53

สานไม้ไผ่ สานสานใย สานต่อความภาคภูมิใจ “จักสานบ้านป่าบง”

ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ตอนที่ 10 เครื่องจักสาน 1 : จักสานบ้านป่าบง “…ผมภูมิใจ ที่ได้เกิดเป็นคนป่าบง จะทำต่อไป จนทำไม่ได้ จนวินาทีสุดท้ายจะนอนเสียไปกับตะกร้าเลย เกิดกับจักสาน ตายกับจักสาน สัญญา จะอยู่ตรงนี้ จะอยู่กับสิ่งนี้ จะอยู่อนุรักษ์จักสานป่าบงนี่แหละ…” — อำนวย แก้วสมุทร์ – ไม้ไผ่ที่ถูกนำมาตอก นำมาสานร้อยเรียงกัน จนเกิดเป็นรูปทรงต่าง ๆ นิยมนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ดำรงชีพของชาวล้านนาในอดีต สิ่งที่เรียกว่า “เครื่องจักสาน” ภูมิปัญญาที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวล้านนา จะสานต่อความภาคภูมิใจนี้ไปยังคนรุ่นใหม่ได้อย่างไร ความน่ากังวลใจที่เหล่าสล่าจักสานกำลังเผชิญ ที่ในทุกวันนี้เครื่องจักสาน ได้มีสิ่งมาทดแทนมากมาย ความนิยมที่ลดน้อยถอยลง และสล่าผู้สืบสานภูมิปัญญาล้ำค่านี้เริ่มแก่เฒ่า และจากเราไปตามกาลเวลา สานสายใยแห่งชีวิต หัตถกรรมพื้นบ้านอันล้ำค่า “เครื่องจักสานบ้านป่าบง” ป่าบง หมายถึง ป่าไผ่ วิถีชีวิตของชาวบ้านป่าบงส่วนใหญ่นั้นจะมีความผูกพันกับไม้ไผ่กันมาอย่างยาวนาน ในสมัยที่เทคโนโลยียังไม่เจริญ เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตก็ล้วนทำมาจากไม้ไผ่ ในยามว่างจากทำไร่ไถนา ผู้เฒ่าผู้แก่สมัยนั้นก็จะมีการเหลาตอก สานกระด้ง กระบุง และตะกร้าไว้ใช้เอง หรือไม่ก็นำไปขายยังหมู่บ้านอื่น ทำให้เครื่องจักสานบ้านป่าบง เป็นเครื่องจักสานที่มีชื่อเสียง และได้รับการยกย่องเป็นสินค้า […]

สิ่งล้ำค่าที่ใกล้สูญหาย “เครื่องเขิน” หัตถศิลป์แห่งภูมิปัญญาล้านนา

ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ตอนที่ 9 เครื่องเขิน “…ถ้ามองเครื่องเขินนันทารามต่อไป ก็อาจจะไม่มี หรืออาจจะมีก็ได้เพราะต้องมีคนต่อยอด แต่ ณ ตอนนี้ดูแล้วมันจะหายไปละ…”— แม่ประทิน ศรีบุญเรือง – ชุมชนนันทาราม อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ หนึ่งในเส้นทางวัฒนธรรมที่สำคัญ เป็นชุมชนที่รักษามรดกทางวัฒนธรรมล้ำค่าของชาวล้านนาเอาไว้ “เครื่องเขิน” หัตถศิลป์แห่งภูมิปัญญา ในอดีตมีความเจริญรุ่งเรือง และเป็นที่นิยมอย่างมาก แต่ในปัจจุบัน กาลเวลาเปลี่ยน ความนิยมก็เปลี่ยนตาม จากสิ่งล้ำค่า กลายเป็นสิ่งใกล้สูญหาย อดีตมีผู้คนทำเครื่องเขินเป็นจำนวนมาก ตลอดเส้นทางนันทาราม แต่ทุกวันนี้กลับเหลือเพียงสามหลังคาเรือน เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นว่า คุณค่า และความสำคัญของเครื่องเขินไม่เหมือนในอดีตอีกต่อไป 700 ปี แห่งความภาคภูมิใจ “เครื่องเขิน” งานหัตถศิลป์ล้านนา“ เครื่องเขิน ” หมายถึง ภาชนะ เครื่องมือ หรือ ของใช้ ที่ผลิตขึ้นโดยชาวเชียงใหม่ที่มีเชื้อสายสืบมาจากไทเขินแต่โบราณ เครื่องเขินเป็นภูมิปัญญาที่อยู่คู่กับชาวล้านนามาอย่างยาวนานกว่าหลายร้อยปี เริ่มตั้งแต่สมัยพระเจ้ากาวิละ ยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง เป็นยุคที่มีการฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ และดินแดนล้านนา ได้มีการกวาดต้อนผู้คนจากหลากหลายที่เข้ามาอยู่รวมกัน ในส่วนของไทเขิน ก็ได้มีการอพยพมาอยู่บริเวณใกล้กับวัดนันทาราม […]

