญ้า ทุกชนิด รวมทั้งช่วยดับไฟป่าที่เกิด
12.ติดตามรับฟังข่าวสารและข้อมูลจากทางราชการอย่างใกล้ชิด สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคภูมิแพ้ฯ ควรเตรียมยาประจำตัวให้พร้อมและพกติดตัว เพื่อป้องกันและใช้รักษาเมื่ออาการกำเริบ แม้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงมลพิษจากหมอกควันได้ แต่ถ้ารู้จักปรับตัวดูแลและป้องกันตนเองด้วยวิธีดังกล่าวข้างต้น จะช่วยลดอันตรายจากมลพิษจากหมอกควันได้และหากมีอาการผิดปกติ เช่น หายใจ ลำบากแน่นหน้าอก ควรรีบพบแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : วิกิพีเดีย, ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพฯ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ, ไทยโพสต์, www.mhso.moph.go.th

ร่วมแสดงความคิดเห็น