สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ จัดงานครบรอบ 25 ปี

สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ จัดงานครบรอบ 25 ปี ที่เชียงใหม่ ในโครงการเสวนาสัญจร เรื่อง”การปรับตัวของสื่อในยุคดิจิทัล : ความท้าทายของสื่อมวลชนท้องถิ่น”

เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ณ คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ ร่วมกับคณะการสื่อมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดโครงการเสวนาสัญจร เรื่อง”การปรับตัวของสื่อในยุคดิจิทัล : ความท้าทายของสื่อมวลชนท้องถิ่น” เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ โดยมี นายศักดิ์ชัย คุณาณุวัตรชัยเดช รองผู้ว่าราชการ จ.เชียง ใหม่,รศ.โรม จิรานุกรม รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ,นายจุลนิตย์ วังวิวัฒน์ ประธานหอการค้า จ.เชียงใหม่ นายพัลลภ แซ่จิว ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จ.เชียงใหม่ นายวัชรายุทธ์ กัววงศ์ ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงใหม่ นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ พร้อมคณะกรรมการและสมาชิก และผู้มีเกียรติเข้าร่วมงาน งานนี้ นายสราวุฒิ เเซ่เตี๋ยว รองประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาสื่อภูมิภาค และอนุกรรมการวิชาการ ร่วมจัดขึ้น

รศ.โรม จิรานุกรม ได้กล่าวต้อนรับผู้มาร่วมงานว่า การจัดกิจกรรมครั้งนี้นับว่ามีประโยชน์มาก เพราะผู้มาร่วมงานและติดตามชมผ่านการไลฟ์สด จะได้ประโยชน์จากวิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์ที่ทุกวงการกำลังเกิดปัญหาจากแพลตฟอร์มดิจิทัลดิสครับชั่น ซึ่งทุกวงการได้รับผลกระทบจากแพลตฟอร์มดิจิทัลทั้ง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็ได้รับผลกระทบ และทำให้ต้องปรับการทำงานในหลายรูปแบบ บิลเกตบอกว่า ธุรกรรมทางการเงินยังต้องมี แต่ธนาคารจะมีอยู่หรือไม่ หรือการศึกษาก็ยังมี แต่มหาวิทยลัยจะอยู่หรือไม่ ในวงการสื่อก็เหมือนกันการเสพข่าวยังต้องมีทุกวัน แต่สำนักงานจะมีหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่อง ขณะที่สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติในฐานะองค์กรที่กำกับดูแลด้านจริยธรรม แต่วันนี้ การผลิตสื่อไม่ได้มากจากสำนักงาน แต่มาจากทุกคน มาจากอินฟูลเรนเซอร์ ที่ผ่านโซเชียลมีเดีย และมีผู้เข้าชมมาก ทำให้ผู้บริโภคข่าวต้องพิจารณามากขึ้น ซึ่งสิ่งนี้เองทำให้สำนักข่าวต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม ต่อประเทศชาติมากขึ้นเช่นกัน

ด้านนายศักดิ์ชัย คุณานุวัฒน์ชัยเดช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ในนาม “คนเชียงใหม่”ยินดีต้อนรับ คณะกรรมการสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ รวมถึงสมาชิกที่มาจากทุกภูมิภาค ตลอดจนผู้มีเกียรติทุกท่านที่มาร่วมงานในวันนี้ เราเชื่อมั่นสื่อมวลชนเป็นกลไกขับเคลื่อนที่สาคัญของ สังคม และกิจกรรม ในวันนี้จะเป็นอีกส่วนหนึ่งในการพัฒนาสื่อมวลชนไทย ทั้งคนที่อยู่ในวิชาชีพปัจจุบันและเยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ และสนใจอาชีพ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ซึ่งได้ทำหน้าที่องค์กรกำกับดูแลกันเอง ทางจริยธรรมสานรับสื่อหนังสือพิมพ์ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ” ครอบคลุมถึงสื่อใหม่ๆ โดยเฉพาะสื่อดิจิทัลที่มีจำนวนมากขึ้น ดังกล่าวแล้วโดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 และเริ่มมีคณะกรรมการชุดแรกเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2564 นับเป็นจุดเริ่มต้นสาคัญของ“สภาการ สื่อมวลชนแห่งชาติ”จากการติดตามบทบาทของสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการส่งเสริมจริยธรรมแห่งวิชาชีพและการดำรงสังคม กระผมเชื่อว่ากิจกรรมที่เกิดขึ้นในวันนี้


