72222

‘แผ่นดินไหว’ ในไต้หวัน ทำตึกทรุดเอียง ถนนปิดสัญจร

ประมวลภาพความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวในเกาะไต้หวันของจีน ซึ่งส่งผลให้ท้องถนนบางส่วนถูกปิดกั้นการจราจร ขณะตึกที่ทรุดเอียงเสียหายจะถูกรื้อถอนออก.อนึ่ง ศูนย์เครือข่ายแผ่นดินไหวแห่งประเทศจีน (CENC) รายงานเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.3 ตามมาตราแมกนิจูดเขย่าพื้นที่ทะเลใกล้อำเภอฮวาเหลียน ตอน 07.58 น. ของวันพุธ (3 เม.ย.) ตามเวลาปักกิ่ง ซึ่งทำให้เกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกหลายครั้ง.เหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 10 ราย และบาดเจ็บ 1,067 รายแล้ว อีกทั้งพบผู้ติดค้างในพื้นที่ประสบภัย 660 ราย และสูญหาย 38 ราย นับถึง 21.00 น. ของวันพฤหัสบดี (4 เม.ย.).(บันทึกภาพวันที่ 5 เม.ย. 2024)

ไต้หวันเผชิญ ‘แผ่นดินไหว’ รุนแรง 7.3 แมกนิจูด เฝ้าระวัง ‘สึนามิ’ ระดับสูงสุด

ศูนย์เครือข่ายแผ่นดินไหวแห่งประเทศจีน รายงานเหตุแผ่นดินไหว ขนาด 7.3 ตามมาตราแมกนิจูด บริเวณน่านน้ำใกล้กับเมืองฮวาเหลียนบนเกาะไต้หวัน ตอน 07.58 น. ของวันพุธ (3 เม.ย.) ตามเวลาปักกิ่ง รายงานระบุว่าจุดศูนย์กลางการสั่นไหวอยู่ที่ละติจูด 23.81 องศาเหนือ และลองติจูด 121.74 องศาตะวันออก ณ ความลึก 12 กิโลเมตร กลุ่มผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวซินหัวในเมืองไทเปเผชิญการสั่นสะเทือนรุนแรง โดยอาคารสั่นไหวอย่างต่อเนื่องนานมากกว่าหนึ่งนาที และลิฟต์ของอะพาร์ตเมนต์ของกลุ่มผู้สื่อข่าวถูกระงับการใช้งาน สื่อท้องถิ่นรายงานว่าหลายพื้นที่ของไต้หวันสามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนจากเหตุแผ่นดินไหว ด้านระบบรถไฟใต้ดินของไต้หวันระงับการเดินรถนาน 40-60 นาที ด้านหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาของไต้หวันระบุว่าเกิดเหตุแผ่นดินไหว ขนาด 7.2 ตามมาตราแมกนิจูด ตอน 07.58 น. ของวันพุธ (3 เม.ย.) ณ ความลึก 15.5 กิโลเมตร โดยจุดศูนย์กลางอยู่ห่างจากตอนใต้-ตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐบาลอำเภอฮวาเหลียนราว 25 กิโลเมตร และความรุนแรงสูงสุดอยู่ที่ 6 ตามมาตราแมกนิจูดในอำเภอฮวาเหลียน หลังจากนั้นเกิดอาฟเตอร์ช็อกหรือแผ่นดินไหวตาม โดยศูนย์ฯ รายงานว่าแผ่นดินไหวอีก 2 ครั้ง […]

สถานการณ์แผ่นดินไหวในช่วงวันที่ 31 มีนาคม – 1 เมษายน 2567

ตรวจพบเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 2.8 มีศูนย์กลางอยู่ที่ ต.ป่าไผ่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ได้รับแจ้งรู้สึกสั่นไหวบริเวณ อ.สันทราย, อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ,ขนาด 3.0 มีศูนย์กลางอยู่ที่ ต.เวียง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ มีแผ่นดินไหวตามจำนวน 1 ครั้ง ขนาด 1.7 มีศูนย์กลางอยู่ที่ ต.เวียง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

