28

“เกณิกา”เผย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมเสนอโครงการ “ปุ๋ยคนละครึ่ง”

“เกณิกา”เผย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมเสนอโครงการ “ปุ๋ยคนละครึ่ง”เข้า นบข.-ครม.ช่วยเกษตรกรกว่า 4.68 ล้าน ครอบครัว ใช้ปุ๋ยคุณภาพ ราคาถูกลดต้นทุน วันที่ 27 มี.ค. 67 น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลโดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตระหนักดีว่า ข้าวเป็นสินค้าที่สำคัญของประเทศ ซึ่งสามารถส่งออกได้กว่าแสนล้านบาทต่อปี โดยในประเทศมีเกษตรกรที่ปลูกข้าวกว่า 4.68 ล้าน ครอบครัวหรือประมาณ 16 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่ยังมีฐานะยากจน เนื่องจากราคาผลผลิตแปรปรวน ต้นทุนการผลิตมีการปรับราคาสูงขึ้น เช่น ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช ส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวมีต้นทุนสูงขึ้น ดังนั้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน โดยการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และการสร้างความเข้มแข็งจากการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในพื้นที่ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวให้ดำรงชีพอยู่ได้  น.ส.เกณิกา กล่าวต่อว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงมีมติเห็นชอบโครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในปีการผลิต 2567/68 โดยสนับสนุนปุ๋ยที่เหมาะสมตามความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในรูปแบบ “ปุ๋ยคนละครึ่ง” […]

เกษตรเชียงใหม่ ร่วม ม.แม่โจ้ นำโดรนยกระดับการผลิตลำไยแปลงใหญ่

วันที่ 25 มีนาคม2567 เวลา 09.00 น. นายเจริญ พิมพ์ขาล เกษตรจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธานเปิดโครงการเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการลำไยแปลงใหญ่ ตลอดห่วงโซ่อุปทานด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้กล่าวต้อนรับคณะผู้เข้ารับการอบรม อาจารย์นน ปิ่นเงิน กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การดำเนินโครงการฯ ณ ห้อง VAM 201 อาคารหมู่บ้านนักพัฒนาการเกษตรดิจิทัล(VAM) คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิยะดา ชัยเวช คณบดีคณะบริหารธุรกิจ และเกษตรกรแปลงใหญ่เกษตรอำเภอเป้าหมายร่วมพิธีปิดโครงการดังกล่าวในครั้งนี้ โครงการเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการลำไยแปลงใหญ่ ตลอดห่วงโซ่อุปทานด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ มุ่งเน้นต่อยอดการผลิตให้กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ลำไยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยเน้นด้านการใช้เทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ การใช้โดรน รวมถึงระเบียบข้อบังคับในการใช้รวมถึงกฎหมาย และฝึกปฏิบัติให้เกษตรกรได้ใช้งานจริงในสวนลำไย โดยใช้กลุ่มแปลงใหญ่เป็นพื้นที่นำร่องใน3อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่วาง อำเภอสารภี อำเภอพร้าว แบ่งการอบรม 3 รุ่น ๆละสำหรับในวันนี้เป็นการอบรมรุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 25-26 มีนาคม2567 เกษตรกรแปลงใหญ่ลำไยสารภี สำหรับเกษตรกรที่สำเร็จการอบรมไปแล้วจะสามารถนำความรู้เทคโนโลยีที่ได้ไปลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรรายอื่นๆได้ต่อไป

งานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ปี 2567

สำนักงานเกษตรอำเภอปาย ร่วมกับ สำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ปี 2567 จัดขึ้นให้เกษตรกรในพื้นที่ ได้เรียนรู้แนวการเกษตรผสมผสานโดยเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การดำเนินการของศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หรือ ศพก. คือสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสินค้าหลัก และเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ การจัดงานวันเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ เมื่อวันพุธที่ 20 มีนาคม 2567 สำนักงานเกษตรอำเภอปาย ร่วมกับ สำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ปี 2567 ณ ศพก. เครือข่ายสวนเม่นหมอก หมู่ที่ 8 ตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมี นายเอนก ปันทะยม นายอำเภอปาย เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งมีส่วนราชการทั้งระดับจังหวัดและอำเภอ ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ สำหรับกิจกรรมในวันนี้ จัดขึ้นให้เกษตรกรในพื้นที่ได้เรียนรู้แนวการเกษตรผสมผสาน โดยเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การดำเนินการของศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หรือ ศพก. คือสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสินค้าหลัก และเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ การจัดงานวันเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ จึงนับเป็นการทำงานที่สำคัญให้ทุกหน่วยงาน ได้บูรณาการทำงานร่วมกัน มีเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง […]

