น่าน ในพื้นที่สูง ใช้การ “เปลี่ยนเขาหัวโล้น เป็นเขาหัวจุก”

เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2562 เวลา 10.30 น. ที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติชุมชนลุ่มน้ำน่าน บ้านคัวะ หมู่ที่ 6 ตำบลศรีภูมิ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

โดยมี ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิด โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติ การหลักสูตรการออกแบบการพัฒนาระบบกสิกรรมด้วยศาสตร์พระราชารุ่นที่ 1 เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาระบบกสิกรรมด้วยศาสตร์พระราชา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายขับเคลื่อนศาสตร์พระราชา ในพื้นที่ 5 ลุ่มน้ำของประเทศไทย ได้แก่ ลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำน่าน ลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำป่าสัก และลุ่มน้ำปราจีน (ลุ่มน้ำย่อยห้วยโสมง) เพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินให้เกษตรกร ลดการทำลายสภาพแวดล้อม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างรายได้ และความมั่นคงในที่ดินทำกินให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน โดยน้อมนำศาสตร์พระราชาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ มาบูรณาการในรูปแบบประชารัฐ โดยเน้นการอนุรักษ์ดินและน้ำ การเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำ และบริหารจัดการพื้นที่ให้สอดคล้องกับสภาพภูมิสังคมแต่ละพื้นที่

โดยใช้หลักการออกแบบ “โคก หนอง การจัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการออกแบบการพัฒนาระบบกสิกรรมด้วยศาสตร์พระราชา ในครั้งนี้ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์พระราชา และการออกแบบระบบกสิกรรมตามศาสตร์พระราชา ผู้เข้ารับการฝึกอบรม สามารถนำความรู้มาประยุกต์ในการออกแบบระบบกสิกรรมตามศาสตร์พระราชาให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ตามหลัก โคก หนอง นา โมเดล ได้ และขับเคลื่อนการดำเนินงานตานโยบายให้ชุมชนอยู่ดีมีสุขและพัฒนาความเป็นอยู่พัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร โดยมีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการออกแบบการพัฒนาระบบกสิกรรม ด้วยศาสตร์พระราชา(รุ่นที่ 1) ในครั้งนี้ โดยมีผู้โครงการรวม 70 คน จากหน่วยงานของกรมพัฒนาที่ดิน เกษตรกรเครือข่ายชุมชนต้นน้ำน่านในพื้นที่จังหวัดน่าน และจังหวัดอุตรดิตถ์ ในการปรับเปลี่ยนอาชีพ ให้กับเกษตรกร โดยการลงพื้นที่ปฏิบัติจริง และการปฏิบัติในพื้นที่จริง โดยมี ศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้มาเรียนรู้จาก การปฏิบัติจริงในพื้นที่จังหวัดน่าน ร่วมลงแขก จับจอบขุดดิน ด้วย

ซึ่ง ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวว่า ในการขับเคลื่อนการพัฒนาไปสู่การปฏิบัติ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหา และลดปัญหาการบุกรุกและการทำลายผืนป่าเพื่อทำไร่ข้าวโพดโดยการจัดการป่าเสื่อมสภาพ บนพื้นที่สูงชัน (เขาหัวโล้น) โดยเน้นการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการเพาะปลูก “เกษตรแบบดั้งเดิม” ไปสู่ “การเกษตรสมัยใหม่” ภายใต้แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนคืนป่าต้นน้ำด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อแก้ปัญหาเขาหัวโล้นและป่าต้นน้ำเสื่อมสภาพในพื้นที่จังหวัดน่าน สร้างระบบน้ำในพื้นที่เขาหัวโล้นตามหลักการออกแบบพื้นที่เพื่อการจัดการน้ำ ได้ประสบผลสำเร็จ สามารถเพิ่มผลผลิตได้อย่างน้อย 3 เท่า สามารถปลูกพืชผัก สร้างความพอมี พอกินในครัวเรือน ได้ คืนผืนป่ากลับมาได้เนื่องจากใช้พื้นที่น้อยลงเป็นการปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ตามศาสตร์พระราชา ป่าสมบูรณ์ขึ้น เพราะมีการกักเก็บน้ำจากการขุดร่องน้ำตามความลาดชัน และเก็บน้ำให้ซึมซับลงดินให้มากที่สุดด้วย

ร่วมแสดงความคิดเห็น