สถานการณ์แผ่นดินไหวในช่วงวันที่ 16-17 มีนาคม 2567

สำหรับสถานการณ์แผ่นดินไหวในช่วงวันที่ 16-17 มีนาคม 2567 ตรวจพบเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 5.3 มีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเวียดนาม ขนาด 4.3 มีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเวียดนาม ขนาด 2.1 มีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเมียนมา และขนาด 2.0 มีศูนย์กลางอยู่ที่ต.ป่าหุ่ง อ.พาน จ.เชียงราย ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทยแต่อย่างใด

สถานการณ์แผ่นดินไหว ในช่วงวันที่ 13-14 มีนาคม 2567

สำหรับสถานการณ์แผ่นดินไหว ในช่วงวันที่ 13-14 มีนาคม 2567 ตรวจพบเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 4.4 มีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเมียนมา และขนาด 1.5 มีศูนย์กลางอยู่ที่ ต.แสนไห อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทยแต่อย่างใด

เกิดแผ่นดินไหว 5 ครั้ง อ.ปาย ชาวบ้านรับรู้แรงสั่นสะเทือน

เกิดแผ่นดินไหว 5 ครั้ง อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ชาวบ้านรับรู้แรงสั่นสะเทือน เผย แรงสุดขนาด 3.4 ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ระบุ สาเหตุจากการเลื่อนตัวของกลุ่มรอยเลื่อนเวียงแหง วันที่ 28 ก.พ.67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานเหตุแผ่นดินไหวขนาด 3.4 ระดับความลึก 3 กิโลเมตร บริเวณ ต.แม่นาเติง อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อเวลา 01.28 น.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ประชาชนใน ต.เวียงใต้ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว แต่ยังไม่มีรายงานความเสียหาย นอกจากนี้ กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหวยังระบุว่า อ.ปาย ยังเกิดแผ่นดินไหวอีก 4 ครั้งตามมา เวลา 01.36 น. ขนาด 2.7ระดับความลึก 1 กิโลเมตร ศูนย์กลาง ต.เวียงเหนือ อ.ปาย, เวลา 01.40 […]

แผ่นดินไหวในช่วงวันที่ 25-26 กุมภาพันธ์ 2567

สถานการณ์แผ่นดินไหวในช่วงวันที่ 25-26 กุมภาพันธ์ 2567 ตรวจพบเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 3.8 มีศูนย์กลางอยู่ที่ตอนเหนือของหมู่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ขนาด 2.2 มีศูนย์กลางอยู่ที่ ต.ป่าหุ่ง อ.พาน จ.เชียงราย และขนาด 1.6 มีศูนย์กลางอยู่ที่ ต.แม่นาเติง อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทยแต่อย่างใด

แผ่นดินไหว 3.0 อ.ไชยปราการ ยังไม่มีรายงานความเสียหาย

ผู้สื่อข่าว จ.เชียงใหม่ ได้รับรายงานจากกองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา เกิดแผ่นดินไหว วันที่ 14 ก.พ. 2567 เวลา 11:53 น. ที่ ต.ศรีดงเย็น อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ (19.584N,99.178E)ขนาด 3.0 ลึก 5 กม. เบื้องต้นยังไม่มีการรายงาน แจ้งการรับรู้สั่นไหว อยู่ระหว่างการตรวจสอบความเสียหาย ในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ 4 อำเภอ ประกอบด้วย อ.ไชยปราการ อ.ฝาง อ.แม่อาย อ.เชียงดาว เข้าตรวจสอบสถานสำคัญ ทางพระพุทธศาสนาในเขตรับผิดชอบ เพื่อสำรวจความเสียหายจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ เบื้องต้นยังไม่พบรายงานความเสียหาย