ภูมิปัญญาแห่งความศรัทธาในพระพุทธศาสนา…สล่าปิดทอง

ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ตอนที่ 8 สล่าปิดทอง “…มีความซื่อสัตย์ และมีใจรักในศาสนา ถ้าเรามีจิตตั้งมั่น มันก็มีความสุขในการทำมันไม่ใช่แค่รุ่นเราที่ทำมา มันตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ กี่ร้อยกี่พันปีเขาก็ทำดีมา เราทำให้ดีที่สุด ก็โอเคแล้ว… ”— ภานุชิต พรหมเมือง — งานลงรักปิดทอง ถือเป็นงานที่แสดงถึงภูมิปัญญา และความรู้ด้านศิลปะของเหล่าสล่าปิดทอง โดยมีวัสดุสำคัญ คือยางรัก ปิดทับด้วยทองคำเปลว เพื่อตกแต่งสถาปัตยกรรม และประติมากรรมให้มีสีทองอร่าม เป็นงานศิลปะที่ผสมผสานระหว่างงานฝีมือ และเทคนิคการสร้างสรรค์อันซับซ้อน เป็นความวิจิตร งดงามที่อยู่คู่กับศาสนามาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ความรัก และ ความศรัทธาของชาวล้านนากับพระพุทธศาสนานั้นถือเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมาอย่างยาวนาน และจากความรัก ความศรัทธา ก็ได้ทำให้เกิดศิลปะคู่บ้านคู่เมือง ตราบใดที่พระพุทธศาสนายังเจริญรุ่งเรืองคู่ดินแดนล้านนา และประเทศไทย งานศิลปกรรมชั้นสูง หัตถกรรมการปิดทองนี้ ก็จะยังคงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องได้รับการสืบทอด และคงไว้ซึ่งการดำรงอยู่ของช่างหัตถศิลป์ ตำนานเล่าขาน…งานปิดทองงานลงรักปิดทอง ถือเป็นงานศิลปหัตถกรรมไทย แขนงหนึ่งที่จัดอยู่ในงานช่างสิบหมู่ประเภทช่างรัก คนไทยรู้จักการลงรักปิดทองพระพุทธรูป และลวดลายต่าง ๆ มาอย่างยาวนาน ไม่น้อยกว่าสมัยสุโขทัย มีการค้นพบหลักฐานการลงรักปิดทอง ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปที่หล่อด้วยโลหะ ปั้นปูนสด หรือจักสานด้วยไม้ไผ่ และการลงรักปิดทองคำเปลว แม้หลักฐานของการปิดทองจะยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด แต่มีการกล่าวถึงอานิสงส์ของการทำบุญด้วยทอง […]

ตำนานน้ำต้น คนปั้นดิน…ภูมิปัญญากว่า 200 ปี

ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ตอนที่ 7 สล่าปั้น “…ถ้าสินค้าไม่ดีจริงคงไม่อยู่ถึง 200 กว่าปี คนปั้นเริ่มสูงอายุ เริ่มสูญหายไปตามกาลเวลา อยากให้วัฒนธรรมที่มีอยู่ 200 กว่าปี ยังคงอยู่คู่กับบ้านเหมืองกุงของเรา… ”— วชิระ สีจันทร์ – ชุมชนบ้านเหมืองกุง ชุมชนที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน และมีการถ่ายทอดการทำเครื่องปั้นดินเผา มาตั้งแต่บรรพบุรุษ กว่า 200 ปี คนโทยักษ์ หรือที่คนภาคเหนือ เรียกกันว่า น้ำต้น สิ่งที่ตั้งตระหง่าน อยู่ ณ ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ คือ สัญลักษณ์ทางเข้าสู่บ้านเหมืองกุง หมู่บ้านที่รวมยอดสล่าเครื่องปั้นดินเผา ที่มีการใช้วิธีปั้นแบบดั้งเดิม ในวันนี้เราแทบจะหาดูจากที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว ตำนานงานช่าง คนปั้นดิน บ้านเหมืองกุง ที่มีการเชื่อมโยงสีสันวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตของคนล้านนา จากอดีตสู่ปัจจุบัน ชุมชนบ้านเหมืองกุง…เส้นทางภูมิปัญญากว่า 200 ปี หมู่บ้านเหมืองกุงเดิมมีชื่อว่า “บ้านสันดอกคำใต้” เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ของเชียงใหม่ มีการปั้นน้ำต้น และหม้อน้ำมานานกว่า 200 […]

สมบัติวัฒนธรรมล้านนา…งานคัวตอง วัดพวกแต้ม

ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ตอนที่ 6 สล่าคัวตอง “…ลายนี้มันควรจะดุนอย่างไรให้มันสวยแต่ละคนไม่เหมือนกัน ให้นั่งทำไม่เหมือนกันสักชิ้นจิตวิญญาณของสล่าที่ตอกลงไป งานคัวตอง Handmade งานศิลปะที่หาดูได้ยาก… ”— นิวัติ เขียวมั่ง – บอกเล่าผ่านกาลเวลา….งานคัวตองเครื่องหมายสะท้อนวิถีชีวิตชาวล้านนาในอดีต งานคัวตอง หรือ งานเครื่องทองเหลือง คือ สัญลักษณ์ของความรุ่งเรือง และความยิ่งใหญ่ในงานหัตถกรรมล้านนา “คัว” หมายถึง งานฝีมือ หรือ งานหัตถการ “ตอง” คือ ทองเหลือง “คัวตอง” จึงหมายถึง งานเครื่องทองเหลืองที่ถูกทำขึ้นมาด้วยการตีขึ้นรูป และนำมาฉลุลายด้วยฝีมือของ ‘สล่า’ หรือช่างคัวตอง ที่ทำขึ้นมาด้วยความประณีต ต้นกำเนิดงานหัตถศิลป์ล้ำค่านี้ มีการสันนิษฐานว่า น่าจะเริ่มจากยุค “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” ที่พระเจ้ากาวิละได้ทำการกวาดต้อนผู้คนจากหลายที่มารวมตัวกัน ซึ่งกลุ่มคนเหล่านั้น ต่างคนต่างมีทักษะเฉพาะตัว ไม่ว่าจะเป็นช่างหล่อ ช่างแกะสลัก ช่างเงิน ช่างเขิน เป็นต้น จึงมีการคาดการณ์ว่า งานคัวตอง น่าจะถือกำเนิดขึ้นในช่วงนี้ สล่าที่ถูกกวาดต้อนมา ได้ทำการหล่อพระพุทธรูปสำริดขึ้นเป็นจำนวนมาก อยู่ในบริเวณย่านถนนช่างหล่อ ใกล้กับวัดพวกแต้ม […]

