แผงโซล่าร์เซลล์แบบใหม่ สร้างพลังงานไฟฟ้าจากฝนตกได้ด้วย

โดยปกติแล้ว แผงโซล่าร์เซลล์จะสร้างพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในช่วงกลางวัน แต่แผงโซล่าร์เซลล์แบบใหม่จะสามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าจากเม็ดฟนที่ตกใส่ได้ด้วย และถ้าฝนตกในช่วงกลางคืนหล่ะ เจ้าแผงโซล่าร์เซลล์แบบใหม่นี้จะสร้างพลังงานได้ไหม? คำตอบก็คือ มีความเป็นไปได้ และแผงโซล่าร์เซลล์แบบใหม่นี้ถูกสร้างโดยนักวิจัยจาก Soochow University ในประเทศจีน

โดยแผงโซล่าร์เซลล์รูปแบบใหม่นี้มีการติดตั้งส่วนประกอบที่เรียกว่า Tribo Electric Nano Generator (TENG) ซึ่งมีความสามารถในการสร้างพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานกล หรือความเคลื่อนไหว

คุณ Zhen Wen ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ที่ปรีกษาจากสถาบัน Functional Nano and Soft Materials แห่ง Soochow University กล่าว่า “โซล่าร์เซลล์ ได้ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายเพื่อแก้วิกฤติปัญหาสิ่งแวดล้อมและพลังงาน แต่อย่างไรก็ดี การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงแดด นั้นก็มีความอ่อนไหวต่อสภาพภูมิอากาศ ตัวอย่างเช่น ฝนตก ความไม่สม่ำเสมอและคาดการณ์ไม่ได้ของธรรมชาติ ทำให้เกิดความท้าทายในการสร้างแหล่งพลังงานที่วางใจได้ การหาวิธีการอื่นๆ ในการสร้างพลังงานทดแทนจากสภาพแวดล้อม จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วน”

อย่างไรก็ดี คุณ Zhen Wen อธิบายว่า แนวคิดของการนำแผงโซลาร์เซลล์ มารวมร่างกับ TENG นั้นมีการนำเสนอเป็นครั้งแรกโดยทีมงานวิจัยจาก Georgia Institute of Technology ในปี 2015 และผลงานของทีมวิจัยจากจีนในครั้งนี้ เป็นการทำให้แนวคิดนี้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากขึ้น ด้วยการสร้างอุปกรณ์ของจริงขึ้นมาเลย แต่แทนที่จะมีการติดตั้ง TENG เอาไว้เหนือแผนโซล่าร์เซลล์ เจ้าอุปกรณ์ใหม่นี้มีการผสานรวม TENG เข้ากับชั้นของแผงโซล่าร์เซลล์แบบเก่าอย่างแนบเนียน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าของแผงโซล่าร์เซลล์ขึ้นอีก 10% เลย

แต่ก็ต้องรอกันอีกนานกว่าที่แผงโซล่าร์เซลล์แบบใหม่จะมาติดตั้งที่บ้านของเรา โดยคุณ Zhen Wen ให้ข้อมูลว่า ต้องรอไปอีกอย่างน้อย 5 ปี กว่าที่อุปกรณ์ตัวต้นแบบของแผงโซล่าร์เซลล์แบบใหม่นี้จะถูกสร้างออกมา และก็ต้องใช้เวลาอีกสักพักในการปรับปรุงและพัฒนากว่าจะที่ออกวางจำหน่ายได้ และเมื่อถึงเวลานั้นจริง แผงโซล่าร์เซลล์แบบลูกผสมนี้ก็อาจจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่านี้อีก

และคุณ Zhen Wen ยังกล่าวปิดท้ายอีกว่า “อุปกรณ์ของเราอาจจะสามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าจากแรงลมได้ด้วย ถ้าเราทำการดัดแปลงโครงสร้างของ TENG เนื่องจากมันสามารถแปลงพลังงานกลในธรรมชาติหลายรูปแบบ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้”

โดยเอกสารของโครงการวิจัยนี้มีการตีพิมพ์ลงวารสาร Nano

ที่มา : news.thaiware.com www.digitaltrends.com , pubs.acs.org

ร่วมแสดงความคิดเห็น