72220

จังหวัดแม่ฮ่องสอน เตรียมมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งฯ

จังหวัดแม่ฮ่องสอน เตรียมมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่สองหมู่บ้านในอำเภอปาย วันที่ 18 มีนาคม 2567 ที่สถานพยาบาลบ้านดอยผีลู ตำบลแม่นาเติง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน นายเชษฐา โมสิกรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน มอบหมายให้นายอุดมศักดิ์ ขาวหนูนา รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานการณ์หมู่บ้านที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ที่ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ในพื้นที่บ้านดอยผีลู และบ้านแม่นะ อำเภอปาย โดยได้ประชุมกับหน่วยงานต่างๆเพื่อเตรียมพร้อมมาตรการในการให้ความช่วยเหลือละบรรเทาภัยการขาดน้ำ เพื่อการอุปโภคและบริโภคของประชาชนในพื้นที่ทั้งนี้ยังได้ไปตรวจดู สภาพบ่อน้ำในหมู่บ้านผีลู ที่ใช้ในการอุปโภคและบริโภคของประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้ได้กำชับให้มีการปรับปรุงสภาพของบ่อน้ำดังกล่าว เพื่อให้พร้อมในการรองรับการใช้น้ำของงประชาชนต่อไป

อ.ดอยหลวง แล้งหนัก! วอนภาครัฐช่วยเหลือ

วันที่ 18 มี.ค. 67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย ประสบปัญหาภัยแล้ง แหล่งน้ำสาธารณะแห้งขอด ข้าวนาปรังเริ่มยืนต้นตาย เตรียมยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือจากภาครัฐ วอนเร่งพิจารณาอนุมัติงบประมาณ 4 โครงการหลัก แก้ปัญหาภัยแล้งระยะยาว นายยัง พรหมเมือง สมาชิกสภาเกษตรกร เขต อ.ดอยหลวง เผยว่า บริเวณที่ลำห้วยแม่ไร่ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสาธารณะที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของชาวบ้าน ม.1, 2, 10, 8 ต.ปงน้อย และ ม.5, 6 ต.โชคชัย ก่อนจะไหลลงแม่น้ำบง ไหลผ่าน ต.หนองป่าก่อ และไหลลงแม่น้ำกก ที่บ้านสบกก อ.เชียงแสน ทุก ๆ ปีช่วงนี้จะยังมีน้ำเพียงพอใช้ในการเกษตร แต่ปีนี้น้ำแห้งมาตั้งแต่เดือน ม.ค. แล้ว ตอนนี้ก็เลยกระทบหนัก เพราะน้ำไม่พอใช้ในการเกษตร เกษตรกรบางรายที่ลงทุนปลูกนาปรัง ตอนนี้ข้าวในนาก็เริ่มจะยืนต้นตาย เงินที่ลงทุนในการทำเกษตรหลังการทำนาปีก็คงต้องสูญเปล่า โดยเฉพาะพื้นที่ปลายน้ำ ซึ่งปีนี้ในหลายชุมชนไม่มีแหล่งน้ำเพียงพอใช้ในการผลิตน้ำประปาแล้ว ชาวนาบางรายที่เข้าร่วมทำโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน ปีนี้ระดับน้ำก็ลดอย่างน่าใจหาย หากสูบน้ำขึ้นมาใส่นาข้าว […]

นาข้าวใน อ.แม่ออน เจอภัยแล้ง ขาดแคลนน้ำกว่า 200 ไร่

วันที่ 12 มี.ค.2567 ทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 5 ชลประทานเชียงใหม่ พร้อมด้วย นายณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.พรรคก้าวไกล เชียงใหม่ เขต 3 นางวรรณา สุภาเฟย ส.อบจ.เชียงใหม่ เขต อ.แม่ออน และ อปท.ในพื้นที่ เข้าสำรวจพื้นที่ปลูกนาข้าวนาปรัง และให้ความช่วยเหลือชาวนา ต.ออนกลาง อ.แม่ออน หลังประสบภัยแล้ง ขาดแคลนน้ำหล่อเลี้ยงต้นข้าว พบพื้นที่ได้รับผลกระทบจำนวน 200 ไร่ จากพื้นที่ปลูกนาข้าว 800 กว่าไร่ มีพื้นที่เสียหายจำนวน 3 ไร่ เนื่องจากอยู่พื้นที่ห่างไกลจากแหล่งน้ำ เบื้องต้นการช่วยเหลือ สำนักงานชลประทานเชียงใหม่ สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ 1 เครื่อง หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 5 ชลประทานเชียงใหม่สนับสนุน 13,000 บาท อบจ.เชียงใหม่ สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ 1 เครื่อง และอบต.ออนกลาง สนับสนุนเชื้อเพลิงในการสูบน้ำ 200 ลิตร อบต.ออนเหนือ […]

