จ.น่านจัดประชุมการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำยางพารารั่วไหลลงบนพื้นผิวจราจร

เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2563 เวลา 09.30 น. ที่ ห้องประชุม กอ.รมน.จังหวัดน่าน ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน จ.น่าน พ.อ. รุศมนตรี จิณเสน รอง ผอ.รมน.จังหวัดน่าน (ท.) เป็นประธานการประชุมการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำยางพารารั่วไหลลงบนพื้นผิวจราจรเพื่อลดอุบัติเหตุทางถนน พื้นที่จังหวัดน่าน ซึ่งมีหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่เข้าร่วมประชุมฯ จำนวน 20 คน โดยในที่ประชุมได้มีมาตรการป้องกัน/แก้ไขปัญหา 2 มาตรการ สาระสำคัญดังนี้

มาตรการป้องกัน/แก้ไขปัญหาในระยะสั้นอำเภอ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการดังนี้
1.ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรและผู้ประกอบการทราบถึงผลกระทบและอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการขนย้ายน้ำยางพารารั่วไหลลงบนพื้นผิวจราจร 2. จัดทำประชาคมกติกาชุมชน เรื่องการขนย้ายน้ำยางพารา 3.ให้อำเภอที่มีความเสี่ยงของปัญหาน้ำยางพารารั่วไหลลงบนพื้นผิวจราจร จัดการประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา อาทิเช่น อ.เมืองน่าน, อ.ภูเพียง, อ.สันติสุข, อ.แม่จริม, อ.นาน้อย และอ.บ้านหลวง 3.ให้ แขวงทางหลวงน่านที่ 1 แขวงทางหลวงน่านที่ 2 และแขวงทางหลวงชนบทน่าน จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์เพื่อสื่อประชาสัมพันธ์ตามมาตรการที่กำหนดบนสายทางที่รับผิดชอบพร้อมบทกำหนดโทษ 4. ให้ แขวงทางหลวงน่านที่ 1, แขวงทางหลวงน่านที่ 2, แขวงทางหลวงชนบทน่าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เชิญชวนประชาชนในพื้นที่จัดกิจกรรมทำความสะอาดถนนตามเส้นทางที่มีการขนย้ายน้ำยางพารา 5. ให้ตำรวจภูธรจังหวัดน่าน, สำนักงานขนส่งจังหวัดน่าน และเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติ และกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้ฝ่าฝืน

มาตรการป้องกัน/แก้ไขปัญหาในระยะยาว 1 สนง.ปภ.จ.น่าน จัดตั้งคณะทำงานในการแก้ปัญหาน้ำยางพาราในระดับจังหวัด,ระดับอำเภอ พร้อมทั้งจัดการประชุมหารือเพื่อรวบรวมข้อมูล/หามาตรการแนวทางการป้องกัน/แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปัญหาน้ำยางพารา ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และจัดทำประกาศจังหวัดแจ้งให้ส่วนที่เกี่ยวข้องทราบ โดยให้ สนง.ปภ.จ.น่าน เป็นฝ่ายเลขาของคณะทำงาน 2 การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดน่าน ดำเนินการดังนี้ 3.สร้างองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางพารา เพื่อปรับเปลี่ยนการผลิตน้ำยางก้อนถ้วยจากแบบเปียกเป็นแบบหมาดๆ หรือแบบแห้ง แบบยางสด หรือยางแผ่น

ขอรับการสนับสนุนเครื่องรีดยางพารา (เพิ่มเติม) 5. จัดทำข้อมูลกลุ่มผู้ประกอบการ (จุดทิ้ง/จุดซื้อ) ให้เป็นปัจจุบัน ส่งให้ สนง.ปภ.จ.น่าน ภายใน 30 ม.ค. 63 6. สนง.เกษตรจังหวัดน่าน ดำเนินการดังนี้ 7. สร้างองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางพารา เพื่อปรับเปลี่ยนการผลิตน้ำยางก้อนถ้วยจากแบบเปียกเป็นแบบหมาดๆ หรือแบบแห้ง แบบยางสดหรือยางแผ่น 8.จัดทำข้อมูลกลุ่มเกษตรกร/พื้นที่ปลูกยางพาราให้เป็นปัจจุบันส่งให้ สนง.ปภ.จ.น่าน ภายใน 30 ม.ค. 63

ร่วมแสดงความคิดเห็น