รู้ก่อน..ได้เปรียบ วันนี้คุณไปเปลี่ยนบัตร ATM ฟรี แล้วหรือยัง

ธนาคารแห่งประเทศไทย  ออกมากระตุ้นประชาชนอีกครั้ง ให้เปลี่ยนบัตรเดบิตและบัตรเอทีเอ็ม จากบัตรแถบแม่เหล็ก (magnetic card) ให้เป็นบัตรชิปการ์ด (chip card) ก่อนวันที่ 15 มกราคม 2563 ซึ่งเป็นวันสุดท้าย ก่อนที่จะใช้งานไม่ได้ ทั้งเครื่องเอทีเอ็มและเครื่องรูดบัตร

แต่สามารถฝาก ถอน เงินสดหรือโอนเงิน ผ่านช่องทางการให้ของธนาคาร หรือโอนเงินผ่าน mobile banking และ internet banking ได้ปกติ

สำหรับ ลูกค้าของธนาคารสามารถเปลี่ยนบัตรใหม่ จากแถบแม่เหล็กเป็นบัตรชิปการ์ด ได้ที่ธนาคารที่ท่านเป็นลูกค้า ทุกสาขา โดยท่านนำ บัตรประจำตัวประชาชน บัตรเดบิตหรือบัตรเอทีเอ็มใบเดิม และสมุดบัญชีเงินฝาก ไปแสดงให้เจ้าหน้าที่ของธนาคาร โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนบัตร

ทั้งนี้ เพื่อยกระดับความปลอดภัย ในการใช้ บัตรอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ ป้องกันการปลอมแปลงบัตร (counterfeit card fraud) และการโจรกรรมข้อมูล (skimming) เพื่อใช้ทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็ม

หากท่านสงสัยหรือมีข้อข้องใจ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ call center หรือเจ้าหน้าที่ของสาขาธนาคารที่ใช้บริการ หรือที่ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน โทร. 1213

ตั้งแต่ต้นปี 2559 ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ได้มีการประชาสัมพันธ์ ให้ลูกค้าของธนาคาร ทำการเปลี่ยนบัตร ATM และบัตรเดบิต จากแถบแม่เหล็ก (Magnetic Stripe) ไปเป็นบัตรรูปแบบใหม่ ที่ใช้ระบบชิปการ์ด (Chip Card) ตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย 

ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย หลังจากวันที่ 15 มกราคม 2563 บัตรแถบแม่เหล็กจะไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป  ซึ่งจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า ปัจจุบันกลุ่ม ธนาคาร ผู้ให้บริการในประเทศไทย ได้ทำการเปลี่ยนบัตรเป็นชิปการ์ดไปแล้วประมาณ 47 ล้านใบ และยังคงมีบัตรแถบแม่เหล็กคงค้างที่ยังไม่ได้การเปลี่ยน อีกประมาณ 20 ล้านใบทั่วประเทศ

หลายคนอาจจะสงสัยว่า บัตรเดบิต (Debit Card) และบัตรเครดิต (Credit Card)  ทำไมต้องเปลี่ยน ?  เปลี่ยนแล้วดีจริงไหม ? เปลี่ยนแล้วดีอย่างไร ? วันนี้ เราจะมาไขข้อสงสัยกัน

สมาร์ท การ์ด (Smart Card) หรือ ชิปการ์ด (Chip Card)  คือ บัตรที่มีแผงวงจรขนาดเล็ก (Micro Chip) ภายในชิปจะมีหน่วยความจำ และหน่วยประมวลผล ขนาดเล็ก สำหรับเก็บข้อมูลเจ้าของบัตร เพื่อใช้ทำธุรกรรมทางการเงินได้อย่างปลอดภัย 

มันถูกออกแบบขึ้นมา ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2539 จากเครือข่ายผู้ให้บริการการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิต อย่าง Europay MasterCard และ VISA  โดยเทคโนโลยีดังกล่าวถูกออกแบบมาด้วยมาตรฐาน EMV ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานสากลที่ใช้กันทั่วโลก 

ในประเทศไทยการให้บริการบัตรเดบิตแบบชิปการ์ด เริ่มใช้งานในปี พ.ศ. 2552 โดยเจ้าแรกที่เปิดให้บริการ คือ “ธนาคารกรุงเทพ”  โดย ใช้ชื่อว่า “บัตรเดบิตบีเฟิสต์ (Be1st)” 