นายกรัฐมนตรี ห่วงภัยแล้ง กระทบภาคการเกษตร และน้ำกิน น้ำใช้ของประชาชน

นายกรัฐมนตรี ห่วงภัยแล้ง กระทบภาคการเกษตร และน้ำกิน น้ำใช้ของประชาชน ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบพร้อมรับมือ และรณรงค์งดปลูกข้าวนาปรัง ด้วย ครม. เห็นชอบมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงปี 2567 โดยมอบหมายให้หน่วยงานดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว และรายงานให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ทราบ และสรุปผลการดำเนินงานรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบด้วย สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช. ได้บูรณาการทุกหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกำหนดมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเตรียมพร้อมรับมือได้ทันต่อสถานการณ์ ประกอบด้วยด้านน้ำต้นทุน (Supply) มาตรการที่ 1 เฝ้าระวังและเตรียมจัดหาแหล่งน้ำสำรองพร้อมวางแผนเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือในพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ (ก่อนและตลอดฤดูแล้ง) มาตรการที่ 2 ปฏิบัติการเติมน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ (ก่อนและตลอดฤดูแล้ง)ด้านความต้องการใช้น้ำ (Demand) มาตรการที่ 3 กำหนดแผนจัดสรรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ควบคุมการเพาะปลูกข้าวนาปรัง สร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรเตรียมน้ำสำรองสำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำนอง (ก่อนและตลอดฤดูแล้ง) มาตรการที่ 4 บริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามลำดับความสำคัญการใช้น้ำที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด (ตลอดฤดูแล้ง) มาตรการที่ 5 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ประหยัดน้ำและลดการสูญเสียน้ำในทุกภาคส่วน (ก่อนและตลอดฤดูแล้ง) มาตรการที่ […]

WMO เตือน!! อีก 4 ปี โลกเตรียมรับมืออากาศร้อน

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้ช่วยผู้จัดการอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. กล่าวว่า จากรายงานการจับตาทิศทางสุขภาพคนไทยปี 2566 (Thaihealth Watch 2023) 1 ใน 7 ทิศทางสุขภาพคนไทยที่ต้องเตรียมตัวรับมือ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีแนวโน้มส่งผลกระทบทางสุขภาพไปทั่วโลก                     สสส. สานพลัง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สำนักจัดการป่าชุมชน กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และภาคีเครือข่ายป่าชุมชน จัดงานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “ป่าชุมชน ทางรอดสุดท้าย รับมือวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” สะท้อนภาพการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพผ่านมิติการอยู่ร่วมกันของชุมชนกับป่าอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ติดตามข้อมูล Thaihealth Watch ได้ที่เว็บไซต์ https://resourcecenter.thaihealth.or.th/thaihealth-watch นางเบญจมาภรณ์ กล่าว “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ-ลานีญาในหลายประเทศ ในช่วงหน้าร้อนในไทยอากาศก็ร้อนมากขึ้น เกิดภัยแล้งในภาคการเกษตรที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหาร หน้าฝนก็น้ำท่วมเพิ่มขึ้น หรือในช่วงหน้าหนาวก็เริ่มหายากขึ้น ทั้งหมดนี้มาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเกินไป ถึงเวลาที่ต้องดูแลสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น […]

