ศูนย์วิจัยโรคปรสิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เผยผลวิจัย การดื่มสุรา เบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำทำให้มีการติดเชื้อพยาธิเส้นด้าย Strongyloides stercoralis สูงกว่าคนที่ไม่ดื่ม การดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลให้การติดเชื้อพยาธิเส้นด้ายมากยิ่งขึ้น สูงกว่าผู้ที่ไม่ดื่มถึง 5 เท่าโดยพบว่า การดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัยจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อพยาธิเส้นด้ายในผู้ป่วย ทำให้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก และเกิดภาวะการติดเชื้อรุนแรง เชื่อว่าเกิดจากการที่แอลกอฮอล์ไปทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโฮสต์และพยาธิเสียสมดุลไปในผู้ป่วยที่เสพติดแอลกอฮอล์และมีการติดเชื้อเรื้อรัง หลักฐานสำคัญคือ ร่างกายที่ได้รับแอลกอฮอล์นานๆเข้า แอลกอฮอล์นี้จะไปกระตุ้นแกนไฮโปทาลามัส-ต่อมใต้สมอง-ต่อมหมวกไต (HPA)ให้มีการผลิตฮอร์โมน cortisol ที่มากเกินไป ฮอร์โมนนี้จะไปทำให้การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันลดลงโดยเฉพาะ type 2 T helper cells (Th2) และไปเลียนแบบฮอร์โมนการลอกคราบของพยาธิ ทำให้พยาธิสามารถพัฒนาเปลี่ยนแปลงระยะตัวอ่อนจากนะยะหนึ่งสู่อีกระยะหนึ่ง เกิดการติดเชื้อในร่างกายผู้ป่วยได้ (autoinfection) งานวิจัยเปรียบเทียบผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลจำนวน 263 ที่เป็นผู้ดื่มแอลกอฮอล์แบบเรื้อรัง เปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่ม 590 ราย พบว่า การติดเชื้อพยาธิสูงถึง 20.5% ในกลุ่มดื่มประจำ ขณะที่ผู้ไม่ดื่มพบการติดเชื้อเพียง 4.4% ทั้งสองกลุ่มนี้มีระดับการติดเชื้อที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Marques CC, et al. 2010) พยาธิเส้นด้าย S. stercoralis […]
ร่วมแสดงความคิดเห็น