สานต่อตำนานศิลปหัตถกรรมไม้แกะสลักบ้านถวาย ความภาคภูมิใจของชาวล้านนา

ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ตอนที่ 5 สล่าไม้บ้านถวาย “…อีกไม่เกิน 10 ปี ทุกอย่างจะหายไป การสืบทอดภูมิปัญญาในด้านแกะสลักมันหายไปแล้ว มาบ้านถวาย มาสัมผัสของจริง สัมผัสด้วยตัวเอง ท่านจะรู้คุณค่าของงาน คำว่าภูมิปัญญามันมีค่า ต่อไป 10 ปี ใครแกะเก่งใครแกะได้คนนั้นจะรวย… ”— สวัสดิ์ พันธุศาสตร์ – ตำนานไม้แกะสลักบ้านถวาย ศิลปหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของเชียงใหม่ บ้านถวาย ชุมชนที่อยู่มายาวนานกว่า 100 ปี หมู่บ้านหัตถกรรมไม้แกะสลัก ตั้งอยู่ในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ จากชุมชนที่ทำการเกษตรกรรม กลายมาเป็นชุมชนที่ทุกคนร่วมใจกันสร้างสรรค์งานหัตถกรรมจากไม้ จนเป็นชุมชนต้นแบบ และยกระดับไม้แกะสลักให้เป็นงานศิลปหัตถกรรมระดับชาติ ปี 2500 จุดเริ่มต้นของตำนานไม้แกะสลัก เมื่อเกิดภาวะฝนแล้ง นาล่ม ชาวบ้านไม่สามารถทำการเกษตรได้ ต้องดิ้นรนต่อสู้ ออกไปทำงานนอกหมู่บ้าน จะมีพ่อลุง 3 ท่าน ที่เป็นช่างไม้ของชุมชนบ้านถวาย ได้ไปทำงานเป็นช่างไม้อยู่ที่ประตูเชียงใหม่ ได้ซ่อมแซมโบราณวัตถุ ไม้แกะสลักที่ชำรุด จนตระหนักได้ว่า ไม้เหล่านั้นสามารถซ่อม และแกะสลักมันได้ จึงเริ่มเกิดการเรียนรู้ และสร้างทักษะด้านแกะสลัก […]

หัตถศิลป์ “เครื่องเงิน” อันล้ำค่าที่อยู่คู่ชาวล้านนามากว่า 700 ปี

ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ตอนที่ 4 สล่าเงิน วัดศรีสุพรรณ “…ถ้าใช้จิตวิญญาณตอกลงไปในเครื่องเงิน ชิ้นงานจะมีความเป็นอมตะ ต่อให้ตัวตาย แต่จิตวิญญาณที่ฝังอยู่ในเครื่องเงิน ก็ยังคงอยู่นิจนิรันดร์… ”— พ่อครูดิเรก สิทธิการ — ยอดสล่า ผู้อุทิศทั้งชีวิตเพื่อสืบสานวัฒนธรรมล้านนา เครื่องเงินอันทรงคุณค่าให้อยู่คู่แผ่นดินไทย ไม่เลือนหายไปตามกาลเวลา พ่อครูดิเรก สิทธิการ ผู้เกิด และเติบโตมาในครอบครัวช่างดุนโลหะ สลักเงิน ในชุมชนบ้านวัวลาย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นยอดสล่าพื้นบ้านดุนลายเครื่องเงิน ผู้มีความเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน ในเรื่องของการดุนโลหะ เปลี่ยนจากแผ่นโลหะเรียบ ๆ ไร้ลวดลาย ให้กลายเป็นลวดลายสุดวิจิตร มีการออกแบบทั้งลวดลายไทย และลวดลายร่วมสมัย “สิ่งที่ภูมิใจมาก ๆ เมื่อไม่นานมานี้ ทางกระทรวงวัฒนธรรม เขาเลือกสินค้าชุมชนวัวลายเรา มอบให้เป็นของที่ระลึกผู้นำเอเปค ถ้าพูดถึงมูลค่าไม่นับว่าแพงหรอก แต่คุณค่ามันอยู่ที่ว่า สกุลช่างบ้านเรา ได้รับเกียรติ ได้เป็นตัวแทนในการทำ นับเป็นสตางค์มันไม่แพง แต่มันอยู่ที่จิตใจ” — พ่อครูดิเรก สิทธิการ — สล่าที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวล้านนา พ่อครูดิเรก สิทธิการ […]

เปิดคำทำนาย “ปั้กกะตืนปีใหม่พื้นเมือง 2567”