ไทยเผชิญ “เอลนีโญ” กระทบเศรษฐกิจ-ภาคเกษตร 4.8 หมื่นล้าน

หนึ่งความท้าทายของเศรษฐกิจไทยในปี 2566 คือ การที่ประเทศไทยและทั่วโลก กำลังเผชิญกับสภาวะโลกร้อน หรือ Climate Change ที่ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ โดยประเทศไทยได้เริ่มเข้าสู่ปรากฏการณ์เอลนีโญแล้วตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่องจนถึงเมื่อไหร่ แต่สิ่งที่ประเทศไทยกำลังจะเผชิญในอนาคตอันใกล้ คือ เรื่องของภัยแล้ง ที่อาจจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจากข้อมูล ณ ขณะนี้ ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่ประสบกับสถานการณ์น้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้อย หรือน้อยจนเข้าขั้น ได้แก่ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ประเมินผลกระทบในขั้นแรก คาดว่าจะกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรอาจคิดเป็นมูลค่าราว 4.8 หมื่นล้านบาทในปี 2566 ส่วนผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม หลักๆ จะกระทบกับอุตสาหกรรมอโลหะ เช่น แก้ว กระเบื้อง และซีเมนต์ ขณะที่อุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบอีก 2 อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรหรืออาหาร และอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งถ้าหากประเทศไทย เผชิญภาวะขาดแคลนน้ำรุนแรง รัฐบาลอาจจะต้องพิจารณาให้มีการลดกำลังการผลิตลง นอกจากนี้ อุตสาหกรรมที่อาจจะได้รับผลกระทบด้วย ได้แก่ อุตสาหกรรมบริการ เช่น กลุ่มโรงแรม […]

(มีคลิป) สู่วิกฤต!! ระดับน้ำทะเลสาบดอยเต่า ลดลงเรื่อยๆ

เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2566 ที่ทะเลสาบดอยเต่า อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่ แหล่งท่องเที่ยวชื่อดัง ในช่วงนี้ระดับน้ำลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากฝนทิ้งช่วง และประกอบกับทางเขื่อนภูมิพลได้ปล่อยน้ำเพื่อให้เกษตรกรท้ายน้ำ ได้ใช้น้ำเพื่อการเกษตรกรรม ทำให้ระดับน้ำทะเลสาบดอยเต่าลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้ร่นห่างจากฝั่งไปร่วม 1 กิโลเมตร เมื่อระดับน้ำทะเลสาบดอยเต่า ลดระดับลงเช่นนี้ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผู้ประกอบการเรือนแพ บางหลังเริ่มติดฝั่งเคลื่อนย้ายไปไหนไม่ได้ ส่วนชาวประมงน้ำจืดที่มีเรือนอยู่ริมน้ำต้องย้ายเรือนแพถอยร่นไปไกล การหาปลาก็หายากขึ้นได้ปลาแค่ตัวเล็กเท่านั้น การทำมาหากินก็ยากลำบากขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะต้องรอรอ ”น้ำฝน” ที่จะโปรยปรายลงมาเติมเต็มน้ำเท่านั้น

(มีคลิป) มทบ.38 ร่วมรับฟังและลงพื้นที่ ตรวจปัญหาปลาตาย

มทบ.38 ร่วมรับฟังและลงพื้นที่ ตรวจปัญหาปลาตายเป็นจำนวนมาก มีมติให้มีการตกสระ เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 66 เวลา 09.00 น. ณ อ่างห้วยน้ำยาง อ.สันติสุข จ.น่าน หลังจากที่ พล.ต.คณิศร อาสมะ ผบ.มทบ.38 โดย นายหาญชัย ไชยวงค์ นายอำเภอสันติสุข มอบหมายให้ น.ส.จุฑาทิพย์ พานพบ ปลัดอำเภอ ลงพื้นที่รับฟังปัญหาปลาเป็นจำนวนมาก ในอ่างห้วยน้ำยางน็อคน้ำตาย ที่บ้านป่าแลว ต.ป่าแลวหลวง อ.สันติสุข จ.น่าน ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่ว พบว่าสาเหตุเนื่องมาจากน้ำในอ่างมีปริมาณน้อย และน้ำมีอุณภูมิสูง ประกอบกับมีฝนตก ทำให้ปลาในน้ำไม่สามารถปรับตัวได้ ทั้งนี้ได้มีการประชาคมหมู่บ้าน ณ หอประชุมหมู่บ้าน บ้านดอนอภัย หมู่ที่ 3 โดย คณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 ,2 ,3 และ 9 […]

(มีคลิป) กรมทหารพรานที่ 32 นำรถน้ำ แจกจ่ายน้ำช่วยเหลือ ปชช.