รมช.พาณิชย์ พาผู้ประกอบการทำ MOU รับซื้อมะม่วงจากเกษตรกร

รมช.พาณิชย์ พาผู้ประกอบการทำ MOU รับซื้อมะม่วงจากเกษตรกรพญาเม็งราย ตั้งเป้าช่วยกระจายผลผลิต 3,500 ตัน เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 18 มี.ค. 67 นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในกิจกรรม “กรมการค้าภายในเชื่อมโยงการซื้อมะม่วง@เชียงราย” โดยมี นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน นายรังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ประจำนายอนุทิน ชาญวีรกูล) นางณัฐพร มหาไพบูลย์ พาณิชย์ จ.เชียงราย นายชูสวัสดิ์ สวัสดี นอภ.พญาเม็งราย นายชโลธร พัฒน์ทวีกิจ ประธานกลุ่มแปลงใหญ่มะม่วงพญาเม็งราย และผู้แทนเกษตรกรจาก 5 อำเภอ ใน จ.เชียงราย ห้างค้าส่ง-ค้าปลีก ผู้รวบรวม ผู้ส่งออก โรงงานแปรรูป และสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง เข้าร่วมลงนาม MOU เพื่อรับซื้อผลผลิตมะม่วงจากเกษตรกร อ.พญาเม็งราย ณ กลุ่มแปลงใหญ่มะม่วงพญาเม็งราย บ้านกระแล […]

มทบ.38 ร่วมฝ่าวิกฤติเคียงข้างพี่น้องเกษตรกรน่าน

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567 พล.ต.คณิศร อาสมะ ผบ.มทบ.38 พร้อม เสธ.มทบ.38 ร่วมกับเจ้าหน้าที่หน่วยประกอบเลี้ยง มทบ.38 จัดชุดเคลื่อนที่เข้ารับซื้อผลผลิตทางการเกษตรโดยตรงจากเกษตรกร ได้เข้ารับซื้อ กระหล่ำปลี จำนวน 80 กก.จากสวนของ นางนิชณี วงศ์ชัย และสวนของนายวิชิต จินะใจ จำนวน 40 กก. พื้นที่บ้านหมู่ 2 ต.ท่าน้าว อ.ภูเพียง จ.น่าน เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร ที่ราคาผลผลิตตกต่ำโดยนำผลผลิตทางการเกษตรที่รับซื้อมาปรุงอาหารให้กับพลทหารกองประจำการของหน่วยได้รับประทานในครึ้งนี้

รวมพลังขับเคลื่อน ลำไยคุณภาพ สู่ตลาดโลก

เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2567 ผศ.พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร สภาวิชาชีพเกษตร (สอก.)และสมาชิกผู้นำ 8 จังหวัดภาคเหนือ 115 คน ร่วมประชุมเพื่อเสนอแนวทางเพื่อวางแนวทางการบริหารผลผลิตลำไย คุณภาพส่งออก ปี 2567 เพื่อให้สมาชิกและเกษตรกรที่ปลูกลำไย จะมีผลผลิตจำหน่ายอีก 4 เดือน ให้ได้ราคาดี ณ ห้องประชุมศูนย์วิจัยลำไย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอบคุณท่าน ส.ส.นเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ ที่ให้เกียรติเป็นประธานการประชุม และรับข้อเสนอจาก นายมานพ จินะนา ประธานสภาวิชาชีพเกษตร ให้รัฐบาลช่วยผลักดันงบประมาณลงสู่เกษตรกรปลูกลำไย ในครั้งนี้