จะส่งผลให้สื่อสิ่งพิมพ์ค่อยๆปิดตัวลงไป หรือ ปรับตัวเข้าสู่ระบบออนไลน์ และพร้อมที่จะอยู่ภายใต้การควบคุมทางด้านจริยธรรมต่อไป และประโยชน์อย่างยิ่งต่อวงการสื่อมวลชนทั้งในจังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ และทุกภูมิภาค รวมถึงสื่อมวลชนทั่วประเทศไทย ทั้งยังเกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยโดยรวม

การจัดงานคร้ังแรกในระดับภูมิภาคของสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ จึงรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง จึงขอขอบคุณประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ และคณะกรรมการทุกท่าน ที่ให้การสนับสนุน รวมถึงท่านรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ท่านคณบดีคณะการ สื่อสารมวลชน คณาจารย์และนักศึกษาทุกท่าน ที่ร่วมขับเคลื่อนและสร้างสรรค์กิจกรรมที่ดีในงานครั้งนี้

ในฐานะที่เป็นสมาชิกสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ รู้สึกมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติครบรอบ 25 ปี ในปีนี้พวกเราที่เป็นสื่อมวลชนอาชีพ ทุกองค์กรได้ร่วมกันขับเคลื่อน และพัฒนาการดำเนินงานภายใต้แนวทางของสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ ต่างมีความภาคภูมิใจและพร้อม ที่จะร่วมก้าวเดินไปข้างหน้าร่วมกัน ทั้งการพัฒนาบุคลากร การพัฒนาการประกอบการที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์สื่อในยุคดิจิทัล รวมถึงการยึดมั่นในจริยธรรม ภายใต้การดำเนินงาน ของอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒ นากิจกรรมสื่อ สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ

กิจกรรมในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่บทบาทของสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ ในฐานะองค์กร วิชาชีพสื่อที่เป็นอิสระ ทำหน้าที่กำกับดูแลด้านจริยธรรม ภายใต้หลักการ “กำกับดูแลกันเอง” และเพื่อเสริมสร้างศักยภาพทักษะและจิตสำนึกให้กับสื่อมวลชน ในการทำหน้าที่ตามกรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพ รวมไปถึงสร้างศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านจริยธรรมสื่อ และกลไกในการกำกับดูแล

ด้านจริยธรรมสื่อให้มีความเข้มแข็ง ทั้งภายในองค์กรและบุคลากรสื่อมวลชน และที่สำคัญยังช่วยผลักดันให้เกิดการปฏิรูปสื่อภาครัฐ และเอกชน ทั้งในระดับบุคคล และระดับองค์กร เพื่อให้ตระหนักถึงบทบาท และความรับผิดชอบของวิชาชีพสื่อที่มีต่อสังคมและประเทศชาติ

นายชวรงค์ กล่าวเปิดว่า การจัดโครงการเสวนาสัญจร เรื่อง”การปรับตัวของสื่อในยุคดิจิทัล : ความท้าทายของสื่อมวลชนท้องถิ่น” เป็นการจัดเนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี ของสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติซึ่งเป็นการจัดครั้งแรกในภูมิภาค ทั้งนี้ สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์สื่อ ที่มีความหลากหลายมากขึ้น รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับการทำหน้าที่ของ องคกรกำกับดูแลด้านจริยธรรมของสื่อมวลชนในประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีความครอบคลุมไปถึงสื่อมวลชนอื่น ๆ ด้วย อีกทั้งสามารถทำให้รับสมาชิกใหม่ที่เป็นสื่อมวลชนได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่อดิจิทัล ด้วยเหตุนี้จึงมีมติให้ยกเลิก “ธรรมนูญสภาหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ. 2540” และนำ “ตราธรรมธรรมนูญสภาสื่อมวลชนแห่งชาติ พ.ศ. 2563” ขึ้นมาใช้แทน พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น “สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ” นับแต่เริ่มต้นถึงปัจจุบัน สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติให้ความสำคัญสมาชิกในภูมิภาค ทั้งการ พัฒนาบุคลากรด้วยการจัดอบรมเพิ่มทักษะทางวิชาชีพ รวมถึงส่งเสริมจริยธรรมซึ่งปัจจุบันสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ ได้คณะอนุกรรมการส่งเสริมกิจกรรมและพัฒนา สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ รวมถึง คณะอนุกรรมการวิชาการร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาองคก์ร และบุคลากรของสมาชิกภูมิภาคมาอย่างต่อเนื่อง การจัด กิจกรรมในโอกาสครบรอบ 25 ปี สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ ในระดับภูมิภาค ที่จังหวัดเชียงใหม่ คร้ังนี้เป็นคร้ังแรก และจะมีการจัดงานสัญจรไปยังภูมิภาคอื่นในปีต่อไป ทั้งเป็นการส่งเสริมบทบาท ภาพลักษณ์สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ และเป็นเวทีให้สมาชิกภูมิภาคได้พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการร่วมกันพัฒนาสื่อต่อไป

