VAR เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเกมฟุตบอลสุดคลาสสิก

ศึกแดงเดือด ในวงการฟุตบอลอังกฤษ ระหว่าง ลิเวอร์พูล VS แมนยู พึ่งผ่านพ้นไป ประเดนที่หยิบยกมาพูดคุยกันอย่างมาก คือ Virtual Assistant Referee หรือที่หลาย ๆ ท่าน คุ้นหูกับคำว่า “VAR” เพราะถ้าไม่มี เทคโนโลยี นี้เข้ามาช่วยการตัดสินของกรรมการ ใน คือ วันที่ 19 มกราคม 2563 แมนยู ต้องโดน ลิเวอร์พูล ถล่มประตู ถึง 4 – 0 แต่จากการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในเกม ทำให้ ปิดเกม ไปแค่ 2 – 0 นั้นทำให้หลาย ๆ คนเริ่มสนใจว่า เจ้าเทคโนโลยี “VAR” นี้มันคืออะไร และแท้ที่จริงแล้วมันมีไว้ทำไม

ระบบ Virtual Assistant Referee (VAR) มีการนำมาใช้ครั้งแรก ในฟุตบอลโลกปี 2018 เพื่อช่วยกรรมการในการตัดสินระหว่างเกม และนำมาซึ่งความขัดแย้ง ในวงการฟุตบอล ในแบบที่คุณอาจสังเกตเห็นได้ชัดเจน เพราะมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย

ที่มา : https://twitter.com/TC_Africa/status/1011865273031327744/photo/1

มันไม่ใช่เรื่องแปลก ที่ VAR จะทำให้เกิดประเดนถกเถียงกันอย่างมากในวงการฟุตบอล ไม่ว่าจะเป็น การแข่งขันฟุตบอลอังกฤษ หรือ FA Cup และบุนเดสลีกา ถือว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

แต่ก็ไม่ควรลืมว่า VAR มันเป็นเพียง ฟุตบอลดิจิทัล ที่มีการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการตัดสินใจ ให้ชัดเจนมากที่สุด การเปลี่ยนแปลงจากเกมสุดคลาสสิก เป็น ดิจิทัล อย่างรวดเร็วเกินไปนี้นำมาซึ่ง การหันหลังให้กับ เกมฟุตบอล ของกลุ่มแฟนบอลที่เข้าชมในสนาม เพราะเทคโนโลยี VAR คือตัวทำลายและบั่นถอนจิตใจ ของแฟนบอล เหมือนคนที่ถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง ไม่มีผลอะไรต่อ เกมการแข่งขัน

VAR เป็นเทคโนโลยีที่ จะช่วยผู้ตัดสินในการตัดสินใจที่แม่นยำในขณะที่เกมดำเนินไปผู้ช่วยจะออกมาจากสนามเพื่อดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันที และรายงานผ่านชุดหูฟังไร้สาย เพื่อสื่อสารกับกรรมการชี้ขาด ในสนามและปรึกษาหรือให้คำแนะนำในเหตุการณ์ โดย VAR ช่วยเหลือผู้ตัดสินในส่วนหลัก ๆ คือ การตัดสินที่ผิดผลาด การเป่าจุดโทษ การให้ใบแดงและใบเหลือง แต่ท้ายที่สุดการตัดสินใจของกรรมการในสนาม คือ การตัดสินใจขั้นสุดท้าย

VAR เริ่มรู้จักกันครั้งแรก ในปี 2560 ใน FA Cup ของอังกฤษ มัน ถูกกล่าวหาอย่างรุนแรง ว่าเป็นเครื่องมือที่ทำลาย “เกมอันสวยงาม” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเกม ระหว่าง ทอตนัมฮอตสเปอร์ และ โรชเดล ในรอบชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ เมื่อคำตัดสินถูกเปลี่ยนแปลงด้วยเหตุผลที่ไม่ชัดเจนของ VAR จนทำให้แฟน ๆ ทอตนัมฮอตสเปอร์ โกรธแค้นอย่างมาก

อีกคำตัดสิน ในบุนเดสลีกา เกมระหว่าง ไมนซ์ 05 และเซาท์ไฟรบูร์ก ในช่วงระหว่างพักครึ่ง เมื่อกลับลงสนาม ทั้งสองทีมได้รับโทษย้อนหลังจากคำตัดสิน VAR ทำให้ แฟนบอลและนักฟุตบอล ถึงกับหมดกำลังใจที่จะเล่นต่อ

แม้ว่าเทคโนโลยี VAR จะให้คำตัดสินในเชิงบวก แต่มันก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ อย่างมากว่ามันทำให้ ฟุตบอล เปลี่ยนจากเกมที่ตื่นเต้น ชิงไหวพริบกันในสนามไปสู่เกมที่น่าเบื่อหน่ายและการเบรคเกมที่นานเกินไปเพื่อรอฟังคำตัดสิน ทำให้การแก้เกมในสนามดูจืดสนิจ

หลายคนรู้สึกว่าระบบดิจิตอล หรือ VAR ก้าวไปไกล และรวดเร็วเกินไปจนทำให้เกมฟุตบอลไม่เป็นไปตามธรรมชาติ บางครั้ง เมื่อนักเตะยิงประตูได้ก็ยังไม่แน่ใจว่า ประตูนั้นจะเป็นประตูชัยได้หรือไม่  จนกว่าจะมีคำตัดสินจาก VAR จนทำให้นักเตะบางคนไม่กล้าแม้กระทั่งจะแสดงความดีใจออกมาเมื่อทำประตูได้ในเกม การแข่งขัน

VAR อาจเป็นการช่วยให้การตัดสินใจของกรรมการให้มันถูกต้องที่สุด (หรือไม่) และอาจทำให้ เกมฟุตบอลมีกำไรมากขึ้น จากการปรับปรุงประสิทธิภาพของผู้เล่นและกลยุทธ์ของผู้จัดการ แต่มันขัดขวางความตื่นเต้นและจิตวิญญาณของเกม จนทำให้มันสูญเสียมนต์ขลัง แห่งเกมกีฬาสุดคลาสสิกนี้ไป นั้นอาจสั่งผลกระทบ ต่อวงการ ฟุตบอลในรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นวงการข่าวการจองตั๋ว เป็นต้น

สิ่งนี้ อาจทำให้ เกมฟุตบอล ในสนามไม่ได้แตกต่างอะไรไปจาก e Sports ที่กำลังเติบโตขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยอุตสาหกรรม e Sports จากทั่วโลก มีมูลค่าถึง 1,500,000,000,000 US $จากการเล่นเพื่อการพักผ่อนมาสู่เกมการแข่งขันที่มีมูลค่ารางวัล หลักล้าน หรือ ทิศทางการกีฬากำลังจะเปลี่ยนแปลงไป เพราะเทคโนโลยี ที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว..

โดย…บ่าวหัวเสือ

ร่วมแสดงความคิดเห็น