ระทึก! แผ่นดินไหวขนาด 2.7 จุดศูนย์กลางอยู่กลางตัวเมืองเชียงใหม่

ระทึก! แผ่นดินไหวขนาด 2.7 ลึกลงไปใต้ดิน 5 กิโลเมตร โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่กลางตัวเมืองเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 11 ก.พ.2567 มีรายงานจากจังหวัดเชียงใหม่แจ้งว่า กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งว่า เมื่อเวลา 13.56 น.วันนี้ ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.7 ลึกลงไปใต้ดิน 5 กิโลเมตร โดยมีศูนย์กลางอยู่ในตำบลวัดเกต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเบื้องต้นมีผู้อยู่อาศัยอาคารบ้านเรือนในพื้นที่ตำบลสุเทพและตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ แจ้งว่า รับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือน อย่างไรก็ตามไม่มีรายงานว่าเกิดความเสียหาย ขณะที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ รายงานว่า เบื้องต้นได้ตรวจสอบข้อมูลพื้นที่บริเวณอำเภอเมืองเชียงใหม่และอำเภอใกล้เคียง ทราบว่ามีประชาชนผู้อยู่อาศัยตามอาคารบ้านเรือนรับรู้ได้ถึงความสั่นสะเทือน รวมทั้งรู้สึกเพียงเล็กน้อยเท่านั้นหรือไม่รู้สึกเลย และยังไม่ได้รับรายงานถึงความเสียหายแต่อย่างใด ทั้งนี้รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า เมื่อเวลา 16.30 น.นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิ์ถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยนายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่, นายศิวะ ธมิกานนท์ ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ และนายอารุณ ปินตา หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งผู้เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่วัดเกตการาม ตำบลวัดเกต […]

สถานการณ์แผ่นดินไหวในช่วงวันที่ 25-26 มกราคม 2567

สำหรับสถานการณ์แผ่นดินไหวในช่วงวันที่ 25-26 มกราคม 2567 ตรวจพบเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 2.9 มีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเมียนมา และขนาด 1.5 มีศูนย์กลางอยู่ที่ ต.มะเขือแจ้ อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทยแต่อย่างใด

จีนจัดสรรงบฯ 30 ล้านหยวน บรรเทาแผ่นดินไหวในซินเจียง

ปักกิ่ง, 24 ม.ค. (ซินหัว) — จีนได้จัดสรรเงินทุนบรรเทาภัยพิบัติรวม 30 ล้านหยวน (ราว 152 ล้านบาท) หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.1 ตามมาตราแมกนิจูด ในอำเภออูสือ แคว้นอาเค่อซู เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เมื่อวันอังคาร (23 ม.ค.)เงินทุนดังกล่าวซึ่งร่วมจัดสรรโดยกระทรวงการคลังและกระทรวงการจัดการเหตุฉุกเฉิน จะถูกนำไปใช้สนับสนุนงานบรรเทาภัยพิบัติและงานกู้ภัยฉุกเฉิน โดยจะมุ่งเน้นการค้นหาและการกู้ภัย การโยกย้ายที่อยู่ของผู้ที่ได้รับผลกระทบ การตรวจหาภัยพิบัติที่อาจเกิดตามมา การซ่อมแซมบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย รวมถึงในด้านอื่นๆอนึ่ง ทางการรายงานยอดผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งนี้อยู่ที่ 3 ราย และได้รับบาดเจ็บอีก 5 ราย(แฟ้มภาพซินหัว : เจ้าหน้าที่กู้ภัยปฏิบัติงานค้นหาในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวในอำเภออูสือ แคว้นอาเค่อซู เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน วันที่ 23 ม.ค. 2024)