ปั้กกะตืนปีใหม่พื้นเมือง ปีกาบสี หรือหนใต้เรียกปีมะโรง จุลศักราช ๑๓๘๖ พุทธศักราช ๒๕๖๗ ปีนี้เป็นปีปรกติมาส ปรกติวาร อธิกสุรทิน พระอาทิตย์จักย้ายออกจากราศีมีนอาโปธาตุเข้าสู่ราศีเมษเตโชธาตุตรงกับวันเสาร์ขึ้น ๕ ค่ำเดือน ๗ เหนือเดือน ๕ ใต้ตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน เวลา ๒๒ นาฬิกา ๑๗ นาที ๒๔ วินาที ถือเป็นวันสังขารล่อง รวิสังขานต์แต่งองค์ทรงเครื่องสีเขียว เครื่องประดับมรกต หัตถ์ขวาบนถือหอก หัตถ์ขวาล่างถือลูกศร หัตถ์ซ้ายบนถือธนู หัตถ์ซ้ายล่างถือดาบ นอนตะแคงมาบนหลังแรด รุกไปหนหรดี(ตะวันตกเฉียงใต้)มีนางยามายืนรอรับ ตามฮีตฮอยโบราณวันนี้ต้องปัดกวาดเช็ดถูบ้านช่องห้องหอร้านค้าร้านขายหื้อสะอาดสอ้านน่าอยู่น่าค้า รุ่งเช้าเป็นวันอาทิตย์ที่ ๑๔ เมษายนและ จันทร์ที่ ๑๕ เมษายนถือเป็นวันเนาว์หรือวันเน่า ทั้งสองวันนี้บ่ดีกล่าวผรุสวาจาอาฆาตมาดร้ายแก่ใครจะเป็นผลร้ายต่อชีวิตตนเอง มีโอกาสหื้อตักทรายเข้าวัดใช้หนี้ธรณีสงฆ์ ถวายตุงถวายไม้ค้ำเป็นพุทธบูชา รุ่งเช้าวันอังคารที่ ๑๖ เมษายน ตรงกับขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๗ เหนือหรือ เดือน ๕ […]

หัวใจสำคัญพระพุทธศาสนา ช่างหล่อพระโบราณล้านนาที่เหลืออยู่หนึ่งเดียว

ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ตอนที่ 3 สล่าหล่อพระล้านนา “…ขึ้นโครงร่าง ขึ้นฐาน ขึ้นบัว ขึ้นตัว จนถึงรูปลักษณะของพระ เป็นแบบเก่าแท้ๆ แบบโบราณ ก็จะมีอยู่ที่นี่ อยู่หลังเดียว ถ้าหมดรุ่นลุงอี๊ดไป คิดว่าบ้านช่างหล่อก็คงเหลือแต่ชื่อ… ”— ลุงอี๊ด ชัยรัตน์ แก้วดวงแสง — หนึ่งเดียวที่ยังคงอยู่ ช่างหล่อพระโบราณ ผู้สืบสานงานประติมากรรมพุทธศาสนา เด็กชายคนหนึ่งที่เติบโตมาในครอบครัวที่มีอาชีพเป็นช่างหล่อพระ คอยดู คอยซึมซับ จนในวันนี้เด็กคนนั้นได้เติบโตมาเป็นสล่าหล่อพระล้านนาแบบแท้ๆ หนึ่งเดียวที่คงเหลืออยู่ในเชียงใหม่แห่งนี้ “ลุงอี๊ด ชัยรัตน์ แก้วดวงแสง” ทายาทรุ่นที่ 5 ของตระกูล ผู้สืบทอดการหล่อพระจากรุ่นปู่ รุ่นทวด ยาวนานมากว่า 100 ปี องค์ความรู้ทั้งหมดที่ได้มา ล้วนมาจากการสังเกต เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากที่บ้าน และเรียนรู้เพิ่มเติมจากแหล่งอื่น ๆ ให้ได้มากที่สุด ถนนช่างหล่อ ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่ตั้งของบ้านลุงอี๊ด สล่าหล่อพระล้านนา และยังเป็นถนนที่มีร่องรอยของรากเหง้าวัฒนธรรมฝังไว้อยู่ทั่วทุกทิศ นับตั้งแต่สมัยพญามังรายเริ่มสร้างบ้านแปลงเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 1839 […]

(มีคลิป)ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ตอนที่ 2 คุณค่าอักษรล้านนา

“อักษรล้านนา” มรดกล้ำค่าทางอักษรศาสตร์ กุญแจสำคัญไขประตูสู่อดีต “…คำเมืองถ้าคนเมืองไม่พูด แล้วใครจะพูด หนังสือตัวเมือง ถ้าคนเมืองไม่เรียน ไม่เขียน ไม่อ่านแล้วใครจะเป็นคนทำ… ” — อาจารย์ เกริก อัครชิโนเรศ — ภูมิปัญญาชาวล้านนา อักษรแห่งมนต์ขลัง ที่อยู่มานานกว่า 700 ปี อักษรธรรมล้านนา หรือ อักษรธรรมเมือง คนเมืองจะเรียกว่า “ตั๋วเมือง” คือ ตัวหนังสือของคนเมือง เขียนเรื่องในพระพุทธศาสนาทั้งหมด และรวมไปถึงเรื่องพิธีกรรม ความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์ เรื่องวรรณกรรมอีกด้วย  — อาจารย์ เกริก อัครชิโนเรศ นักวิชาการด้านล้านนาศึกษา — “ตั๋วเมือง” หรือ “ตัวเมือง” เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารของชาวล้านนา ถือได้ว่าเป็นอักษรแห่งภาษาแม่ของชาวล้านนา  ใช้เป็นภาษาที่เขียนลงในหนังสือทางราชการของอาณาจักรล้านนา ในช่วงประมาณ 700 ปีที่ผ่านมา หลักฐานที่มีอักษรล้านนาปรากฏอยู่ มีทั้งบนศิลาจารึก พับสา (สมุดที่ทำขึ้นจากเปลือกของ ไม้สา เป็นเสมือนตำรา คู่มือของนักวิชาการพื้นบ้านล้านนา) และคัมภีร์ใบลาน ในอดีตอักษรล้านนา […]