“กรมทหารพรานที่ 32 นำรถน้ำของหน่วย แจกจ่ายน้ำช่วยเหลือประชาชนประสบภัยแล้ง ในพื้นที่จังหวัดน่าน” เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 66 เวลา 09.00-12.00 น. กรม ทพ.32 จัดกำลังพลพร้อมกับรถบรรทุกน้ำ ดำเนินการแจกจ่ายน้ำให้กับประชาชนที่ขาดแคลนน้ำใช้ในการอุปโภค บริโภค ในโครงการ “ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจ ช่วยภัยแล้ง” ประจำปี 2566 ในพื้นที่ บ.ปัวชัย ต.ฝายแก้ว อ.ภูเพียง จว.น.น. จำนวน 4 ครัวเรือน, ที่ทำการประปาหมู่บ้าน​ปัวชัย และ บ.ปางค่า ต.ไชยสถาน​ อ.เมืองน่าน จว.น.น. จำนวน 1 ครัวเรือน ในการนี้ได้นำน้ำไปแจกจ่ายรวมทั้งสิ้น จำนวน 12,000 ลิตร โดยได้รับการสนับสนุนน้ำจากการประปาส่วนภูมิภาค สาขา น่าน

(มีคลิป) กว๊านพะเยาแห้งขอด ชาวบ้านรับจ้างพายเรือเดือดร้อน

เมื่อวันที่ 27 เม.ย. 66 จากสภาพภัยแล้งในปัจจุบันนี้ ส่งผลทำให้น้ำกว๊านพะเยาแห้งขอดอีก ทั้งยังกระทบกับชาวบ้านในพื้นที่ชุมชนวัดศรีอุโมงค์คำ ซึ่งประกอบอาชีพแจวเรือ โดยล่าสุดพบว่าหลังเจอสภาพเหตุ การณ์น้ำกว๊านลดอย่างต่อเนื่อง ก็ไม่สามารถรับส่งพานักท่องเที่ยวไปทำบุญวัดกลางน้ำวัดติโลกอารามได้ นายสุทัศน์ ประทุมวงศ์ วัย 65 ปี ซึ่งยึดอาชีพแจวเรือรับส่งนักท่องเที่ยวไปทำบุญที่วัดกลางกว๊านพะเยา(วัดติโลกอาราม)เล่าว่ากว่าหนึ่งอาทิตย์แล้วที่ไม่มีรายได้ให้กับครอบครัวเลย เนื่องจากน้ำในกว๊านขณะนี้ตื้นเขินไม่สามารถนำเรือพานักท่องเที่ยวไปทำบุญที่วัดกลางกว๊านพะเยาได้เหมือนแต่ก่อน ทั้งนี้ตนเองอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลหารือ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ให้กับชาวบ้านอย่างเร่งด่วน อีกทั้งอยากจะให้ทางการช่วยนำรถแบคโฮมาช่วยขุดลอก เพื่อที่จะได้นำเรือเข้าออกไปเส้นทางรับนักท่องเที่ยวได้ตามปกติ รวมไปถึงจะได้ทำมาหากินและหารายได้เลี้ยงครอบครัวได้ตามปกติอย่างเช่นเมื่อก่อน ทั้งนี้ชาวบ้านชุมชนวัดศรีอุโมงค์คำ ขอวิงวอนให้ผู้บริหารของจังหวัดพะเยา เข้ามาดูแลพื้นที่ท่องเที่ยวโดยเฉพาะท่าเรือกว๊านพะเยาที่ชาวบ้านเดือดร้อนหนัก ซึ่งเวลานี้เรือแจวกว่า 10 ลำ แนบนิ่งสนิทไม่สามารถนำเรือพายออกมารับจ้างรับนักท่องเที่ยวไปไหว้พระเก่ากลางกว๊านพะเยา อีกทั้งยังส่งผลให้ไม่มีรายได้ไปจุนเจือกับครอบครัวจากการรับจ้างพายเรือพานักท่องเที่ยว ไปไหว้พระเก่ากลางกว๊านพะเยาได้อย่างแต่ก่อนเก่ามา

