(มีคลิป) พิธีอัญเชิญราชานุสาวรีย์หลวงหมื่นด้งนคร จ.แพร่

ชาว ต.สรอย และ ต.ป่าสัก อ.วังชิ้น ประกอบพิธีอัญเชิญราชานุสาวรีย์หลวงหมื่นด้งนคร

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 09.00 น. นายปานศร ภมรคนธ์ นายอำเภอวังชิ้น มอบหมายให้ นายอธิวัฒน์ อารัญ ปลัดอำเภอ หัวหน้างานสำนักปลัดอำเภอวังชิ้น จ.แพร่ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส พระครูพิพิธ จิตตราภิรมย์ เจ้าคณะตำบลป่าสักและเจ้าอาวสวัดป่าจิตตวิเวการาม ประธานฝ่ายสงฆ์ ได้ร่วมกับ ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น,คณะกรรมการพัฒนาเมืองด้งนคร

นำโดย ดร.โฉมฉาย กาศโอสถ ผอ.ร.ร.ชุมชนบ้านป่าสัก/ปางไม้ ประธานเครือข่ายพัฒนาฯ,นายสานิตย์ นันทสุวรรณ กำนันตำบลป่าสักและ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 2-9 ,นายกฤต สินทะมณี นายก อบต.ป่าสักและฝ่ายบริหาร จนท.ส.อบต.ป่าสักพร้อมด้วยพี่น้องประชาชนในตำบลป่าสัก 10 หมู่บ้าน ร่วมกันอัญเชิญราชานุสาวรีย์เจ้าหลวงหมื่นด้งนคร ออกจากวัดแม่กระต๋อมไปประดิษฐานไว้ที่เมืองเก่าหรืคือเวียง

ซึ่งเป็นสถานที่ เจ้าหลวงหมื่นด้งหรือพี่น้องชาวสรอย/ป่าสักได้เรียกชื่อท่านว่า “เจ้าพ่อเมืองด้ง” ผู้สร้างบ้านแปงเมืองสระลอย ปัจจุบันคือ ต.สรอย และ ต.ป่าสัก นี้ขึ้นมาเมื่อ 600 กว่าปีก่อน หลังจากที่เจ้าหมื่นด้งได้สิ้นชีพลง วันใดไม่ได้ปรากฎชัด ทางลูกหลานเจ้าหลวงหมื่นด้งจึงได้มีพิธีกรรมสร้างหอ (ศาล) ไว้ทุกหมู่บ้าน มีการนำหมู ไก่ มาเซ่นไหว้เลี้ยงถวาย แด่ดวงวิญญขาณองเจ้าหลวงหมื่นด้ง พร้อมบริวารได้รับบริโภค ตามความเชื่อทำเป็นประเพณีได้ยึดถือ สืบทอดกันเรื่อยมาถึงปัจจุบันนี้ จะมีการเลี้ยงเจ้าพ่อเมืองด้งหรือเจ้าหมื่นด้งนคร ปีละ 2 ครั้งคือเดือน 5 เหนือ ขึ้น 5 ค่ำและเดือน 9 เหนือ ขึ้น 9 ค่ำ เป็นการรำลึกถึงพระคุณท่านที่ท่านได้สร้างบ้านแปงเมือง คอยปกป้อง คุ้มครอง รักษาให้พี่น้องชาว ต.สรอย ต.ป่าสัก อ.วังขิ้น จ.แพร่ ซึ่งถือว่าเป็นลูกหลาน เหลน โหลน ให้อยู่ดีมีสุขตลอดมา เป็นที่เคารพ สักการะบูชาของคนในพื้นที่และต่างถิ่น ซึ่งลูกหลานทุกคนที่ไปทำงานต่างจังหวัด และต่างประเทศ ก่อนไปก็ได้ให้ ปู่ตั้งเข้าหรือผู้นำจิตวิญญาณ ไปบนบาลสารกล่าวว่าไว้หากได้ทำงานปนะวพผลสำเร็จแล้วจะนำหมูหรือหัวหมู หรือเหล้าไห ไก่คู่ พอประะสพผลสำเร็จ ถึช่วงเทศกาลสงกรานต์ก็จะมาแก้บนตามที่กล่าวไว้ และมีบางคนถึงเวลาคัดเลือกทหารบางคนขอบนว่าขอให้จับได้ใบดำ อย่างนี้จะไม่ประสพผลสำเร็จ จะได้ใบแดงเป็นทหารทุกคน