(มีคลิป)ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ตอนที่ 1 เส้นทางวิถีชีวิตล้านนา

ต้นทุนวัฒนธรรม จิตวิญญาณแห่งล้านนา อาณาจักรล้านนา ดินแดนแห่งวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ล้านนาที่ยาวนาน นำไปสู่การหลอมรวมของอิทธิพลทางภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม ของหลากหลายชาติพันธุ์ จนกลายมาเป็นวัฒนธรรมล้านนาอันล้ำค่า อันมีอัตลักษณ์ หาดูจากที่ไหนไม่ได้ นอกจากแผ่นดินล้านนาแห่งนี้ วัฒนธรรมที่เกิดการพัฒนาตามยุคสมัย ส่งต่อ และ ตกทอดสู่รุ่นลูกรุ่นหลานมาอย่างยาวนานกว่าหลายศตวรรษ และทุกวันนี้ก็ยังคงอยู่บนความภาคภูมิใจของชาวล้านนา อาณาจักรล้านนา อาณาจักรแห่งความเจริญรุ่งเรืองทั้งศิลปะ วัฒนธรรม และวิถีชีวิต “ ล้านนา ” ครอบคลุม 8 จังหวัดของภาคเหนือ คือ เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง, เชียงราย, พะเยา, แพร่, น่าน และแม่ฮ่องสอน โดยมีศูนย์กลางสำคัญของดินแดนล้านนานับจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน คือ เมืองเชียงใหม่ วิถีชีวิตของคนล้านนา เปี่ยมไปด้วยประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งรวมความศรัทธา และความเชื่อ ที่มีต้นกำเนิดมายาวนานกว่า 700 ปี มีแอ่งกำเนิดวัฒนธรรมที่สำคัญอย่าง แอ่งเชียงใหม่ – ลำพูน, แอ่งลำปาง, แอ่งเชียงราย […]

“ลัดดาแลนด์” ตำนานเรื่องเล่าผีเชียงใหม่ ที่ไม่มีใครไม่รู้จัก

เชื่อว่าชาวจังหวัดเชียงใหม่คงไม่มีใครไม่รู้จัก “ลัดดาแลนด์” ที่เป็นที่เลื่องลือเรื่องความเฮี้ยนของที่แห่งนี้ 50 ปีแห่งความเฮี้ยน ได้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์สยองขวัญ ยิ่งทำให้ลัดดาแลนด์เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ความเฮี้ยนจากระดับท้องถิ่นสู่ความเฮี้ยนระดับประเทศ วันนี้ “เชียงใหม่นิวส์” ขอนำจุดกำเนิดความเฮี้ยนของสถานที่อันโด่งดังแห่งนี้มาให้ได้อ่าน และนึกถึงอีกครั้ง สถานที่แห่งนี้ในอดีตถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของจังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงปี 2520 แต่เหตุการณ์การฆาตกรรมในบ้านหลังหนึ่ง เป็นจุดเริ่มต้นของความสยองพองเกล้า จนนำไปสู่จุดจบของหมู่บ้านลัดดาแลนด์ และเป็นตำนานผีที่ว่ากันว่าน่ากลัวที่สุดแห่งหนึ่ง ลัดดาแลนด์ เป็นสวนพฤกษศาสตร์ ผสมผสานกับลานแสดงศิลปวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ในราวปี พ.ศ.2512 เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง ประกอบด้วย สวนสนุก การแสดงมหรสพต่างๆ ตั้งอยู่ริมถนนเลียบคลองชลประทาน ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเจ้าของคือ “พลตรีประดิษฐ์ พันธาภา” นายทหารผู้เป็นเจ้าของกิจการ “โรงหนังเวียงพิงค์” และ “นางลัดดา พันธาภา” นักธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ พื้นที่ผืนนี้ได้พัฒนาเป็น “อุทยานการท่องเที่ยวขนาดใหญ่” มีการจัดศูนย์แสดงสาธิตศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งพิพิธภัณฑ์ชาวเขา การทำเครื่องเขิน การแกะสลักไม้ การทอผ้าไหม การแสดงฟ้อนรำต่างๆ มีการให้บริการ ช้าง ม้า และรถไฟเล็กให้นั่ง มีค่าบริการประมาณ 8 – 10 บาท เป็นที่ถูกอกถูกใจของเด็กๆ และครอบครัวอย่างมาก เล่ากันว่า วัยรุ่นสมัยนั้นจะไปออกเดทกัน เพราะมีความเชื่อว่าคู่ไหนไปอธิฐานขอโชคเรื่องความรักกับต้นไทรหน้าลัดดาแลนด์แล้ว คู่นั้นจะได้รักกันไปตลอดชีวิต แต่แล้วเมื่อครอบครัวหนึ่งถูกโจรปล้น และฆ่ายกครัว ทำให้บ้านใกล้เรือนเคียงต้องพบกับเรื่องแปลกๆ […]

สายธารศรัทธา ฟื้นวัดป่าแดง อ.เชียงดาว วัดร้าง 600 ปี คืนมรดกล้านนาสู่ความทรงจำของสังคม

