รู้จักเหล่าโรคอันตรายที่มากับน้ำท่วม

ฝนตกหนักทีไรน้ำท่วมทุกที ใครที่ต้องเผชิญกับภาวะน้ำท่วมบ่อย ๆ รู้ไว้เลยว่าคุณกำลังเสี่ยงต่อโรคร้ายหลายโรคเลยทีเดียว

โรคระบบทางเดินหายใจ

โรคระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม

อาการสำคัญ

  • ไข้
  • ไอ
  • เจ็บคอ
  • คัดจมูก
  • มีน้ำมูก
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยตามตัว
  • อ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร

การป้องกัน 

  1. ดูแลร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ
  2. ไม่สวมเสื้อผ้าที่เปียกชื้น
  3. เช็ดตัวให้แห้ง
  4. หลีกเลี่ยงการแช่น้ำเป็นเวลานาน
  5. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นหวัด
  6. ปิดปากและจมูกเวลาไอ หรือ จาม
  7. ล้างมือเป็นประจำ ด้วยน้ำ และสบู่


โรคระบบทางเดินอาหาร
 

ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ อหิวาตกโรค โรคบิด ไทฟอยด์ และโรคตับอักเสบ

อาการสำคัญ

  • ถ่ายอุจจาระเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ หรือมีมูกเลือด
  • ปวดท้อง
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ปวดศีรษะ
  • มีไข้
  • ปวดเมื่อยตามตัว
  • เบื่ออาหาร
  • ตัวเหลือง
  • ตาเหลือง

การป้องกัน 

  1. ทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด อาหารกระป๋องที่ยังไม่หมดอายุ กระป๋องไม่บวมหรือเป็นสนิม
  2. ดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำจากขวดที่ฝาปิดสนิท น้ำต้มสุก
  3. ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ทุกครั้ง ก่อนกินอาหาร และหลังการใช้ห้องน้ำ
  4. ห้ามถ่ายอุจจาระลงในน้ำโดยตรง ถ้าส้วมใช้ไม่ได้ ให้ถ่ายลงในถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้แน่น แล้วนำไปใส่ในถุงขยะ 


โรคฉี่หนู (หรือโรคเลปโตสไปโรซิส) 

อาการสำคัญ

  • ไข้สูงฉับพลัน
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะบริเวณน่องและโคนขา หรือปวดหลัง
  • อาจมีอาการตาแดง
  • มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง
  • ไอมีเลือดปน
  • ตัวเหลือง
  • ตาเหลือง
  • ปัสสาวะน้อย
  • ซึม
  • สับสน

การป้องกัน 

  1. หลีกเลี่ยงการลุยน้ำลุยโคลน
  2. ป้องกันไม่ให้บาดแผลสัมผัสถูกน้ำโดยการสวมร้องเท้าบูธยาง
  3. รีบล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่แล้วเช็ดให้แห้งโดยเร็วที่สุดเมื่อต้องลุยน้ำย่ำโคลน


โรคน้ำกัดเท้า 

อาการโรคน้ำกัดเท้า

  • เท้าเปื่อยและเป็นหนอง
  • คันตามซอกนิ้วเท้า
  • ผิวหนังลอกเป็นขุย
  • มีผื่นผุพอง
  • ผิวหนังอักเสบบวมแดง

การป้องกัน

  1. หลีกเลี่ยงการลุยน้ำลุยโคลน
  2. ป้องกันไม่ให้บาดแผลสัมผัสถูกน้ำโดยการสวมร้องเท้าบูธยาง
  3. รีบล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่แล้วเช็ดให้แห้งโดยเร็วที่สุดเมื่อต้องลุยน้ำย่ำโคลน


โรคตาแดง 

อาการสำคัญ

  • ตาแดง
  • ระคายเคืองตา
  • น้ำตาไหล
  • กลัวแสง
  • มีขี้ตา
  • หนังตาบวม

การป้องกัน

  1. ล้างด้วยน้ำสะอาดทันทีถ้ามีฝุ่นละอองหรือน้ำสกปรกเข้าตา
  2. ไม่ควรขยี้ตาด้วยมือที่สกปรก อย่าให้แมลงตอมตา
  3. แยกผู้ป่วยตาแดงออกจากคนอื่น ๆ
  4. ไม่ใช้สิ่งของร่วมกันเพื่อป้องกันการระบาดของโรค 


ไข้เลือดออก

อาการสำคัญ

  • ไข้สูงลอย
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยตามตัว
  • หน้าแดง
  • จุดเลือดออกตามผิวหนัง
  • เลือดออกตามไรฟัน

การป้องกัน

  1. ระวังอย่าให้ยุงกัดในเวลากลางวัน
  2. นอนในมุ้ง
  3. ทายากันยุง
  4. กำจัดลูกน้ำและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยปิดฝาภาชนะเก็บน้ำไม่ให้มีน้ำขัง


