สปสช. ตอบคำถาม…”ทหารผ่านศึก และคนพิการ”


ทหารผ่านศึก และคนพิการ

Q : ทหารผ่านศึก และคนพิการสามารถเข้ารับบริการที่ รพ.ใดได้บ้าง

A : สามารถเข้ารับบริการที่ รพ.ตามสิทธิ เว้นแต่กรณีมีความจำเป็นอาจเข้ารับบริการที่ รพ.รัฐได้ทุกแห่ง (เฉพาะทหารผ่านศึกชั้นที่ 1-3 และคนพิการ)

Q : ทหารผ่านศึกมีสิทธิข้าราชการบำนาญ จะขอใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพด้วยได้หรือไม่

A : ไม่ได้ ต้องใช้สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ

Q : เป็นภรรยาของทหารผ่านศึกนอกประจำการบัตรชั้นที่ 1 หลังจากสามีเสียชีวิต ภรรยายังคงได้รับการสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาลจากสิทธิทหารผ่านศึกของสามีอีกหรือไม่

A : ได้ เนื่องจากสิทธิและระยะเวลาการรับการสงเคราะห์ของครอบครัวทหารผ่านศึกนอกประจำการบัตรชั้นที่ 1 ถึงแม้สามีจะถึงแก่กรรม แต่ภรรยายังคงมีสิทธิได้รับการสงเคราะห์จนกว่าจะเสียชีวิตหรือสมรสใหม่ สำหรับบุตรยังคงได้รับการสงเคราะห์จนกว่าจะอายุ 20 ปีบริบูรณ์ หรือสมรสก่อนอายุ 20 ปีทหารผ่านศึกและคนพิการ

Q : จากข้อ 66 หากเป็นบุตรหรือภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายของทหารผ่านศึกนอกประจำการบัตรชั้นที่ 2 เมื่อสามีเสียชีวิตแล้วบุตรและภรรยายังคงได้รับสิทธิการสงเคราะห์อีกหรือไม่

A : ไม่ได้รับสิทธิ เนื่องจากผู้ที่ถือบัตรทหารผ่านศึกนอกประจำการตั้งแต่ชั้นที่ 2-4และครอบครัวจะได้รับสิทธิการสงเคราะห์เฉพาะกรณีที่ทหารผ่านศึกนอกประจำการรายดังกล่าวยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น หากเสียชีวิต หรือหย่าขาด หรือบุตรบรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย ก็ถือได้ว่าหมดสิทธิได้รับการสงเคราะห์

Q : คนพิการที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ คือใคร

A : คือ คนพิการที่กำหนดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 หรือคนพิการที่มีความจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่มีระดับความพิการอยู่ในเกณฑ์ที่ สปสช.กำหนดและไม่มีสิทธิด้านการรักษาพยาบาลอื่นที่รัฐจัดให้

Q : หากเปน็ คนพกิ ารทไี่ ดร้ บั การตรวจประเมนิ จากแพทย์ และนำใบรบั รองติดต่อลงทะเบียนตามเกณฑ์ที่ สปสช. กำหนดแล้ว ต้องการจดทะเบียนคนพิการด้วย จะต้องทำอย่างไร

A : ติดต่อสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประจำจังหวัด เพื่อตรวจประเมินตามเกณฑ์ หากได้รับการประเมินว่าเป็นคนพิการตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ก็จะได้รับสวัสดิการด้านอื่นๆ ร่วมด้วย เช่นการศึกษา เบี้ยยังชีพ การฝึกอาชีพ เป็นต้น

Q : เด็กออทิสติก มีสิทธิหลักประกันสุขภาพประเภทสิทธิคนพิการสามารถใช้สิทธิเข้ารับบริการอรรถบำบัด หรือกิจกรรมบำบัดได้หรือไม่

A : ได้ เนื่องจากกิจกรรมดังกล่าวเป็นการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

Q : เด็กออทิสติก มีสิทธิหลักประกันสุขภาพประเภทสิทธิคนพิการ ได้รับการส่งตัวเพื่อให้บริการอรรถบำบัดกับ รพ.เฉพาะด้าน โดยมีบางกิจกรรมที่กำหนดให้ผู้ปกครองต้องเข้าร่วมในกิจกรรมด้วย ค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองครอบคลุมอยู่ในสิทธิหลักประกันสุขภาพหรือไม่

A : ไม่อยู่ในสิทธิหลักประกันสุขภาพ

ข้อมูล สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๑ เชียงใหม่ ติดตามรายการ “สุขถ้วนหน้ากับหลักประกันสุขภาพ” ทางคลื่นวิทยุ สวท.เชียงใหม่ FM 93.75.

ร่วมแสดงความคิดเห็น