(มีคลิป) เหตุ ‘แผ่นดินไหว’ 6.2 แมกนิจูดในกานซู่ ดับ 111 รายแล้ว

จีสือซาน/ซีหนิง, 19 ธ.ค. (ซินหัว) — สำนักงานใหญ่บรรเทาภัยพิบัติแผ่นดินไหวในมณฑลกานซู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน รายงานเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.2 ตามมาตราแมกนิจูด บริเวณอำเภอกลุ่มชาติพันธุ์ในกานซู่ช่วงเที่ยงคืนของวันจันทร์ (18 ธ.ค.) ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตในกานซู่และชิงไห่ที่เป็นมณฑลใกล้เคียง รวม 111 รายแล้ว ศูนย์เครือข่ายแผ่นดินไหวแห่งประเทศจีน เผยว่าเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นตอน 23.59 น. ของวันจันทร์ (18 ธ.ค.) ตามเวลาท้องถิ่น โดยมีความลึกของจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว 10 กิโลเมตร และศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่ตำบลหลิ่วโกวอยู่ห่างจากที่ตั้งของอำเภอปกครองตนเองจีสือซาน กลุ่มชาติพันธุ์เป่าอัน ตงเซียง และซาลา ในแคว้นปกครองตนเองหลินเซี่ย กลุ่มชาติพันธุ์หุยของกานซู่ราว 8 กิโลเมตร.กลุ่มผู้เห็นเหตุการณ์บอกกับสำนักข่าวซินหัวของจีนว่า เหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ได้สร้างความเสียหายแก่บ้านเรือน ถนนหนทาง และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ โดยหลายหมู่บ้านประสบกับไฟฟ้าขัดข้องและการจ่ายน้ำหยุดชะงัก หน่วยงานด้านอุตุนิยมวิทยาท้องถิ่นระบุว่าอุณหภูมิต่ำรายวันในจีสือซานอยู่ที่ -10 องศาเซลเซียสในวันอังคาร (19 ธ.ค.) ด้านสำนักดับเพลิงและกู้ภัยของกานซู่ได้ส่งทีมกู้ภัย 580 คน เข้าช่วยเหลือพร้อมรถดับเพลิง 88 คัน สุนัขค้นหาและกู้ภัย 12 ตัว รวมถึงชุดอุปกรณ์มากกว่า 10,000 […]

แผ่นดินไหวในช่วงวันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2566

สำหรับสถานการณ์แผ่นดินไหวในช่วงวันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2566 ตรวจพบเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 2.7, 2.2 มีศูนย์กลางอยู่ที่ต.เวียงเหนือ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ขนาด 2.9 มีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเมียนมา และ ขนาด 1.7 มีศูนย์กลางอยู่ที่ต.ต้นเปา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทยแต่อย่างใด

แผ่นดินไหวเมียนมาสะเทือนถึงไทยตอนบน กทม.ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดเพิ่มเติมในรพ.

นักวิจัยศูนย์แผ่นดินไหวแห่งชาติชี้ธรณีพิโรธเมียนมาสะเทือนถึงไทย ภาคเหนือจรดกทม. ต้องวางแผนรับมือระยะยาวหาแนวทางรับมือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้ได้มาตรฐานการออกแบบที่รองรับแผ่นดินไหว และเสริมกำลังอาคารเก่า พร้อมติดตั้งอุปกรณ์วัดการสั่นสะเทือนเพิ่มเติมในรพ.สังกัดกทม. เพื่อศึกษาผลกระทบ ประเมินสภาพความปลอดภัยของอาคาร และเป็นต้นแบบให้อาคารอื่น จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 6.4 ลึก 9 กม. ใกล้เมืองเชียงตุง ประเทศเมียนมา ห่างจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ประมาณ 100 กม. เมื่อเวลาประมาณ 8.37 น. ของวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ศ. ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย หัวหน้าศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ กล่าวว่า ทีมวิจัยได้ติดตั้งอุปกรณ์วัดการสั่นสะเทือนบนภาคพื้นดินหลายตำแหน่งและในอาคารโรงพยาบาล 2 แห่งทางภาคเหนือ ขณะนี้ทีมวิจัยกำลังคำนวณแรงและข้อมูลการสั่นสะเทือนของพื้นดินและอาคาร โดยทำงานใกล้ชิดกับกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่าจะมีข้อมูลมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยคาดว่าผลการวัดการสั่นสะเทือนจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้อาจจะแรงที่สุดนับตั้งแต่เริ่มติดตั้งอุปกรณ์มาเมื่อตุลาคม 2565 ขณะที่ รศ. ดร.ธีรพันธ์ อรธรรมรัตน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า บริเวณใกล้เชียงตุงเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดกลาง (มากกว่า 5.0) บ่อยครั้ง […]