4 พ.ย. 2566 – วัดป่าแดง หมู่ที่ 6 ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ จัดทอดกฐินสามัคคี เพื่อสร้างกุฏิสงฆ์ และงานสาธารณะประโยชน์ภายในวัดป่าแดง โดยมีคุณศุภมิตร กิจจาพิพัฒน์ นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว จ.เชียงใหม่ เป็นประธานในพิธี ร่วมกับคุณธนกิจ พานิชชีวะ ผู้จัดการใหญ่โครงการไอคอน ปาร์ค และไอคอนไอทีเชียงใหม่ โดยบริษัทอัครพร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เป็นประธานอุปถัมภ์  วัดป่าแดง อ.เชียงดาว ถือว่าเป็นวัดร้างเก่าแก่อายุกว่า 600 ปี ที่ร่วมประวัติศาสตร์กับล้านนามาตั้งแต่ยุคพญามังรายสร้างบ้านแปลนเมือง และวัดป่าแดงถือเป็นตัวแทนนิกายพระสงฆ์ล้านนาที่จะมี 2 คณะ คือ คณะสวนดอกที่นิยมสร้าง พระอารามในสวนดอกไม้ มีวัดสวนดอกเป็นหัวคณะใหญ่ละคณะปายป่า มีวัดป่าแดงเชิงดอยสุเทพเป็นหัวหน้าคณะใหญ่ ยาวมาถึงยุคพระพญาแก้ว ที่ท่านทรงนำนิกายปายป่า ผ่านการสร้างวัดป่าแดง ตามหัวเมืองโบราณของล้านนาและหนึ่งในหัวเมืองโบราณหลายแห่ง ก็คือ ‘เวียงเชียงดาวปัจจุบัน’  จุดเริ่มต้นครั้งสำคัญในปี พ.ศ. 2550 มีการสร้างพระเจดีย์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และสร้างศาลาอเนกประสงค์ ที่เราเห็นในปัจจุบัน ในปัจจุบันวัดป่าแดงมีพื้นที่ 10 […]

พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ขัติยนารีของเมืองเชียงใหม่

ถ้าหากย้อนถึงอดีตของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี พระองค์ทรงเป็นพระธิดาองค์ที่ 11 ของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 7 กับแม่เจ้าทิพเกษร ทรงประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 10 (เหนือ) ขึ้น 4 ค่ำปีระกา ในเวลา 03.00 น.ตรงกับวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2416 ที่คุ้มหลวงเมืองเชียงใหม่ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของศาลากลางหลังเก่าและหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ เมื่อทรงพระเยาว์ได้ศึกษาอักษรไทยเหนือและไทยกลาง ทรงมีความสนใจและเข้าใจในขนบธรรมเนียมประเพณีของล้านนาเป็นอย่างดี ปี พ.ศ.2429 ได้เสด็จตามพระบิดาลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพแล้วเลยอยู่รับราชการฉลองพระเดชพระคุณฝ่ายในเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อทรงประสูติพระราชธิดาแล้วทรงโปรดเกล้าฯให้เลื่อนฐานะศักดิ์เป็นพระสนมเอก กระทั่งปลายปี พ.ศ.2451 หลังจากที่เสด็จกลับมาเยี่ยมนครเชียงใหม่เป็นครั้งแรกด้วยเรือหางแมงป่อง ประทับอยู่ไม่นานจึงเสด็จกลับกรุงเทพฯจากนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯให้สถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็นพระราชชายา ในระหว่างที่ทรงรับราชการในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งรวมเป็นระยะเวลานานถึง 28 ปีนั้น พระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้ทรงดำรงพระองค์อย่างเหมาะสม พระองค์ทรงยึดมั่นในการรักษาวัฒนธรรมประเพณีของล้านนาเอาไว้ โดยโปรดให้ข้าหลวงในวังนุ่งซิ่นไว้ผมมวย แต่งกายแบบชาวเชียงใหม่ พูดภาษาคำเมืองและกินเมี่ยง ขณะเดียวกันก็ทรงเรียนดนตรีไทยภาคกลาง จนกระทั่งพระองค์ทรงดนตรีได้หลายอย่าง นอกจากนั้นยังทรงสนับสนุนให้พระญาติและข้าหลวงเรียนและฝึกเล่นดนตรีไทยภาคกลางจนสามารถตั้งวงเครื่องสายได้ พระราชชายาเจ้าดารารัศมียังทรงสนพระทัยในเรื่องการถ่ายรูป ซึ่งสมัยนั้นเป็นของใหม่ที่เพิ่งเข้ามาในประเทศไทย พระญาติของท่านคนหนึ่งที่อยู่ร่วมพระตำหนักได้ชื่อว่าเป็นช่างภาพผู้หญิงคนแรกของไทยรับงานถ่ายรูปของราชสำนัก การที่พระองค์ทรงมีพระจริยาวัตรงดงามตลอดเวลาที่ทรงประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวัง จึงทำให้ทรงได้รับการโปรดเกล้าฯพระราชทานตราปฐมจุลจอมเกล้าสำหรับฝ่ายในแก่พระราชชายาเป็นรุ่นแรกพร้อมกับพระภรรยาเจ้าและพระราชธิดา ซึ่งมีเพียง 15 […]

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) วัดงาม 700 ปีแห่งเขตอรัญญิก เมืองเชียงใหม่