นอกจากกิจกรรมที่เกิดข้ึนในวันนี้ ยังมีอีก 2 กิจกรรม ที่สภาการสือมวลชนแห่งชาติได้จัดก็คือ ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2565 ที่จะจัดเวทีบรรยายเรื่องมองอนาคตประเทศไทยที่จะมีผู้เชี่ยวชาญด้าน การเมือง เศรษฐกิจสังคม สิ่งแวดล้อมหรือ การศึกษา จะขึ้นมามอง และในวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 ได้จัดงานครบรอบ 25 ปี ซึ่งได้เชิญวิทยากร เชียรา ซึ่งได้รับรางวัลแมกไซไซ มาบรรยายและมีเวทีเสวนาเรื่องการทำข่าวสืบสวนสอบสวนกับจริยธรรม

และช่วงบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การปรับตัวของสื่อ ในยุคดิจิทัล”ที่นายพงษ์สุข หิรัญพฤกษ์ หรือ หนุ้ย แบไต๋ ผู้ผลิตสื่อชื่อดัง ได้บรรยายผ่านระบบซูมใช้มายังประชุม ได้อธิบายถึงการทำงานของตัวเอง ว่า ได้ผ่านการทำงานมานานกว่า 20 ปี และผ่านความล้มเหลวมามาก ซึ่งจากสถานการณ์ที่ระบบออนไลน์ทำให้ต้องปรับตัว โดยการปรับนั้น จะต้องเข้าใจในบริบทของสื่อออนไลน์ที่แตกต่างจากสื่อเก่า พร้อมการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เข้ามาชม โดยไม่ต้องเกริ่นนำมาก แบบเปิดให้ปิ๊งใส่เนื้อหาไปเลย และเล่าเรื่องให้เป๊ะ มุกให้ป๊อบ ฮุดให้เปรี้ยง และสุดท้ายจบให้ปัง เมื่อทำทั้งหมดแล้วใส่ไปให้เต็มก็จะประสบความสำเร็จ

หลังจากนั้นช่วง “การปรับตัวของสื่อในยุคดิจิทัล : ความท้าทายของสื่อมวลชนท้องถิ่น” ดำเนินรายการโดย น.ส.อัจฉราวดี บัวคลี่ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาเครือข่ายนักสื่อสารพลเมือง ไทยพีบีเอส ที่ได้ให้วิทยากรทั้ง 4 คน ได้มองและเล่าถึงการปรับตัวของสื่อท้องถิ่น โดย

น.ส.พัชรี เกิดพรม บรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ ส่องใต้ เล่าว่า ทำสื่อสิ่งพิมพ์ ชื่อส่องใช้มานาน 20 ปี และยังทำงานเป็นสตริงเกอร์ของสื่อในส่วนกลางทั้งไทยพีบีเอส ช่อง 8 และมติชน เมื่อมีอินเตอร์เน็ตเข้ามาทำให้ต้องปรับตัวด้วยการเข้ามาทำเพจข่าว และทำเวปไซด์ส่องใต้ ซึ่งทำให้สามารถสร้างการรับรู้ได้มากขึ้น แต่ปัญหาคือเรื่องทักษะ และเทคนิคที่จะทำให้ผู้เข้ามาชมสื่อออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ยอมรับว่า มีคู่แข่งขันมากขึ้น แต่ด้วยความที่ได้รับการสนับสนุนและผลักดันของสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ ทำให้ได้รับความรู้และสร้างความแตกต่างกับสื่อมวลชนอื่นๆในพื้นที่ ซึ่งวันนี้ มั้นใจว่า คอนเทนส์ข่าวที่ดีและได้รับการยอมรับจะทำให้เอาตัวรอดได้ ซึ่งวันนี้โฆษณาได้เข้ามาบ้างแล้ว