(มีคลิป) กว๊านพะเยา วิกฤตภัยแล้งอย่างหนัก

กว๊านพะเยา วิกฤตภัยแล้งอย่างหนัก เดือดร้อนไปตามๆ กัน เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2566 มีรายงานข่าวจาก จ.พะเยา ว่าในขณะนี้กว๊านพะเยา ชึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ เป็นอันดับหนึ่งของภาคเหนือ และอันดับ 4 ของประเทศไทย มีน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค เพาะปลูกพืชต่างๆ สำหรับผู้อาศัยอยู่ท้ายน้ำ ในกว๊านพะเยายังเป็นที่อยู่อาศัยของพันธุ์ปลาถึง 45 ชนิด ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของปลาในกว๊านพะเยา จึงเป็นแหล่งผลิตปลาส้มรายใหญ่ที่ลือชื่อ สร้างรายได้ให้กับชาวพะเยา ด้วยทัศนีย์ภาพของกว๊านพะเยา จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดัง ในขณะนี้ได้ประสบปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรง กลายเป็นเกาะแก่งมีสันดอนโผล่ สัตว์น้ำแห้งตายเป็นจำนวนมาก และส่งผลกระทบต่อชาวประมงน้ำจืด ต้องขุดโคลนเป็นร่องน้ำเพื่อนำเรือออกไปหาปลาที่อยู่ไกลห่างจากฝั่ง เมื่อระดับน้ำจากภาวะภัยแล้ง ยังส่งผลกระทบต่อชาวนาที่อาศัยอยู่ลุ่มน้ำขาดน้ำไปเลี้ยงต้นข้าว ส่วนผู้ประกอบการร้านค้าร้านอาหารที่เปิดบริการให้กับนักท่องเที่ยว ต่างก็ได้รับผลกระทบเนื่องจากไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยว ต่างก็เดือดร้อนไปตามๆ กัน

ลำปาง แจกจ่ายน้ำสะอาด ช่วยเหลือ ปชช.ต้านภัยแล้ง

จิตอาสาต้านภัยแล้ง แจกจ่ายน้ำสะอาดช่วยเหลือประชาชน บ้านห้วยยาง ต.เสด็จ อ.เมืองลำปาง วันที่ 26 เมย.2566 เวลา 1030 พล.ต.พรชัย นพรัตน์ ผบ.มทบ.32/ผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานมณฑลทหารบกที่ 32 มอบหมายให้ พ.อ.บรรจง คะวงศ์ดอน รองเสนาธิการมณฑลทหารบกที่ 32 /วิทยากรจิตอาสา 904 และจิตอาสาพระราชทาน มทบ.32 ,ชป.กร.มทบ.32 นำรถบรรทุกน้ำสะอาด ร่วมกับ ทต.เสด็จ และประชาชาชนจิตอาสา นำน้ำประปาสะอาดแจกจ่ายให้ประชาชนบ้านห้วยยาง ต.เสด็จ อ.เมืองลำปาง จำนวน 18,000 ลิตร โดยทางหมู่บ้าน มี จำนวน 192 กว่าครัวเรือน ขาดแคลนน้ำ อุปโภค-บริโภค โดยประชาชน มีความเดือดร้อน จากปัญหาภัยแล้ง ซึ่งระบบประปาหมู่บ้านไม่เพียงพอ ต่อประชาชนในหมู่บ้าน โดยระบบประปาหมู่บ้าน ทำจากการขุดเจาะน้ำบาดาลมาใช้ ซึ่งในช่วงฤดูร้อน ระบบน้ำใต้ดินแห้งขอด ไม่สามารถสูบมาใช้ทำระบบประปาของหมู่บ้านได้ ทำให้ได้รับความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ โดยการช่วยเหลือดังกล่าว สร้างความสุข […]

ศบภ.มทบ.38 ออกช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยแล้ง

ศบภ.มทบ.38 ออกช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยแล้ง #ราษฎร์รัฐร่วมใจต้านภัยแล้ง เมื่อวันที่ 15 เม.ย.66 เวลา 1300 ผบ.มทบ.38/ผบ.ศบภ.มทบ.38 มอบหมายให้ ชป.จิตอาสาบรรเทาสาธารณภัย พร้อมรถบรรทุกน้ำ จำนวน 6,000 ลิตร ลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาภัยแล้งขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ให้กับราษฎรบ้านนามน ณ จุดรองรับน้ำ(ส่วนรวมหมู่บ้าน) อารามสงฆ์ศรีนามน บ.นามน ต.บ่อสวก อ.เมืองน่าน จ.น่าน เพื่อการบรรเทาความเดือดร้อนในห้วงเทศกาลสงกรานต์ และฤดูแล้งนี้ กิจกรรมเป็นไปตามนโยบายกองทัพบกช่วยเหลือประชาชน #ทหารเป็นที่พึ่งของประชาชนในทุกโอกาส

