กิจกรรมเนื่องในโอกาสครบรอบ 80 ปี

ธนาคารแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสครบรอบ 80 ปี โดยแบงก์ชาติ สำนักงานภาคเหนือจัดสัมมนาและนิทรรศการ “BOT North Open House

เปิดโลกการเงินดิจิทัลสู่ภาคเหนือ ที่อาคารอเนกประสงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่

วันที่ 1 สิงหาคม 2565 ธนาคารแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมครบรอบ 80 ปีโดยปาฐกถาพิเศษจากนางวชิรา อารมย์ดี รองผู้ว่าการด้านบริหารธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นผู้บรรยายเกี่ยวกับธนาคารแห่งประเทศไทยกับบทบาทการพัฒนาภูมิภาคจากอดีตสู่อนาคต ภายใต้ “Digital Landscape“ และการบรรยายพิเศษจากผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมกับการเสวนาการเงินดิจิทัล การเงินเปลี่ยนโลกพลิกโฉมธุรกิจภูมิภาค

นางวชิรา อารมย์ดี รองผู้ว่าการด้านบริหารธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่าการจัดงานครบรอบ 80 ปีของธนาคารแห่งประเทศไทยครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนซึ่งเป็นหน่วยงานที่ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่ง แบงก์ชาติได้ตระหนักถึงความสำคัญในการร่วมมือขับเคลื่อนเรื่องของเศรษฐกิจในภาคเหนือโดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้วางฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีทางการเงินได้เปิดช่องให้ข้อมูลเทคโนโลยีและด้านดิจิทัลผ่านการดำเนินงาน 3 ด้านได้แก่การเปิดให้มีการแข่งขันมากขึ้นทางการเงินตัวอย่าง Non Bank ที่สามารถเข้ามาให้สินเชื่อส่วนบุคคลมากขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการรายเล็กเข้าถึงในระบบด้วยเทคโนโลยีและข้อมูลในระบบ, การเปิดให้ผู้ประกอบการเข้าถึงโครงการพื้นฐานเปรียบเสมือนการสร้างถนนให้รถหลากหลายเข้ามาวิ่งซึ่งผู้โดยสารสามารถเลือกบริการต่างๆ ได้โดยใช้ถนนร่วมกันเป็นต้น ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จะทำให้ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์ในการทำรูปแบบการค้าดิจิทัล เพื่อจะทำให้ผู้ประกอบการปรับตัวในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ เช่นการออกคู่มือ ผู้ใช้บริการสามารถทำธุรกรรมกับธนาคารหนึ่ง ธนาคารสามารถโอนข้อมูลไปยังอีกธนาคารได้ด้วยการแชร์ข้อมูลสถาบันร่วมกันเพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ

ทั้งนี้ปัญหาสิ่งแวดล้อมสู่ความยั่งยืน ภาคการเงินสามารถประเมินแต่ความเสี่ยงในเรื่องของสิ่งแวดล้อมเพื่อพิจารณา ในการสนับสนุนผู้ประกอบการ ที่ดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมมาตลอดทำให้ สามารถเป็นแต้มต่อในการของบสนับสนุนธุรกิจได้เร็วกว่าธุรกิจอื่นในการดูแลปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมสู่ความยั่งยืนต่อไป

ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า Digitial Landscape จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจภาคเหนือ แนวทางการพัฒนาต่างๆ ในภูมิภาคโดยเฉพาะ Step up ที่มีเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันเป็นกลุ่มที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ดี เศรษฐกิจในภาคเหนือซึ่งสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เน้น 13 หมุดหมาย 1.เกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง 2.การท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน 3.ฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก 4.การแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง 5.ประตูการค้าการลงทุนและ โลจิสติกส์ 6.ศูนย์กลางดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 7. เอสเอ็มอีที่เข้มแข็งศักยภาพสูงแข่งขันได้ 8. พื้นที่และเมืองอัจฉริยะ 9.ความยากจนข้ามรุ่นและความคุ้มครองทางสังคม 10 เศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ 11 .การลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 12.กำลังคนที่มีสมรรถภาพสูง 13 ภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ประชาชน

ทั้งนี้ เป้าหมาย NEC Chiangmai Valley จากความเข้มแข็งในเขตเมืองจะส่งต่อความเข้มแข็งไปสู่ในเขตนอกเมืองและสิ่งที่เกิดขึ้นในเชียงใหม่ที่เกิดขึ้นแน่นอน อาทิ การแพทย์สมัยใหม่ในการพัฒนา Medical Hub /ศูนย์การเรียนรู้และดูแลผู้สูงอายุ และโครงการ Chiangmai Healthy Society, เมืองอัจฉริยะ ด้วยการขยายพื้นที่เมืองอัจฉริยะเพื่อเพิ่มจำนวนประชากรและพลังงานอัจฉริยะ โดยมีสถานีชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charging Station) และโซล่าฟาร์ม เป็นต้น

ส่วนเขตนอกเมืองจะมีการแพทย์สมัยใหม่ ส่งเสริมบริการโทรเวช , เพิ่มนักท่องเที่ยว/สร้างรายได้สู่ชุมชน (ท่องเที่ยวเชิงอาหาร) ส่งเสริมหัตถอุตสาหกรรมและเติมน้ำเพิ่มรายได้เกษตรกร 1.เติมน้ำให้เกษตรกรด้วยกัน จัดการน้ำ 2.การเพาะปลูกให้เหมาะสมกับศักยภาพตลาด เป็นต้น

ด้านกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ปีงบประมาณ 2566 – 2570 สรุป เบื้องต้นคือ 1. การส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเน้นคุณภาพที่สามารถปรับตัว ตามสถานการณ์ 2. การขับเคลื่อนเกษตรเพิ่มมูลค่าเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง 3. การยกระดับการค้าการลงทุนบนพื้นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์นวัตกรรมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน 4. การจัดการเชิงรุกในปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 5. การเสริมสร้างเมืองน่าอยู่ที่มีความปลอดภัย

ร่วมแสดงความคิดเห็น