(มีคลิป)”น่าน” ในมุมที่ต่างไป

จะเป็นอย่างไร ? เมื่อชาวบ้านมีที่ดินทำกินที่ถูกกฎหมาย เเละได้รับเเรงสนับสนุนอย่างเต็มที่ #สคทช. #สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ #บริหารจัดการที่ดินประชาชนอยู่กินยั่งยืน ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติหรือติดต่อมาที่ “ศูนย์บริหารจัดการและแก้ปัญหาเรื่องร้องทุกข์ที่ดินและทรัพยากรดิน” โทร 02-265-5445สคทช. “บริหารจัดการที่ดิน ประชาชนอยู่กินยั่งยืน”

งานเพาะปลูก ‘ข้าวสาลี’ ผสานเทคโนโลยีในกานซู่

หล่งหนาน, 10 มี.ค. (ซินหัว) — เหล่าเกษตรกรง่วนกับงานเพาะปลูกช่วงฤดูใบไม้ผลิ โดยมีช่างเทคนิคบังคับโดรนช่วยใส่ปุ๋ยในทุ่งข้าวสาลีในเขตอู่ตู เมืองหล่งหนาน มณฑลกานซู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีนการเกษตรฤดูใบไม้ผลิในเมืองแห่งนี้มุ่งรับรองการชลประทาน การใส่ปุ๋ย และการกำจัดวัชพืชในทุ่งข้าวสาลีฤดูหนาวบนพื้นที่ 1.22 ล้านหมู่ (ราว 508,300 ไร่)(บันทึกภาพวันที่ 9 มี.ค. 2024)

(มีคลิป)ต้องการเครื่องสูบน้ำเพื่อนำไปช่วยเหลือชาวนา

น้ำไม่เพียงพอกับชาวนา ข้าวตั้งท้องยืนต้นตาย 50% ในพื้นที่ ต.ออนเหนือ ต.ออนกลาง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ต้องการเครื่องสูบน้ำเพิ่ม เพื่อนำไปสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ออน เพื่อช่วยเหลือชาวนาเร่งด่วนวันนี้ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานจากอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ออน อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ชาวบ้านกำลังช่วยกันนำเครื่องสูบน้ำจากน้ำในอ่างเก็บน้ำเข้านาของชาวนา จากที่พบว่า 50% ของพื้นที่ทำนาเสียหาย ต้นข้าวที่กำลังตั้งท้องกำลังแห้งตายเพราะขาดน้ำ เนื่องจากท่ออุโมงค์ส่งน้ำในอ่างเก็บน้ำชำรุดไม่สามารถส่งน้ำไปให้ชาวนาในพื้นที่ ต.ออนเหนือ และ ต.ออนกลางได้ นายวรพันธุ์ กันติสิงห์สกุล หัวหน้าเหมืองฝาย (คลองเบอร์ 8) ต.ออนเหนือ ต.ออนกลาง อ.สันกำแพง กล่าวว่า ปัญหาที่เกษตรกรทำนาประสบปัญหาขาดน้ำอยู่ขณะนี้ เนื่องจากท่อส่งน้ำที่อุโมงค์ส่งน้ำของอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ออน เกิดชำรุด เพราะอายุการใช้งานมานานกว่า 20 ปีแล้ว ได้หยุดส่งน้ำมานานหลายวัน จากที่กำหนดส่งน้ำให้เกษตรกร ในส่วนที่ตนดูแล (เบอร์ 8) ต้องส่งน้ำวันที่ 5 ก.พ.ที่ผ่านมา แต่ไม่สามารถส่งน้ำให้เกษตรกรผู้ทำนาได้ ทางชลประทานแจ้งว่า จะเปิดน้ำให้ได้เพียง 15% ชาวบ้านเห็นว่า […]

คณะวิศวะฯ ม.แม่โจ้ นำร่อง “ลดเผา ลดควัน แป๋งปุ๋ยบนดอย”