ปภ.รายงานเหตุแผ่นดินไหวพม่าขนาด 6.4 ผลกระทบ 4 จังหวัดภาคเหนือ

วันนี้ (18 พ.ย.66) เวลา 09.00 น. ปภ. รายงานจากเหตุแผ่นดินไหว ขนาด 6.4 ที่ประเทศเมียนมา ที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงเช้าวันที่ 17 พ.ย.66 ได้รับผลกระทบ 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน และสกลนคร สั่งการ ปภ.จังหวัดประสานเร่งสำรวจและให้การช่วยเหลือประชาชนแล้ว นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า กรณีเกิดแผ่นดินไหว ขนาด 6.4 ที่ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 66 เวลา 08.37 น. โดยจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 100 กิโลเมตร ประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก […]

เมียนมา เกิดอาฟเตอร์ช็อกอีกกว่า 20 ครั้ง แรงสุด 4.7 ริกเตอร์

เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 66 เว็บไซต์กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานสถานการณ์เหตุแผ่นดินไหว ในพื้นที่ใกล้ประเทศไทย พบว่าหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว ขนาด 6.4 ริกเตอร์ ลึก 9 กม. เมื่อเวลา 08.37 น. ตามเวลาประเทศไทย โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศเมียนมา ห่าง อ.แม่สายประมาณ 100 กม. ต่อมาในเว็บดังกล่าวยังได้รายงานว่า ได้มีรายงานเหตุแผ่นดินไหว ในเมียนมาตามมาอีกหลายครั้ง นับจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งแรกจนถึงเมื่อเวลา 22.15 น. มีอาฟเตอร์ช็อครวมกันทั้งหมด 20 ครั้ง โดยแบ่งเป็นเหตุแผ่นดินไหวขนาด 2.0-2.9 ริกเตอร์ จำนวน 5 ครั้ง ขนาด 3.0-3.9 ริกเตอร์ จำนวน 11 ครั้ง และขนาด 4.0-4.9 ริกเตอร์ จำนวน 4 ครั้ง โดยเหตุอาฟเตอร์ช็อคที่แรงที่สุด ก็คือขนาด […]

ผวจ.เชียงใหม่ รุดตรวจสอบโรงเรียน หลังแผ่นดินไหว

ผู้ว่าฯเชียงใหม่ รุดตรวจสอบโรงเรียนวัดหนองออน อ.แม่แตง หลังเหตุแผ่นดินไหว อาคารเรียนร้าวใช้การไม่ได้ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ลงพื้นที่ตรวจสอบอาคารเรียนโรงเรียนวัดหนองออน อ.แม่แตง หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวที่เมียนมาร์ สะเทือนถึงเชียงใหม่ อาคารเรียนร้าวไม่สามารถใช้การได้ เบื้องต้นจัดอาคารเรียนชั่วคราว พร้อมเร่งสร้างอาคารหลังใหม่ทดแทน ค่ำวันนี้ (17 พ.ย. 66) นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ลงพื้นที่โรงเรียนวัดหนองออน หมู่ที่ 10 ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง เพื่อสำรวจความเสียหายอาคารเรียน ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แผ่นดินไหวที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเมียนมาร์ เมื่อช่วงสายของวันนี้ โดยหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้สั่งการให้ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทุกหมู่บ้าน ออกสำรวจความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวฯ ทันที ซึ่งพบว่าในพื้นที่อำเภอแม่แตงได้รับความเสียหายทั้งหมดสองแห่ง 2 แห่ง คือ บ้านของ นางมา ชัยลังกา บ้านเลขที่ 15 ม.3 ต.ป่าแป๋ ได้รับความเสียหายบางส่วนบริเวณห้องครัว และโรงเรียนวัดหนองออน บ้านเลขที่ 244 ม.10 ต.อินทขิล พบมีรอยแตกร้าวขนาดใหญ่ที่บริเวณโคนเสา […]