เมื่อ 40 ปีที่แล้วมา อดีตผู้นำ และคุณครู, ผู้เฒ่าผู้แก่ได้ทำบันทึจากการเล่าขานสืบทอดกันมาของประวัติเจ้าหลวงหมื่นด้ง จึงได้ทำเป็นหนังสือบันทึกไว้ แต่ไม่สมบูรณ์ จึงได้ผลักดันฝากผู้นำท้องที่ ท้องถิ่นให้ค้นคว้าสืบสานเข้าแผนบรรจุไว้ในการค้นคว้าประวัติจนตกผลึกแล้ว มีการตั้งคณะกรรมการมาชุดหนึ่งเพื่อพัฒนาคือเวียงให้เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ต่อ ไป มาจนถึงยุคผู้นำปัจจุบัน โดยการนำของ ดร.โฉมฉาย กาศโอสถ ได้ประสานผู้นำท้องที่ ท้องถิ่นและปรึกษาผู้รู้ในพื้นที่และเจ้าคณะตำบลแล้วว่าจะสร้างราชานุสาวรีย์เจ้าหลวงหมื่นด้งนครมาประดิษฐานไว้ที่เมืองเก่าท่าน ไว้เป็นที่สักการะบูชาของลูกหลานให้มั่นคงสืบไป จึงมีมติที่ประชุมสร้างโดยเก็บเงินและสร้างเหรียญเจ้าหลวงให้ลูกหลานเช่าบูชาและขอร่วมบริจาค เมื่อได้เงินครบตามจำนวนแล้วจึงได้ว่าจ้างช่างจากเชียงใหม่ ดำเนินงานให้ซึ่งทางคณะกรรมการเครือข่ายได้ ดำเนินงานมาตามลำดับขั้นตอนแล้ว เมื่อ 2 วันที่ผ่านมา ทางคณะกรรมการภาคีเครือข่ายฯ ร่วมกับผู้นำท้องที่ท้องถิ่นและตัวแทนพี่น้องประชาชนตำบลป่าสักได้นำรูหล่อราชานุสาวรีย์ฯแห่รอบไป 2 ตำบลให้พี่น้อง ได้ชื่นชมบารมีก่อนนำไปตั้งประดิษฐานแท่นที่เตรียมไว้

วันนี้จึงเป็นวันนิมิตรหมายที่ดี จึงได้นำองค์จำลองรูปเหมือน เจ้าหลวงฯมาประดิษฐานไว้ ณ สถานที่คือเวียงแห่งนี้ ซึ่งได้รับเกียรติจากนายกฤติเดช สันติวชิระกูล สส.แพร่ เขต 2 พร้อมด้วยคณะครอบครัวมาร่วมเป็นเกียรติในการยกราชานุสาวรีย์เจ้าหลวงหมื่นด้งขึ้นประดิษฐานไว้บนแท่นแล้ว จากนั้นได้ฟ้อนรำถวายเจ้าหลวงพร้อมถ่ายภาพร่วมกับพี่น้องประชาชนที่มาร่วมงานแบบเป็นกันเอง

ต่อมาทาง ดร.โฉมฉาย กาศโอสถ ประธานภาคีเครือข่ายกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า สถานที่คือเวียงหรือเมืองเก่าแห่งนี้ ทางกรมศิลปากรที่ 7 ได้ขุดค้น ศึกษาตรวจสอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานประวัติศาสตร์ไว้ ให้ท้องที่บูรนาการดูแลรักษาพัฒาต่อไป

ในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 09.00 น. ก็จะมีการสมโภชอีกครั้งหนึ่ง โดยมีนายสมหวัง พ่วงบางโพ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ได้ให้เกียรติเดินทางมาเป็นประธานพิธี จึงขอประชาสัมพันธ์เรียนเชิญทุกท่านมาร่วมพิธีงานในวันดังกล่าวด้วย

ร่วมแสดงความคิดเห็น