คณะวิศวะฯ ม.แม่โจ้ นำร่อง “ลดเผา ลดควัน แป๋งปุ๋ยบนดอย” ชูนวัตกรรมปุ๋ยหมักไม่พลิกกลับกองฯ จัดการเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เหลือทิ้งจากการเก็บเกี่ยวบนพื้นที่สูงลดการเผา ลดฝุ่น PM2.5 คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย อาจารย์ ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนวัฒน์ นิทัศน์วิจิตร อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ่อแก้ว ลัวฉือนี ต.บ่อแก้ว อ.สะเมิง จ. เชียงใหม่ ได้ดำเนินโครงการ “ลดเผา ลดควัน แป๋งปุ๋ยบนดอย” โดยได้นำร่องรับซื้อเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ ราคากิโลกรัมละ 1 บาท จำนวนกว่า 40,000 กิโลกรัม (40 ตัน) เพื่อนำมาทำปุ๋ยอินทรีย์ลดการเผา โดยใช้ วิธีการหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ที่เป็นนวัตกรรมองค์ความรู้ของอาจารย์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบในการลดปัญหาการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ (PM2.5) ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพใช้ในพื้นที่ […]

เกษตรกรรุ่นใหม่ ปลูกกะหล่ำปลีหวาน บุกตลาดสุขภาพเชียงใหม่

วันที่ 5 มีนาคม 2567 เวลา 11.00 น.นายเจริญ พิมพ์ขาล เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ขับเคลื่อนโครงการแปลงใหญ่พืชผัก บ้านแม่โถ ตำบลบ่อสลี อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนางณัฐธยาน์ ศรีสุวรรณ รักษาราชการแทนเกษตรอำเภอฮอดให้ข้อมูลการดำเนินงานพร้อมทั้งเกษตรกรแปลงใหญ่ร่วมกิจกรรมดังกล่าวในครั้งนี้ จังหวัดเชียงใหม่เป็นแหล่งผลิตพืชผักที่มีคุณภาพแหล่งใหญ่ มีพื้นที่การผลิตประมาณ 100,000ไร่ ที่ผ่านมาเกษตรกรผลิตเน้นด้านปริมาณทำให้ผลผลิตไม่มีคุณภาพ ส่งผลต่อสุขภาวะ ผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนไม่สามารถต่อรองด้านราคาได้ทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงด้านรายได้และการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อำเภอฮอดที่เป็นแหล่งผลิตพืชผักขนาดใหญ่ สำนักงานเกษตรจังหวัดตระหนักถึงความเสี่ยงของเกษตรกรดังนั้น จึงส่งเสริมการผลิตพืชผักครบวงจรภายใต้ BCG Model ตามระบบส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ในกิจกรรม 5 ด้าน รวมกลุ่มวางแผนการผลิต การตลาด ส่งเสริมการผลิตให้ได้ทั้งปริมาณ คุณภาพได้มาตรฐานGAPนำนวัตกรรมความรู้เทคโนโลยีมาปรับใช้กับการเกษตร ดังกลุ่มแปลงใหญ่พืชผักตำบลบ่อหลวง-บ่อสลี ที่รวมกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ ประสบความสำเร็จในการสืบทอดอาชีพการปลูกพืชผักจากรุ่นบรรพบุรุษ มาปรับแนวคิดโดยใช้เทคโนโลยี และเน้นคุณภาพมาตรฐานครบวงจรตั้งแต่เพาะต้นกล้า พร้อมลดต้นทุนการผลิตพืชผักในโรงเรือนใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในแปลงปลูก การวางระบบน้ำ การทำปุ๋ยจากไส้เดือน จำหน่ายแบบออนไลน์การผลิต จนสามารถเชื่อมโยงตลาด Modern trade ทั้งในและต่างประเทศได้อย่างเป็นระบบและยังนำพันธุ์พืชผักกะหล่ำพันธุ์หวานจากประเทศญี่ปุ่นทดสอบพันธุ์ ภายใต้ระบบอินทรีย์เตรียมขยายผลสร้างรายได้แก่เกษตรกรในชุมชนต่อไปอย่างยั่งยืน