(มีคลิป) เจ้าของร้านอาหารเล่านาทีแผ่นดินไหว โชคดีไม่มีใครเจ็บ

เจ้าของร้านอาหารเล่านาทีแผ่นดินไหว เศษปูนร่วงใส่เก้าอี้หน้าร้าน โชคดีลูกค้าเพิ่งลุก ไม่มีใครบาดเจ็บ วันที่ 17 พ.ย. จากกรณีที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.4 ริกเตอร์ โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศเมียนมา แต่สามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้หลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะที่ จ.เชียงราย ซึ่งอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวเพียง 100 กม. มีการรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ทั่วพื้นที่ และอีกหนึ่งสถานที่ที่พบความเสียหายก็คือ “ร้านลานไม้หอม” ซึ่งเป็นร้านจำหน่ายอาหาร ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามวัดร่องขุ่น ม.1 ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย ได้มีเศษปูนร่วงใส่เก้าอี้ยาวมีพนักพิงสีขาว ที่ตั้งอยู่ด้านนอกร้านใกล้กับประตูทางเข้าออกร้าน เศษแผ่นปูนซึ่งทำประดับไว้ด้านข้างทางเข้าออก ได้ร่วงลงมาแตกเกลื่อนกระจายเต็มหน้าร้านเนื่องจากความแรงของแผ่นดินไหวดังกล่าว น.ส.ผกามาศ ศรีสวัสดิ์ อายุ 32 ปี พนักงานร้าน เล่าว่า ตอนเกิดเหตุแผ่นดินไหวซึ่งเป็นช่วงเช้า มีลูกค้านั่งอยู่ในร้านประมาณ 2-3 คน ตอนแรกรู้สึกสั่นไหวเบาๆ ก็ไม่ได้รู้สึกตกใจอะไร แต่พอสั่นอีกครั้งซึ่งครั้งหลังนี้สั่นไหวรุนแรงมาก ถ้วยจานในร้านที่เราวางไว้สูงๆ ตกมาแตกหลายใบ ทีวีในร้านก็สั่น และที่น่าตกใจก็คือแผ่นปูนที่ทำประดับด้านข้างร้าน ได้ร่วงลงมาใส่เก้าอี้ยาวสีขาวหน้าร้าน กระจัดกระจายเต็มไปหมด พ่อค้าแม่ค้าและลูกค้าที่นั่งอยู่ในร้านที่รู้สึกถึงแรงสั่นไหวก็เลยรีบวิ่งออกไปอยู่ที่นอกร้านกันหมด ด้านนายอรรควัฒน์ ตะเภาทอง […]

เชียงดาว บ้านเรือนชาวบ้านเสียหาย จากแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว

เชียงดาว บ้านเรือนชาวบ้านเสียหาย จากแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว เร่งซ่อมแซมแล้ว จากกรณีเมื่อวันที่ 17 พ.ย.2566 เวลา 08.37 น อำเภอเชียงดาวรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนจากเหตุแผ่นดินไหวศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อำเภอเชียงดาว ได้ตรวจติดตามสถานการณ์จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวดังกล่าว ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจความเสียหายหรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับบ้านเรือนประชาชน ฯลฯ จากการตรวจสอบตามข้อ 2 ปรากฏมีบ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหายบางส่วน (มุกหน้าบ้าน) ราย นางสาววัลภา บ้านหมู่ที่ 6 ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ จากเหตุการณ์ดังกล่าวไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ/เสียชีวิต จากการตรวจสอบโดยละเอียดพบว่า สิ่งปลูกสร้าง(มุกหน้าบ้าน) เดิมมีสภาพที่ไม่มั่นคงแข็งแรงปรากฏมีปลวกขึ้นโครงสร้างอยู่ก่อนหน้าแล้ว จากกรณีดังกล่าว อำเภอเชียงดาว ได้ประสานให้องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงดาว เข้าร่วมตรวจสอบและให้ความช่วยเหลือ โดยมอบกระเบื้อง จำนวน 40 แผ่น ให้กับผู้ประสบภัย นางสาววัลภาฯ ผู้ได้รับผลกระทบและได้จัดส่งกำลังพล สมาชิกอส. ร้อย อส.อ.เชียงดาวที่ 6 เข้าทำการปรับปรุงซ่อมแซมสภาพสิ่งปลูกสร้างให้มีสภาพใช้งานได้ดังเดิม ทั้งนี้ ได้รายงานวิทยุข้อความอีกทางหนึ่งแล้วด้วย

1 2 3 15