(มีคลิป) ฟื้นประเพณีแห่นางแมว ต.สบสาย ฝนไม่ตกอากาศร้อน

ชาว ต.สบสาย 4 หมู่บ้านทนไม่ไหว ฝนไม่ตกอากาศร้อนฟื้นประเพณีแห่นางแมวขอฝน เมื่อเวลา 19.00 น. คืนวันที่ 12 เม.ย 66 ชาวบ้านสบสาย ม.1 ม.2 ม.5 และ ม.6 ต.สบสาย อ.สูงเม่น จ.แพร่ ร่วมกันแห่นางแมวขอฟ้า ขอฝน ไปรอบหมู่บ้าน ซึ่งขบวนแห่นางแมวขอฝน เริ่มขบวนมาจากลำน้ำยม หลังเสร็จพิธีอาราธนาพระมหาอุปคุต ลงคืนน้ำยม หลังจากเสร็จงานฉลองซุ้มประตู และฉลองบูรณะพระอุโบสถวัดสบสาย แล้วเสร็จไปด้วยดี จึงต่อด้วยการแห่นางแมวขอฟ้าขอฝนของชาวบ้านสบสาย ที่ไม่ได้ทำมานานแล้ว เนื่องจากอากาศร้อนจัดฝนไม่ตกมานาน จึงได้แห่นางแมว โดยนำแมวจำลองสามตัว เป็นตุ๊กตาแมวใส่กรง นำไปอาบน้ำยม เป็นเคล็ดก่อนแห่ไปรอบหมู่บ้าน โดยมีชาวบ้านรอสาดน้ำใส่แมวและขบวนแห่ จนแห่รอบหมู่บ้านกว่าสองชั่วโมง พิธีแห่นางแมวขอฟ้าขอฝนจึงแล้วเสร็จถึงอย่างไรฝนก็ยังไม่ตกอากาศยังคงร้อนอยู่

เพาะปลูกฤดูแล้งทะลุเกินแผน​ ปลูกแล้ว​ 104%

เพาะปลูกฤดูแล้งทะลุเกินแผน​ ปลูกแล้ว​ 104% ผส.ชป.1 ย้ำให้ติดตามการจัดสรรน้ำตามแผนใกล้ชิด​ แม้น้ำจะมากกว่าปีที่แล้ววอนประชาชนเกษตรกรใช้น้ำอย่างประหยัด สำนักงานชลประทานที่ 1 ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ในรูปแบบการประชุมทางไกลผ่านระบบเครือข่าย Video Conference วันที่ 11 เมษายน 2566 เวลา 10.00 น. นายสุดชาย พรหมมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 (ผส.ชป.1) พร้อมด้วย นายจิรชัย พัฒนพงศา หัวหน้าฝ่ายบริหารจัดการน้ำ นายปราณด์ จรมาศ หัวหน้าฝ่ายประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ นายพงศ์สวัสดิ์ มังคละ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการเครื่องจักรกล และยานพาหนะ หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทานโครงการฯ และเจ้าหน้าที่ศูนย์อุทกวิทยาชลประทานภาคเหนือตอนบน ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ในรูปแบบการประชุมทางไกลผ่านระบบเครือข่าย Video Conference โดยมี นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีฝ่ายบำรุงรักษา ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา เป็นประธานการประชุม รับสัญญาณจากห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ กรมชลประทาน สามเสน กรุงเทพมหานคร มายังห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ สำนักงานชลประทานที่ 1 (SWOC1) […]