นายกฤษฎาพงษ์ แววคล้ายหงษ์ บรรณาธิการ สำนักข่าวตราดออนไลน์ กล่าวว่า ครอบครัวทำข่าวมาตลอด เกิดมาก็เห็นพ่อและแม่ทำหนังสือพิมพ์แล้ว โดยทำต้นฉบับด้วยการตัดแปะ และมายกระดับด้วยการทำผ่านคอมพิวเตอร์ อีกทั้งครอบครัวยังทำเคเบิลทีวี และเป็นผู้สื่อข่าวในส่วนกลาง ซึ่งทั้งหมดมีรายได้แยกกัน ซึ่งเมื่อมีอินเตอร์เน็ตก็ได้เข้ามาทำสื่อในออนไลน์ เริ่มจากเฟสบุค และเพจแล้วมาทำเวปไซด์ แต่ทำแล้วมีปัญหาทางเทคนิค และทักษะจนต้องล้มเลิก สุดท้ายกลับมาทำเพจตราดทีวี จนได้รับความนิยม และทำจนมีรายได้เข้ามาทั้งเพจเวปไซด์ ซึ่งการปรับตัวในอนาคตจะต้องพัฒนายกระดับต่อไป เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ หากไม่พัฒนาหรือปรับตัวก็จะอยู่ไม่รอด

นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล กรรมการนโยบาย ไทยพีบีเอส ชี้ให้เห็นว่า วันนี้ สื่อมวลชนท้องถิ่นไม่ปรับตัวก็จะอยู่ไม่รอด โดยที่ตนเองเคยทำงานทั้งในสื่อส่วนกลาง คือ กรุงเทพธุรกิจ และเป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ จ.ลำปาง ทำให้เข้าใจบริบทของสื่อท้องถิ่นดี ซึ่งสื่อท้องถิ่นต้องเข้าใจว่า การผลิตคอนเทนส์ในสื่อสิ่งพิมพ์แล้ว จะนำมาลงในออนไลน์ทั้งหมด ซึ่งจะต้องปรับเปลี่ยนและทำความเข้าใจเพราะสื่อออนไลน์จะต้องสั้น กระชับ ตรงประเด็น เพราะผู้เสพข่าวไม่ยอมเสียเวลา
นอกจากนี้ สื่อท้องถิ่นมีปัญหาในเรื่องการบริหารจัดการภายใน ต้องทบทวนตำแหน่งทางการตลาด และการปรับแนวคิด รวมทั้งนโยบายภายในองค์การ นอกจากนี้ ยังต้องมีความรู้ในเรื่องการเขียนข่าว ออนไลน์ ลักษณะหรือเนื้อหาของสื่อออนไลน์ สุดท้ายคุณลักษณะของข่าวออนไลน์ ที่ต้องชัด กระชับ ชัดเจนด้วย และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ เรื่องจริยธรรมของสื่อด้วย

ด้าน รศ.ธีรภัทร วรรณฤมล คณบดีคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ทำวิทยุของคณะการสื่อมวลชนมานานกว่า 44 ปี เพราะมีความชอบในสื่อเสียง ทำให้ต้องมีการลงทุนในเรื่องเครื่องส่ง และเสาอากาศที่ต้องลงทุนสูง แต่เมื่อมีการปรับตัวเพราะกสทช. ยึดคลื่นคืน จึงหันมาผลิตสื่อโดยผ่านออนไลน์ และได้รับการสนับสนุนจากทุนในประเทศสวีเดน พร้อมทำการศึกษา อบรม โปรแกรมในเรื่องการออกอากาศ และยังมีผู้ฟังติดตามต่อเนื่อง

หลังจากจบเวทีเสวนาแล้ว รศ.ดร.สุกัญญา บูรณะเดชาชัย ประธานคณะอนุกรรมการวิชาการ กล่าวปิดงาน โดยระบุว่า การจัดกิจกรรมครั้งนี้ ได้เกิดประโยชน์ต่อทั้งบุคคลากรทั้งในแวดวงวิชาการ และวิชาชีพ รวมทั้งองค์กรวิชาชีพสื่อ ในฐานะที่เคยเป็นศิษย์เก่าที่คณะการสื่อมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงขอขอบคุณมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ร่วมจัดงานและอำนวยความสะดวกทั้งในด้านสถานที่ และบุคลากรที่มาช่วยงานครั้งนี้ด้วย

ร่วมแสดงความคิดเห็น