(มีคลิป)หอมหัวใหญ่ฝางราคาดีมีคุณภาพ แต่ผลผลิตออกน้อย

2 มีนาคม 2567 ในพื้นที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 450 เมตรเป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำอุดมสมบูรณ์ ถึง 1,400 เมตร ที่เป็นพื้นที่ภูเขาสูง แต่ก็ยังมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ผลิตหอมหัวใหญ่ที่มีคุณภาพปลูกกันมากถึง 2,700 ไร่ และส่งออกสู่ตลาดในประเทศ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ในปีนี้ จากการเข้าสำรวจผู้ปลูกหอมหัวใหญ่รายหนึ่งที่ปลูกมานานหลาย คือนายสมชาย สุขใจบุญ เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหัวฝาย ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ที่จบการศึกษาด้านการเกษตรกรรม มีความรู้ความชำนาญทางการเกษตร ได้ให้สัมภาษณ์เรื่องการปลูกหอมหัวใหญ่ว่าการลงทุนโดยเฉลี่ยไร่ละ 30,000-35,000 บาท ใช้เวลาปลูกทั้งหมดประมาณ 140 วัน หว่านกล้าใช้เวลา 35-45 วัน ถอนปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว ใช้เวลาประมาณ 100 วัน ผลผลิตนั้นมันอยู่ที่สภาพอากาศ ถ้าอากาศหนาวเย็นยาวคือทั้งกลางวันกลางคืน ก็จะทำให้ผลผลิตหอมหัวใหญ่ออกมามีคุณภาพ ทั้งหัวสวย มีน้ำหนักมาก ไม่ติดโรคพืช และไม่เน่า จะขายได้ราคาดีกว่า เฉลี่ยไร่ละ 8,000 ถึง 10,000 กิโลกรัม เลยทีเดียว แต่ถ้าอากาศหนาวเย็นไม่ยาวไม่สม่ำเสมอ […]

กรมการค้าภายใน ลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ติดตามผลรับซื้อหอมใหญ่ เกษตรกรยิ้ม ราคาขึ้น

กรมการค้าภายในลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ติดตามผลการนำผู้ประกอบการเข้ารับซื้อหอมหัวใหญ่จากเกษตรกร ในอำเภอแม่วางและบ้านกาด พบเกษตรกรขายผลผลิตได้ราคาดีต่อเนื่อง เหมาแปลงขยับขึ้นไป 6-7 หมื่นบาทต่อไร่ จากปีก่อนแค่ 3 หมื่นบาทต่อไร่ ยันผลผลิตที่จะออกมาช่วง มี.ค.นี้ มีแผนรับมือ เตรียมเข้าซื้อกระจายออกนอกแหล่งผลิต มั่นใจดันราคาดีตลอดทั้งฤดูกาล         นายกรนิจ โนนจุ้ย รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เพื่อติดตามผลการนำผู้ประกอบการเข้าไปรับซื้อผลผลิตหอมหัวใหญ่ ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ประกอบด้วย อ.แม่วาง และบ้านกาดพัฒนา ในราคานำตลาด ภายใต้โครงการเชื่อมโยงรับซื้อผลผลิตหอมหัวใหญ่กระจายออกนอกแหล่งผลิต โดยพบว่า ราคาที่เกษตรกรในพื้นที่ขายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากเดิมขายเหมาแปลงได้รายได้ประมาณ 30,000 บาทต่อไร่ แต่ปีนี้ราคาที่เกษตรกรขายได้พุ่งขึ้นไปอยู่ที่ 60,000–70,000 บาทต่อไร่ ทั้งนี้ ฤดูกาลผลิตปี 2567 พืช 3 หัวในภาพรวมทั้งประเทศ มีปริมาณ 231,608 ตัน ลดลงจากปีก่อนที่ 250,682 ตัน หรือลดลง 8% โดยหอมหัวใหญ่ มีแหล่งผลิตหลักอยู่ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เชียงราย […]

เกษตรเชียงใหม่เริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่อำเภอฝาง เน้นเกษตรปลอดเผา

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 น. นายเจริญ พิมพ์ขาล เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานพิธีเปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ หรือ Field Day โดยนายประเสริฐ พรหมวรรณ เกษตรอำเภอฝาง กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน ว่าที่ร้อยตรี นพรัตน์ ศุภกิจโกศล นายอำเภอฝางกล่าวต้อนรับ ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรลิ้นจี่ หมู่ที่ 12 ตำบลแม่สูน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอฝาง มีพื้นที่การเกษตร 112,240 ไร่ เกษตรกร 9,357 ครัวเรือน พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไม้ผลไม้ยืนต้นที่สำคัญ ได้แก่ ส้มสายน้ำผึ้ง ลิ้นจี่ มะม่วง พืชผัก ได้แก่ กระเทียม หอมหัวใหญ่ และข้าวโพดหวาน งานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) […]

