ส่งเสริมปลูกข้าวเพื่อสุขภาพ ลดขั้นตอนขอเกษตรอินทรีย์

นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯให้ความสำคัญในการส่งเสริมการบริโภคข้าวเพื่อสุขภาพ ซึ่งมีการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย และยังเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานบูรณาการเพื่อส่งเสริมให้ชาวนาปลูกข้าวที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐานการผลิตที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค


0…อนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมการข้าว
ปัจจุบันคนไทยประสบปัญหาโรคอ้วนตั้งแต่เป็นวัยรุ่น โดยมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการบริโภค ผู้ที่เป็นโรคอ้วนมักจะมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยจากโรคอื่นที่แทรกซ้อนได้ง่ายและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร จึงควรใส่ใจการเลือกรับประทานอาหารควบคู่กับการออกกำลังกาย โดยเฉพาะการรู้จักเลือกรับประทานข้าว ซึ่งกรมการข้าวได้วิจัยพันธุ์ข้าวใหม่ๆ เพื่อเป็นทางเลือกให้ชาวนาและผู้บริโภค ล่าสุดผลการวิจัยกลุ่มข้าว 120 สายพันธุ์ที่นิยมบริโภคทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว ได้แก่ ข้าวดอกมะลิ 105, ข้าวเจ๊กเชย, ปทุมธานี 1, กข6, กข43 และพิษณุโลก 80 วิเคราะห์ปริมาณน้ำตาลในเลือดหลังบริโภคตัวอย่างข้าวของผู้เข้ารับการทดลอง พบว่าข้าวพันธุ์ กข43 มีค่าดัชนีน้ำตาล 57.5 ต่ำกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ รองลงมาคือพันธุ์ข้าวพิษณุโลก 80 มีค่าดัชนีน้ำตาล 59.5 เหมาะสำหรับวัยรุ่นที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ทานแล้วไม่อ้วน บริโภคง่ายกว่าข้าวกล้องกรมการข้าว จึงมีแผนจะผลักดันพื้นที่ปลูกข้าว กข43 เข้าโครงการนาแปลงใหญ่
ด้านนายศิวะพงค์ นฤบาล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ กล่าวว่า ได้ดำเนินการตามนโยบายในการพัฒนาคุณภาพการปลูกข้าวพร้อมแนะนำชาวนาในการเพาะปลูกข้าวที่ตลาดต้องการ ราคาดี อีกทั้งเตือ นการรับมือป้องกันโรคข้าว ซึ่งล่าสุดในพื้นที่แปลงนาเกษตรกร หมู่ 5 บ้านหม้อ ตำบลสันทราย อำเภอสันกำแพง เชียงใหม่ตรวจสอบพบการระบาดของหนอนห่อใบข้าว ได้แนะนำเกษตรกร จัดการ ทำลายป้องกันการแพร่ระบาดแล้ว


0…พื้นที่สันกำแพงพบการระบาดโรคห่อใบข้าว
ในขณะที่สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ แจ้งว่าได้ออกประกาศปรับลดขั้นตอนการตรวจรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจรับรองให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของไทย ตราออร์แกนิคไทยแลนด์ของกระทรวงเกษตรฯ จะได้ตรวจเพิ่มเติม เพียง 5 รายการ แทนที่จะต้องตรวจใหม่ทั้ง 15รายการ การเร่งรัดการปรัปรุงกระบวนการตรวจรับรองให้มีประสิทธิภาพ จะลดขั้นตอนการทำงาน และถ่ายโอนภารกิจตรวจรับรองให้เอกชนดำเนินการมากขึ้น


0..มาตรฐานเกษตรอินทรีย์
โดย การลดขั้นตอนดังกล่าว เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเรื่อง เอกสารสิทธิ์ ทุกแปลงที่ขอการรับรอง การทำแนวกันชนกรณีพื้นที่ข้างเคียงใช้สารเคมี ตรวจน้ำใช้ ตรวจสอบปุ๋ยที่นำเข้ามาใช้ในฟาร์มเป็นปุ๋ยอินทรีย์จริงๆ และ 5ตรวจสอบว่าไม่มีการนำของเสียมาใช้ในการผลิต โดยมาตรการดังกล่าวเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2560แล้วผู้ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกษ.9000) ของกระทรวงเกษตรฯ จะสามารถแสดง เครื่องหมายรับรอง ออร์แกนิคไทยแลนด์ ได้ในทุกจุดจำหน่าย

ร่วมแสดงความคิดเห็น