เมื่อมองรูปลักษณ์ภายนอก สมาร์ท การ์ด (Smart Card) หรือ ชิปการ์ด (Chip Card) นั้น จะมีชิป (Chip) สี่เหลี่ยมขนาดเหล็ก ติดอยู่ด้านหน้าบัตร ในส่วนของด้านหลังบัตรยังคงรูปแบบเดิม คือ มีแถบแม่เหล็ก ช่องลงลายมือชื่อของผู้ถือบัตร และมีเลข CVV 3 หลัก (Card Verification Value) ซึ่งเป็นรหัส เฉพาะที่ใช้ร่วมกับรหัสด้านหน้าบัตร เพื่อสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ หรือธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ อื่น ๆ ได้ ดังนั้นรหัสด้านหลังบัตร ต้องปกปิดไว้อย่างดี

ด้วยเทคโนโลยีคอนแทคเลส (Contactless) หรือการชำระเงินแบบไร้สัมผัส จะทำให้สามารถจ่ายเงินได้อย่างง่ายดาย ด้วยวิธีการแตะบัตรลงบนเครื่องชำระเงิน ในระยะใกล้ประมาณ 1 -2 นิ้ว ลดความเสี่ยงที่บัตรจะสูญหาย หรือถูกปลอมแปลง ท่านสามารถชำระ ค่าสินค้าได้ทุกที่ ที่มีสัญลักษณ์ Contactless ณ จุดชำระเงิน

ซึ่งถือได้ว่าโดดเด่นมากในเรื่องของการป้องกันการถูกโจรกรรมคัดลอกข้อมูลในบัตร(Skimming) และลดอัตราการปลอมแปลงบัตร (Counterfeit Card Fraud) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และชิปที่ฝังอยู่ในบัตรสามารถจัดเก็บข้อมูลได้อย่างหลากหลาย ทำให้ไม่จำเป็นต้องถือบัตรหลายใบอีกต่อไป ทั้งหมดจะถูกรวบรวมไว้ในหน่วยความจำอัจฉริยะ เพียงใบเดียว

นอกจากด้านความปลอดภัยแล้ว การใช้บัตรแบบชิปการ์ดยังรองรับนวัตกรรมการชำระเงินในรูปแบบใหม่ ๆ เช่น การชำระเงินแบบไร้สัมผัส (payWave หรือ Contactless) หรือใช้กับเครื่องรูดบัตรมือถือ (mPOS) เพียงแค่นำบัตรไปแตะหรือใกล้กับเครื่องชำระเงิน ก็สามารถชำระได้ โดยไม่ต้องมอบบัตรให้กับพนักงาน

ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของประเทศ ที่มุ่งพัฒนาสู่โครงสร้างระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) เพื่อก้าวเข้าสู่สังคมที่คนไม่นิยมพกเงินสด (Cashless Society) ช่วยให้รัฐ สามารถจัดเก็บข้อมูล ทางการเงินได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และลดต้นทุนในการจัดเก็บเอกสารลงได้ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจได้อย่างดีเยี่ยม

สำหรับการเปลี่ยนบัตรเดบิต จากแบบแถบแม่เหล็กไปใช้บัตรแบบชิปการ์ด เพียงแจ้งความจำนงในการขอเปลี่ยนบัตร และแสดงบัตรประจำตัวประชาชน บัตรเดบิตหรือบัตรเอทีเอ็มใบเดิม และสมุดบัญชีเงินฝาก ของธนาคารที่ใช้บริการทุกสาขา ก็สามารถดำเนินการเปลี่ยนบัตรได้เลยโดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนบัตร

นอกจากการเปลี่ยนตัวบัตรแล้วธนาคารจะกำหนดให้เราตั้งรหัส PIN (Personal Identification Number) จากเดิม 4 หลัก ให้เป็น 6 หลัก เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้รหัสถูกคาดเดาได้ยากขึ้นอีกด้วย

วันที่ 16 มกราคม 2563 นี้จะใจ้บัตร เอทีเอ็มแบบเก่ากดตังบ่ได้ละเน้อ….ปี๋น้อง หมู่เฮาขะใจ๋ ไปเปลี่ยนเน้อ !!!!

ร่วมแสดงความคิดเห็น