ปศุสัตว์แพร่จัดพิธีมอบกระบือ ตามโครงการประชารัฐพัฒนาอาชีพการเลี้ยงกระบือ

ปศุสัตว์ จ.แพร่ จัดพิธีมอบกระบือ ตามโครงการประชารัฐพัฒนาอาชีพการเลี้ยงกระบือ ภายใต้โครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดแพร่ พร้อมด้วยสำนักงานปศุสัตว์อำเภอเด่นชัย ดำเนินการจัดพิธีมอบกระบือ ตามโครงการประชารัฐพัฒนาอาชีพการเลี้ยงกระบือ ภายใต้โครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ โดยนายชุติเดช มีจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ มอบหมายให้นายสัตวแพทย์ ดร.สมพร พรวิเศษศิริกุล ปศุสัตว์จังหวัดแพร่ เป็นประธานในพิธีมอบกระบือดังกล่าวฯ ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้ส่งมอบกระบือเพศเมีย จำนวน 55 ตัว ให้บริการแก่เกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงกระบือ ตำบลปงป่าหวาย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ จำนวน 19 ราย ๆ ละ 2-3 ตัว ยืมเพื่อการผลิต ตามโครงการประชารัฐพัฒนาอาชีพการเลี้ยงกระบือ ภายใต้โครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ ณ วัดอัมพวนาราม หมู่ที่ 1 ตำบลปงป่าหวาย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ โดยวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์การเลี้ยงกระบือ เพิ่มปริมาณการผลิตกระบือในจังหวัดแพร่ และในแถบภูมิภาคภาคเหนือ เป็นการส่งเสริมและพัฒนาปรับระบบการเลี้ยงกระบือ ซึ่งจะก่อให้เกิดรายได้แก่เกษตรกรอย่างยั่งยืน […]

เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ เสริมพลังร้อยใจรักษ์

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 11.00 น. นายเจริญ พิมพ์ขาล เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ และนายเอกนรินทร์ ปินทะนา เกษตรอำเภอแม่อาย ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการตามภารกิจกรมส่งเสริมการเกษตร ณ โครงการร้อยใจรักษ์ ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ โครงการร้อยใจรักษ์ เป็นโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดทรงเล็งเห็นว่าควรนำการพัฒนาเข้ามา เพื่อสร้างโอกาสและทางเลือกในการดำรงชีวิตให้ประชาชนในพื้นที่ เพื่อไม่ให้ประชาชนต้องพึ่งพายาเสพติดและสิ่งผิดกฎหมายอีกต่อไป จึงเกิดเป็น “โครงการร้อยใจรักษ์” ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2560 เพื่อร้อยใจทุกคนเข้ามาร่วมกันทำงาน เพื่อความผาสุข มั่นคงและยั่งยืนของชุมชนและสังคมกรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างอาชีพให้ความรู้แก่เกษตรกรในโครงการฯ ในเรื่องการผลิตมะม่วงคุณภาพ ,การเพาะเห็ด ,การผลิตไม้ตัดดอกเบญจมาศในโรงเรือน และใช้ระบบส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่แก่เกษตรในกลุ่มมะม่วง, สนับสนุนบรรจุภัณฑ์,กระดาษห่อไม้ตัดดอก ปัจจุบันเกษตรกรสามารถผลิตมะม่วงคุณภาพ โดยมีตลาดรองรับจากเอกชนมาช่วยสนับสนุน อีกทั้งผลผลิตที่เหลือคัดเกรดก็นำมาต่อยอดแปรรูปเป็นน้ำผลไม้หมักในรูปแบบต่างๆทั้งนี้เพื่อให้เกษตรมีอาชีพ รายได้ เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อย่างยืน