พะเยา “ไฟป่า – น้ำกว๊านแล้ง” ชาวบ้านวอนภาครัฐช่วยเหลือ

พะเยาอ่วม “ไฟป่า – น้ำกว้านแล้ง” ชาวบ้านวอนภาครัฐช่วยเหลือเร่งด่วน เมื่อวันที่ 28 มี.ค.2566 ขณะนี้ในพื้นที่ของ อ.เชียงคำ จ.พะเยา หลายจุดได้เกิดไฟป่าโหมกระหน่ำในหลายจุด โดยชาวบ้านในพื้นที่ ต.ร่มเย็น ต.แม่ลาว เริ่มเดือดร้อนกันอย่างหนักเพราะวิกฤตไฟป่าดังกล่าวได้ทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5 อย่างหนัก โดยชาวบ้านในพื้นที่บางรายต้องทำแนวกันไฟเพื่อไม่ให้ไฟป่าไหม้เข้ามาถึงสวนยางพาราและสวนลำไย อีกด้านกว้านพะเยาในช่วง 1 – 3 อาทิตย์ที่ผ่านมานั้นก็ได้เกิดวิกฤตน้ำเริ่มแห้งขอดอย่างรวดเร็วจนเห็นพื้นดินอย่างชัดเจน โดยชาวบ้านในพื้นที่ดังกล่าวต่างกังวลว่าหากยังไม่มีการแก้ไขก็อาจจะทำให้เกิดวิกฤตภัยแล้งหนักเหมือนปี 59 ที่ผ่านมา นายธวัช จรัสวรภัทร นายอำเภอเชียงคำ กล่าวว่า ช่วงนี้ที่เกิดไฟป่านั้นทั้งเจ้าหน้าที่ อช.ภูซาง อช.ถ้ำสะเกิน ผู้นำชุมชน อาสาสมัครดับไฟป่าได้เริ่มทำงานกันอย่างหนัก ด้วยเพราะเวลานี้ได้มีการลักลอบเผาป่าเกิดขึ้น โดยส่วนใหญ่จะเริ่มได้ในเวลาค่ำทำให้การทำงานเป็นไปด้วยความยากลำบาก อีกทั้งในเส้นทางของการดับไฟป่านั้นพบว่าการเดินทางเข้าไปควบคุมไฟป่าเป็นไปด้วยความยากลำบากด้วย ทั้งนี้ตนเองได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยออกช่วยกันแก้ปัญหาในเวลานี้ไปก่อนและตนเองกำลังเตรียมร่างข้อบังคับในการห้ามเผาให้ในหลายหมู่บ้านนำไปปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดด้วย ซึ่งเมื่อคืนที่ผ่านมานั้นไฟป่าได้โหมกระหน่ำบริเวณดอยคำของ ต.ร่มเย็นด้วยและอีกทั้งยังเกิดในภาคเวลากลางคืนจึงทำให้เจ้าหน้าที่และชาวบ้าน อาสาสมัครต้องช่วยกันดับไฟอย่างเร่งด่วน ด้านนายปาโมกข์ ปิงเมือง ผอ.โครงการชลประทานพะเยา ได้กล่าวถึงเรื่องระดับน้ำในกว้านพะเยาว่า หลังจากที่พบว่าชาวบ้านในพื้นที่ อ.เมืองพะเยา ต่างเดือดร้อนในเรื่องของที่ระดับน้ำกว้านนั้นแห้งไปอย่างรวดเร็วและเกรงว่าอาจจะเกิดภาวะภัยแล้งตามมา ซึ่งล่าสุดทาง ว่าที่ ร.ต.ณรงค์ โรจนโสทร […]

(มีคลิป) เชียงดาว ร่วมพัฒนาแหล่งน้ำสร้างฝายชั่วคราวแก้แล้งนี้

27 มีนาคม 2566 การพัฒนาปรับปรุงสภาพพื้นดินปลูกหญ้าเพื่อเป็นแหล่งพักผ่อนและท่องเที่ยวออกกำลังกายและทำฝายกั้นน้ำปิงแก้ปัญหาภัยแล้งมาเยื่อนในหน้าแล้งนี้เป็นการแสดงออกถึงความพร้อมเพียงความรักสามัคคีป้องดองในหมุ่บ้านและส่วนเทศบาลฯ โดยทีมงานนายประพิศ อุยคำ นายกเทศมนตรีเชียงดาวพร้อมคณะผู้บริหารกองช่างและชาวบ้านหมู่ที่ 7 ตำบลเชียงดาว จำนวน 100 คน ร่วมสามัคคีกันสร้างชุมชนเข็มแข็งปรับปรุงสวนหย่อมหน้าดินวางท่อสูบน้ำส่งน้ำติดสปิงเกอร์บำรุงหน้าดินเพิ่มความชุมฉ่ำเหมาะกับการใช้เป็นที่ออกกำลังกาย พักผ่อนคลายร้อนและออกกำลังกาย และยังเตรียมจัดกิจกรรมกิจกรรมงานสืบชะตาน้ำปิงในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะถึง การสร้างฝายชั่วคราวแก้ภัยแล้งสามารถสูบน้ำใช้กับการเกษตรกรรมในพื้นที่หมู่ 7 และเป็นสถานที่เล่นน้ำในช่วงสงกรานต์ พอถึงหน้าฝนก็จะเข้าสู่ปกติมีน้ำใช้ทั่วไป

