สปสช.น่ารู้…การใช้สิทธิรักษาฟัน

Q:ปวดฟันคุดและมีอาการอักเสบ ทันตแพทย์แนะนำให้ผ่าฟันคุด จะใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพได้หรือไม่

A : ได้ โดยเข้ารับบริการที่ รพ.ตามสิทธิ เนื่องจากการผ่าฟันคุดถือว่าเป็นการถอนฟันชนิดหนึ่ง

Q : ใส่ฟันปลอมไว้ แพทย์บอกมีอายุการใช้งาน 5 ปี ปัจจุบันใช้งานมา 3 ปีฟันปลอมชำรุดจะไปทำใหม่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพได้หรือไม่

A : ได้ หากฟันปลอมเก่าไม่สามารถซ่อมแซมให้ใช้งานได้ตามปกติ ทั้งนี้หน่วยบริการควรบันทึกรายละเอียดและสาเหตุไว้ในเวชระเบียน เพื่อใช้ประกอบในการตรวจติดตามของทีมตรวจสอบการชดเชยและคุณภาพบริการ

Q : เด็กอายุ 3 ปี ผู้ปกครองพาไปตรวจสุขภาพช่องปาก ทันตแพทย์ตรวจพบว่าฟันกรามผุ แนะนำรักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม กรณีนี้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพได้หรือไม่

A : ได้ เนื่องจากการรักษาโพรงประสาทฟันน้ำนมอยูในสิทธิหลักประกันสุขภาพ

Q : ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพในการเคลือบฟลูออไรด์ได้หรือไม่

A : ได้ หากเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีบริเวณศีรษะและลำคอ

Q : จะใส่ฟันปลอม ทันตแพทย์ตรวจพบว่ามีกระดูกงอกที่เพดานต้องผ่าตัดออก ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพได้หรือไม่

A : ได้ เนื่องจากเป็นกระบวนการเตรียมช่องปากเพื่อใส่ฟันปลอม จึงอยู่ในสิทธิ

Q : เด็กชายหลังได้รับการผ่าตัดปากแหว่งเพดานโหว่ แพทย์ตรวจพบความผิดปกติของรูปเหงือกและการสบฟัน ทำให้ไม่สามารถบดเค้ยี วอาหารได้จึงจำเป็นต้องทำทันตกรรมจัดฟันร่วมด้วย การจัดฟันสำหรับเด็กรายนี้ใ ช้สิทธิได้หรือไม่

A : ได้ เนื่องจากเป็นการรักษาที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

Q: ป่วยเป็นโรคหัวใจ แพทย์แจ้งต้องผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ มีค่าใช้จ่ายสูงจะขอใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพได้หรือไม่

A : การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจในผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างรุนแรงที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้ สามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพได้ โดย รพ.ตามสิทธิจะพิจารณาส่งตัวเข้ารับการรักษากับ รพ.ที่เข้าร่วมโครงการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ

Q : สมใจมีสิทธิประกันสังคม บุตรชายอายุ 8 ปี เป็นผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพป่วยเป็นโรคตับวายตั้งแต่กำเนิดต้องรักษาด้วยการปลูกถ่ายตับ โดยสมใจเป็นผู้บริจาคตับให้กับบุตร ต้องทำการตรวจชิ้นเนื้อและมีกระบวนการเตรียมการก่อนปลูกถ่ายตับ ค่าใช้จ่ายในขั้นตอนการเตรียมการ ระหว่างปลูกถ่ายและหลังปลูกถ่ายของทั้งสมใจและบุตรจะขอใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพได้หรือไม่

A : ได้ การปลูกถ่ายตับในเด็กที่ตับวายจากท่อน้ำดีอุดตันตั้งแต่กำ เนิด สามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพได้ตั้งแต่ขั้นตอนเตรียมการก่อนการปลูกถ่าย ระหว่างผ่าตัด และหลังผ่าตัด ถึงแม้ผู้บริจาคจะมีสิทธิอื่นก็ตาม ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตาม

แนวทางการรักษาที่สปสช.กำ หนด โดย รพ.ตามสิทธิจะพิจารณาส่งตัวเข้ารับการรักษากับรพ.ที่เข้าร่วมโครงการปลูกถ่ายตับใน

ข้อมูล สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๑ เชียงใหม่ ติดตามรายการ ” สุขถ้วนหน้ากับหลักประกันสุขภาพ ” ทางคลื่นวิทยุ สวท.เชียงใหม่ FM 93.75 Mhz. ทุกวันจันทร์ เวลา 11.15 น. ถึง 12.00 น.

ร่วมแสดงความคิดเห็น