เกษตรเชียงใหม่ชูกระเทียมดีที่เวียงแหง

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 11.00 น. นายเจริญ พิมพ์ขาล เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ติดตามสถานการณ์กระเทียมในพื้นที่อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ โดยนายกฤษนันท์ ทองทิพย์ รักษาราชการแทนเกษตรอำเภอเวียงแหง และนายมานพ จริยา ประธานแปลงกระเทียมแปลงใหญ่ ร่วมให้ข้อมูลดำเนินการจังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ ปลูกกระเทียม 20,573ไร่ คาดการณ์ผลผลิตปีนี้ประมาณ 63,484 ตัน อำเภอที่เป็นแหล่งผลิตที่สำคัญได้แก่ เวียงแหง เชียงดาว ฝาง ไชยปราการและสะเมิง สำหรับอำเภอเวียงแหง กระเทียมเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญสามารถสร้างรายได้แก่เกษตรใรพื้นที่ เพราะ เป็นแหล่งผลิตกระเทียมคุณภาพ เพราะมีอากาศหนาวเย็น และดินที่เหมาะสมแก่การปลูกกระเทียม ทำให้กระเทียมที่ได้มีกลิ่นฉุน และรสชาติดี สามารถเก็บไว้ได้นาน อำเภอเวียงแหงมีพื้นที่ปลูกมากที่สุดถึง 7,600 ไร่ เกษตรกรรวมกลุ่มกระเทียมแปลงใหญ่ มีการบริหารจัดการตั้งแต่ต้นทางการผลิต คือการปลูกตามระบบมาตรฐานGAP ตลอดจนถึงการตลาด เกษตรกรจะเริ่มปลูกช่วงตุลาคมหลังเก็บเกี่ยวข้าว จากนั้นดูแลให้น้ำประมาณ 10 วันต่อครั้งและ งดการให้น้ำประมาน 2 สัปดาห์ ก่อนเก็บผลผลิต ห้วงการเก็บเกี่ยวตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน […]

เกษตรเชียงใหม่ สร้างมั่นคงด้านอาหาร

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 น. เจริญ พิมพ์ขาล เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานพิธีเปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ หรือ Field Day โดยมี กฤษนันท์ ทองทิพย์ รักษาการเกษตรอำเภอเวียงแหง กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน ชานนท์ ดวงมณี ปลัดอำเภอเจ้าพนักงานปกครองชำนาญการ ร่วมพิธี ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(เกษตรผสมผสาน) หมู่ที่ 3 ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อม และนำองค์ความรู้ด้านการเกษตรที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ให้กับเกษตรกร อำเภอเวียงแหง มีระยะห่างจากจังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 150 กิโลเมตร การเดินทางค่อนข้างลำบาก เพราะมีภูมิประเทศเขาสูง อาณาเขตติดต่อกับรัฐฉานประเทศเมียนมา ทำให้มีความหลากหลายทางชาติพันธ์ุ วิถีการเพาะปลูกของเกษตรกร อาศัยแหล่งน้ำตามธรรมชาติ น้ำฝน เกษตรกรปลูกข้าวปีละครั้ง จากนั้นปลูกกระเทียม เลี้ยงสัตว์ ประมง โดยใช้ฟางข้าวเป็นวัสดุคลุมแปลง เลี้ยงสัตว์ไม่เผา สำนักงานเกษตรอำเภอเวียงแหง จัดองค์ความรู้การทำเกษตรผสมผสาน สร้างคลังอาหารของคนในชุมชน ลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอก โดยมี […]

ปศุสัตว์จังหวัดแพร่อบรมเชิงปฏิบัติการ ภายใต้โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน

ปศุสัตว์จังหวัดแพร่อบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การสร้างการรับรู้แบบมีส่วนร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างเครือข่าย” ภายใต้โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน กิจกรรมส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดแพร่ ร่วมกับหน่วยงานบูรณาการ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การสร้างการรับรู้แบบมีส่วนร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างเครือข่าย” ภายใต้โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน กิจกรรมส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป้าหมายเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ในพื้นที่อำเภอเด่นชัย และอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ณ ศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) นายสนอง ส่งศรี ตำบลแม่จั๊วะ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ วัตถุประสงค์ในการจัดฝึกอบรมครั้งนี้เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เกษตรกรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยน้อมนำแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเอง ในการนี้ได้รับเกียรติจาก นายสัตวแพทย์ ดร.สมพร พรวิเศษศิริกุล ปศุสัตว์จังหวัดแพร่ ได้ร่วมเป็นประธานเปิดงานโครงการฯ ดังกล่าว

1 2 3 139