อุบัติเหตุและการถูกสัตว์ร้ายมีพิษกัดต่อย

นอกจากโรคต่าง ๆ แล้ว ยังมีอุบัติเหตุที่พบบ่อยในช่วงน้ำท่วม ได้แก่

  • ไฟดูด
  • จมน้ำ
  • เหยียบของมีคม

อันตรายจากสัตว์มีพิษที่พบบ่อยในช่วงน้ำท่วม ได้แก่

  • งู
  • ตะขาบ
  • แมงป่อง

ซึ่งหนีน้ำมาหลบอาศัยในบริเวณบ้านเรือน

การป้องกัน

  1. ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้า สับคัตเอาต์ตัดไฟฟ้าในบ้านก่อนที่น้ำจะท่วมถึง
  2. เก็บกวาดขยะ วัตถุแหลมคม ในบริเวณอาคารบ้านเรือน และตามทางเดินอย่างสม่ำเสมอ



    “โรคผิวหนังที่เกิดจากน้ำท่วม”

เมื่อเกิดอุทกภัย
          กระแสน้ำจะพาสิ่งสกปรก สารเคมี  รวมถึงเชื้อโรคต่างๆให้แพร่กระจายและปะปนอยู่ในน้ำที่ท่วมขัง    ก่อให้ เกิดโรคผิวหนังบางชนิด โรคผิวหนังที่พบร่วมกับภาวะน้ำท่วมได้บ่อยมีดังนี้

น้ำกัดเท้า
          เกิดจากการระคายเคืองของผิวหนังเนื่องจากความเปียกชื้นและการสัมผัสสิ่งสกปรก สารเคมีต่างๆในน้ำท่วมขัง  ทำให้เกิดผื่นผิวหนังอักเสบ  ผิวหนังจะมีลักษณะเปื่อยลอก  โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้าอาจมีผื่นแดง  แสบคันร่วมด้วย

การรักษาเบื้องต้น  คือ ใช้ยาทาแก้คันกลุ่มสเตียรอยด์ครีม  ทาบริเวณผื่นผิวหนังอักเสบ  และอาจใช้ยาฆ่าเชื้อราในกรณีที่มีการติดเชื้อราร่วมด้วย

 การติดเชื้อราที่ผิวหนัง
          หากเกิดมีภาวะน้ำกัดเท้าต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานๆ ผิวที่เปื่อยลอก โดยเฉพาะที่บริเวณซอกนิ้วจะติดเชื้อราได้  ซึ่งจะมีผื่นแดง แฉะ มีขุยขาวลอกบริเวณซอกนิ้ว  หรือเป็นชนิดผื่นหนา เปื่อยยุ่ย ลอกเป็นขุย  ทั้งที่ฝ่าเท้าและซอกนิ้ว  มีกลิ่นเหม็น หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า “ฮ่องกงฟุต” ซึ่งเกิดจากเชื้อกลากชนิดหนึ่งนั่นเอง

การติดเชื้อแบคทีเรียในผิวหนังชั้นตื้น
          นอกจากการสัมผัสกับน้ำสกปรกโดยตรงแล้ว ภาวะที่ผิวหนังอับชื้นอยู่เป็นเวลานานในแต่ละวัน เช่น การสวมรองเท้าบู๊ทยาง  อาจทำให้มีการติดเชื้อแบคทีเรียในผิวหนังชั้นตื้นที่บริเวณฝ่าเท้าได้  ซึ่งจะมีลักษณะเปื่อยยุ่ยเป็นหลุมเล็กๆ ส่งกลิ่นเหม็น

แนวทางการดูแลผิวหนังเมื่อประสบอุทกภัย
          – หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำสกปรกโดยตรง หรือใส่รองเท้าบู๊ทยางเมื่อต้องเดินลุยน้ำท่วมขัง
          – หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ หลังจากสัมผัสน้ำท่วมขัง ให้รีบถอดรองเท้าและเสื้อผ้าที่เปียกน้ำออกแล้วล้างเท้าด้วยน้ำสะอาดและสบู่ทันที เช็ดเท้าให้แห้งอยู่เสมอ โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วซึ่งเกิดการอับชื้น ได้ง่าย
          – หากมีบาดแผลถลอกในบริเวณที่สัมผัสน้ำสกปรกควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อชะล้างด้วย

ต้องรีบไปพบแพทย์เมื่อ
          – มีบาดแผลที่เกิดจากของมีคมใต้น้ำทิ่มตำ นอกจากการปฏิบัติการดูแลเบื้องต้นแล้ว ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับประทานยาป้องกันแผลติดเชื้อและต้องฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักด้วย
          – มีการติดเชื้อแบคทีเรียลุกลามลงในผิวหนังชั้นลึกจนเกิดเป็นกลุ่มโรคจำพวกไฟลามทุ่ง ผิวหนังจะบวม แดง ร้อน กดเจ็บ และ ลามเร็วไปยังบริเวณใกล้เคียง  ต่อมาอาจมีไข้สูง  และต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบโตร่วมด้วย ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือด
          – มีการติดเชื้อแบคทีเรียในผิวหนังชั้นลึกของเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง ที่ทำให้ภูมิต้านทานไม่แข็งแรง เช่น เบาหวาน ตับแข็ง โลหิตจางธาลัสซีเมีย เป็นต้น ในกรณีนี้การติดเชื้อมักจะรุนแรง ลามเร็ว และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ จึงต้องรีบไปพบแพทย์เช่นเดียวกัน
 


     

อ้างอิง รพ.กรุงเทพ /klanghospital

ร่วมแสดงความคิดเห็น