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ตั้งอยู่เชิงดอยสุเทพ วัดอุโมงค์เป็นวัดที่สำคัญอีกแห่งของเชียงใหม่ เป็นวัดที่ร่มรื่นและมีขนาดกว้างขวาง ลักษณะการออกแบบเป็นไปตามแบบพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ เดิมสร้างขึ้นในสมัยพญามังรายบริเวณ ป่าไผ่ 11 กอ ต่อมาในสมัยพญากือนา โปรดให้สร้างอุโมงค์ขึ้นในบริเวณวัด วันนี้ “เชียงใหม่นิวส์” จะพามาเดินลอดอุโมงค์ใต้พระเจดีย์ สัมผัสศิลปะพุทธแบบลังกาวงศ์ที่ “วัดอุโมงค์” ประวัติของวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ในสมัยพระเจ้ามังรายมหาราช ทรงทำนุบำรุงพระศาสนาาเป็นการส่วนพระองค์ พระองค์ได้ทรงทราบว่า พระเจ้ารามคำแหงมหาราช พระสหายผู้ครองนครสุโขทัย ได้ส่งคนไปนิมนต์พระสงฆ์จากเมืองลังกา จึงประสงค์จะได้พระลังกามาเป็นหลักพระพุทธศาสนาในเมืองเชียงใหม่บ้าง และได้สร้างวัดฝ่ายอรัญวาสีเฉพาะพระลังกา เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการนำพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์มาประดิษฐานในลานนาไทยเป็นครั้งแรก โดยยึดเอาแบบอย่างการสร้างวัดของเมืองลังกาเป็นแบบฉบับ โดยแบ่งออกเป็นเขตพุทธาวาส และสังฆาวาส ทรงขนานนามว่า วัดเวฬุกัฏฐาราม (วัดไผ่ 11 กอ) ในที่สุดได้กลายเป็นวัดที่พระบรมวงศานุวงศ์และประชาชนศรัทธาเลื่อมใสเป็นอันมาก เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์เจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว และตั้งหลักได้มั่นคงในลานนาไทยเป็นครั้งแรกในสมัยของพระองค์ ต่อมาเมื่อพระเจ้ามังรายสวรรคต ศาสนาพุทธขาดการทำนุบำรุง เพราะมัวแต่ทำศึกสงครามกันเองในเชื้อพระวงศ์ในการแย่งชิงราชสมบัติ จนมาถึงสมัยสมัยพระเจ้ากือนาธรรมาธิราช ศาสนาพุทธก็ได้รับการฟื้นฟู ทรงมีความเลื่อมใสในพระมหาเถระจันทร์ พระเจ้ากือนาจึงสั่งให้คนบูรณะวัดเวฬุกัฏฐาราม เพื่ออาราธนาพระมหาเถระจันทร์จำพรรษาทีวัดแห่งนี้ และตั้งชื่อวัดนี้ว่า “วัดอุโมงค์เถรจันทร์” ตามชื่อของพระมหาเถระจันทร์ มีการซ่อมแซมเจดีย์โดยการพอกปูน สร้างอุโมงค์ไว้ทางทิศเหนือจากเจดีย์ ในอุโมงค์มีทางเดิน 4 ช่องซึ่งเชื่อมต่อกันได้ ลัทธิลังกาวงศ์ซึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองมาครั้งหนึ่งสมัยพระเจ้ามังรายมหาราช และได้เสื่อมทรามไปเกือบ 70 […]

18 มิ.ย. 2507 วันเปิดเรียนวันแรกของ มช.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ทางราชการจัดตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ตามโครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค พ.ศ.2501 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งอยู่ ณ ดินแดนล้านนา อันเป็นแหล่งสะสมวัฒนธรรมอันล้ำค่ามานานกว่า 700 ปี มีสภาพภูมิประเทศงดงามท่ามกลางสภาพแวดล้อมอันเป็นธรรมชาติ บริเวณเชิงดอยสุเทพ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ นับตั้งแต่มีการเรียกร้องให้ขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาออกสู่ภูมิภาค โดยขอให้รัฐบาลจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 ในที่สุดการเรียกร้องก็สัมฤทธิ์ผลก่อให้เกิดความภูมิใจและดีใจเป็นอย่างยิ่งแก่ชาวล้านนา วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ขึ้น โดยกำหนดให้เปิดสอนในปีการศึกษา 2507 และให้กระทรวงศึกษาธิการ โดยมี ม.ล.ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการเตรียมการจัดตั้ง วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2507 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2507 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 81 ตอนที่ 7 ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2507 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป วันที่ […]

เปิดประวัติ “ครูบาบุญชุ่ม” เกจิดัง สู่ศรัทธาแห่งล้านนา

ครูบาบุญชุ่ม เกิดเมื่อวันอังคารที่ 5 ม.ค. 2508 เวลา 09.00 น. ที่หมู่บ้านแม่คำหนองบัว ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรคนโตของนายคำหล้าและนางแสงหล้า ทาแกง แม้ครอบครัวจะยากจนใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก แต่โยมมารดาก็ปลูกฝังท่านให้ทำบุญ สวดมนต์ ทำสมาธิอยู่เสมอ ทำให้ท่านสนใจออกบวช หลังจากเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จึงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2519 ขณะอายุได้ 11 ปี ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นตรีในปี 2526 ต่อมาได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2529 เวลา 9.19 น. ณ อุโบสถวัดพระเจ้าเก้าตื้อ (ปัจจุบันรวมกับวัดสวนดอก (จังหวัดเชียงใหม่)) โดยมีพระราชพรหมาจารย์ (ดวงคำ ธมฺมทินฺโน) เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูเวฬุวันพิทักษ์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระครูศรีปริยัตินุรักษ์เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ระหว่างบรรพชามีหลวงพ่อธุดงค์องค์หนึ่งอยู่อำเภอจุน จ.พะเยา ได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุมามอบให้พระครูบาเจ้าฯ เมื่อท่านได้รับพระบรมสารีริกธาตุมาแล้ว ได้น้อมจิตพิจารณาว่า กระดูกของสัตว์โลกทั้งหลายนั้น นับตั้งแต่เวียนว่าย […]