ไฟป่าจากประเทศเพื่อนบ้านลามขึ้นยอดดอยภูชี้ฟ้า

ไฟป่าจากประเทศเพื่อนบ้านลามขึ้นยอดดอยภูชี้ฟ้า ระดมกำลังควบคุมไฟนาน 12 ชม. เสียหาย 5 ไร่ เมื่อเวลาประมาณ 08.00 – 18.00 น. วันที่ 23 มี.ค. 65 เกิดไฟป่าลุกลามมาจากฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน ข้ามมายังยอดดอยภูชี้ฟ้า อ.เทิง ด้านทิศตะวันออกของบ้านร่มฟ้าไทย ม.24 ต.ตับเต่า อ.เทิง จ.เชียงราย ที่พิกัด 47 Q 0652183UTM 2195538 นายสราวุธ ค้อมคำพันธ์ หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าภูชี้ฟ้าอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สบอ.15) จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ในสังกัด ไปร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติภูชี้ฟ้า(เตรียมการ) เจ้าหน้าที่หน่วยจัดการต้นน้ำหงาว-งาว และเครือข่ายการแก้ปัญหาไฟป่าและหมอกควันบ้านร่มฟ้าไทย รวมประมาณ 20 คน ร่วมกันควบคุมไฟป่าดังกล่าว เจ้าหน้าที่และเครือข่ายควบคุมไฟป่าใช้เวลาควบคุมเพลิงนานประมาณ 12 ชั่วโมง จึงสามารถควบคุมเพลิงเอาไว้ได้ เบื้องต้นพบความเสียหายประมาณ 5 ไร่ สาเหตุในเบื้องต้นพบว่าเป็นไฟป่าที่ลุกลามมาจากประเทศเพื่อนบ้าน คาดว่าเป็นการจุดไฟเพื่อเผาวัชพืชทางการเกษตร หรือเผาเพื่อให้หญ้าออกใหม่เพื่อเป็นอาหารให้วัวควายที่เลี้ยงไว้ นายสราวุธ ค้อมคำพันธ์ หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าภูชี้ฟ้าอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สบอ.15) […]

(มีคลิป) ”กว๊านพะเยา” วิกฤตน้ำแห้งขอด สันดอนโผล่

เมื่อวันที่ 22 มี.ค.66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์น้ำกว๊านพะเยาเกิดวิกฤตอย่างหนัก อาจจะกระทบกับเทศกาลสงกรานต์ในเดือนเมษายน หาน้ำสาดได้ลำบาก ขณะที่นักท่องเที่ยวแห่ถ่ายภาพบริเวณน้ำกว๊านที่แห้ง เพราะไม่เคยเห็นมาก่อน ทั้งนี้สภาพน้ำในกว๊านพะเยาแห้งแล้งอย่างเห็นได้ชัดเจน ชาวบ้านหวั่นจะเกิดวิกฤตภัยแล้งเหมือนปี 2559 ซึ่งล่าสุดมีปริมาณน้ำ 5.781 ล้าน ลบ.ม.จากมีปริมาณน้ำกักเก็บรวม 55.65 ล้านลบ.ม.จากความจุที่ระดับกักเก็บ 10.38 ล้าน ลบ.ม. ทำให้บริเวณริมฝั่งและบางจุดของกว๊านพะเยาแห้งจนเห็นพื้นดินได้อย่างชัดเจน จนสามารถลงเดินไปทำกิจกรรมต่างๆ ได้ ขณะที่ภาคส่วนราชการได้ประสานความร่วมมือทั้ง องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา เทศบาลเมืองพะเยาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้นำเครื่องจักรกลทำการเร่งขุดลอกเนินดินที่ตื้นเขิน บริเวณหน้ากว๊านพะเยาเพื่อนำดินโคลนออก และนำสิ่งของต่างๆที่เป็นขยะในกว๊านพะเยาออก เพื่อต้องการรองรับน้ำในบริเวณริมกว๊านพะเยา และการเล่นน้ำสงกรานต์ในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ สำหรับน้ำกว๊านพะเยายังคงใช้ได้จนถึงพฤษภาคม ซึ่งแผนรองรับวิกฤตภัยแล้งก็จะมีการเร่งเติมน้ำจากอ่างแม่ต๋ำและอ่างแม่ปืม ปล่อยให้ไหลลงมาเข้ากว๊านพะเยาเพิ่มตลอด ส่วนในด้านการเกษตรได้งดการเปิดปิดประตูระบายน้ำตรงบริเวณท้ายแม่น้ำอิง เพื่อที่จะรักษาปริมาณน้ำไว้ ใช้ในการอุปโภค-บริโภคในช่วงฤดูแล้งนี้ ซึ่งจะประมาณการใช้น้ำได้ถึงเดือนพฤษภาคม 2566

1 2 3 4 5 10