ตำนานผ้าพระบฏ 100 ปี ในพิธีเลี้ยงดงผี “ปู่แสะ-ย่าแสะ”

เปิดตำนานผ้าพระบฏ 100 ปี ในพิธีเลี้ยงดงผี “ปู่แสะ-ย่าแสะ” ประเพณีเลี้ยงดงผีปู่แสะย่าแสะ ถือเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่มีการสืบทอดมาหลาย 100 ปี โดยจะจัดขึ้นทุกวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 9 ของทุกปี ณ ผืนป่าเชิงดอยคำ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยนอกเหนือจากการเซ่นไหว้ผีปู่แสะย่าแสะแล้ว พิธีแห่ผ้าพระบฏถือเป็นอีกไฮไลท์สำคัญของประเพณีนี้ ย้อนกลับไปในอดีตในสมัยพุทธกาล ณ ที่แห่งนี้มีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับปู่แสะย่าแสะ ยักษ์ที่คอยจับมนุษย์กินทุกวัน จนสร้างความเดือดร้อนให้ชาวลัวะ ชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่อาศัยในระมิงค์นคร เมืองโบราณที่ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำปิงกับดอยสุเทพ ต้องพากันหนีตายออกนอกเมือง เมื่อพระพุทธเจ้าได้รับรู้ถึงความเดือดร้อนของชาวลัวะ จึงได้เสด็จมาโปรดปู่แสะย่าแสะ เพื่อแสดงธรรมและอภินิหารจนยักษ์ทั้งคู่ต่างเลื่อมใส พร้อมหันมาถือศีล 5 แต่ด้วยความที่ยักษ์ต้องกินเนื้อสัตว์เพื่อประทังชีวิต จึงได้ขอพระพุทธเจ้ากินเนื้อควายสดปีละครั้ง แต่พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสใดๆกลับมา ปู่แสะย่าแสะจึงได้ไปขอเจ้าเมืองลัวะแทน พร้อมทำหน้าที่เป็นผู้ปกปักรักษาดอยสุเทพ และดอยคำ พร้อมอำนวยฝนฟ้าให้ตกตามฤดูกาล ดังนั้นแล้ว เมื่อถึงคราวจัดพิธีเลี้ยงดงขึ้น จะมีการแห่ผ้าพระบฏโบราณ อายุเก่าแก่ 100 กว่าปีจากวัดป่าจี้ นำมาผูกห้อยต้นไม้ในบริเวณพิธี โดยผืนผ้าที่วาดเป็นรูปของพระพุทธเจ้าปางห้ามญาติ ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2469 เมื่อถูกลมพัดแกว่งไปมา เปรียบเสมือนภาพแทนของพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาโปรดมนุษย์ […]

ประเพณีเลี้ยงดงปู่-ย่าแสะ ประเพณีเลี้ยงผีเมืองเชียงใหม่

วันที่ 2 มิถุนายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานการเลี้ยงดง ที่บริเวณเชิงวัดพระธาตุดอยคำ (ศาลปู่แสะ – ย่าแสะ) และลานพิธีเลี้ยงดง ช่วงเช้า เริ่มเวลา 07.00 น.ผู้ร่วมพิธีพร้อมกันที่บริเวณเชิงวัดพระธาตุดอยคำ (ศาลปู่แสะย่าแสะ) เพื่ออัญเชิญดวงวิญญาณปู่แสะย่าแสะ มีการฟ้อนบวงสรวงดวงวิญญาณ โดยชมรมช่างฟ้อน จำนวน 1 เพลง จากนั้นขบวนอัญเชิญพระบฎจากวัดป่าชี เดินทางถึงศาลปู่แสะย่าแสะ ที่ศาลปู่แสะย่าแสะ มีเจ้าภาคินัย ณ เชียงใหม่ เจ้านายฝ่ายเหนือ พร้อม นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกอบจ.เชียงใหม่ พร้อม นายธนวัฒน์ ยอดใจ นายก ทม.แม่เหียะ นำจุดธูปเทียนและถวายเครื่องบวงสรวง พร้อมเจ้านายฝ่ายเหนือ ข้าราชการประชาชน นักเรียน นักศึกษา และนักท่องเที่ยว เดินทางมาร่วมพิธีจำนวนมาก จากนั้น พ่อหนานอุทัย กาวิโล กล่าวบทสวดอัญเชิญดวงวิญญาณปู่แสะย่าแสะ ให้เป็นไปตามประเพณีที่สืบทอดกันมานานหลายร้อยปี ช่วงสายๆของวันเดียวกัน หลังจากพิธีที่เชิงดอยวัดพระธาตุดอยคำ ประกอบพิธีเสร็จสิ้น ได้เคลื่อนขบวนแห่พระบฎถึงลานเลี้ยงดง มีการฟ้อนถวายพระบฎ จากชมรมช่างฟ้อน […]

1 2 3 24