เร่งแก้ปุ๋ยแพง แนะเกษตรกรใช้ปุ๋ยผสมผสาน ลดนำเข้า

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ราคาปุ๋ยที่แพง ปุ๋ยขาดแคลน ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตร โดยเฉพาะเกษตรกรที่พึ่งพาการใช้ปุ๋ย เคมี เป็นจำนวนมากในการเพาะปลูกพืชไร่ต่างๆ ปัจจัยที่ทำให้ปุ๋ยมีราคาแพง เป็นไปตามกลไกตลาดโลก จีน ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออก ปุ๋ยรายใหญ่ของโลก ชะลอการส่งออก รัสเซียประกาศห้ามส่งออกปุ๋ยเคมี ตลอดจนราคาน้ำมันแก๊ส ค่าระวางเรือสูงขึ้น ส่งผลให้ปุ๋ยมีราคาสูงขึ้น โดยปัจจุบันไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศ ถึงร้อยละ 98 รวมปีละกว่า 5 ล้านตัน หรือคิดเป็น
มูลค่า 40,000 – 50,000 ล้านบาท

เรื่องดังกล่าว รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกียวข้องในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อ แก้ไขปัญหาปุ๋ยแพงและปุ๋ยขาดแคลน โดยมอบหมายให้ทุกกรมเร่งเเก้ไข โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ได้จัดการมาตรการแก้ไขปัญหาปุ๋ยเคมีราคาแพงและไม่มีเสถียรภาพ ปี 2565-2569 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิต ลดการนำเข้าปุ๋ย จากต่างประเทศ และให้เกษตรกรเข้าถึงปุ๋ยที่มีคุณภาพ เพียงพอ และทั่วถึงมาตรการแก้ไขปัญหาระยะสั้น ได้เตรียมการช่วยเหลือเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรจากปัญหาราคาปุ๋ยเคมีที่ปรับตัวสูงขึ้น

อาทิ โครงการพัฒนาธุรกิจบริการดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน ระยะกลาง ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ยภายในประเทศ ทั้งในส่วนของโปแตช และแอมโมเนียมซัลเฟต ซึ่งประเทศไทยมีแหล่งสินแร่โปแตช ที่สามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตแม่ปุ๋ยได้ รวมถึงเจรจาแลกเปลี่ยนแม่ปุ๋ยกับประเทศมาเลเซียและอื่นๆ ส่วนการแก้ปัญหาระยะยาว ได้จัดตั้งกองทุนรักษาเสถียรภาพราคาปุ๋ย เมื่อมีความพร้อมในการผลิตแม่ปุ๋ยโปแตสเซียมแล้ว จะเจรจาการกำหนดราคาแม่ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม ร่วมกับประเทศมาเลเซียและจีน เพื่อให้เกิดเสถียรภาพของแม่ปุ๋ย ทั้งปริมาณและราคา

นอกจกนี้ ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์นำเอาปุ๋ยคอกมาใช้ในภาคการเกษตรเพิ่มมากขึ้น ทั้งในนาข้าว พืชสวน พืชไร่ ในการบำรุงดินปุ๋ยจากมูลสัตว์ สามารถนำมาใช้ในการผลิตพืชในครัวเรือน เพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี และลดต้นทุนการผลิตได้ ทำให้ภาพรวมของปริมาณมูลสัตว์แห้งจากฟาร์มปศุสัตว์ชนิดต่างๆ ที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์ มีปริมาณรวมปีละกว่า 27 ล้านตัน สามารถนำเอามูลสัตว์ไปผลิตเป็นปุ๋ยคอกนำไปใช้เองและจำหน่ายให้เกษตรกรทั่วไป และเชิงพาณิชย์ ช่วยให้สามารถทดแทนปุ๋ยเคมีที่ราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในขณะที่กลุ่มชาวสวนลำไยและสวนผลไม้ ในพื้นที่ภาคเหนือ (เชียงใหม่ ลำพูน ) กล่าวว่า ราคาปุ๋ยที่แพงขึ้น ส่งผลต่อต้นทุน ทำสวนผลไม้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับราคาผลผลิตที่ตกต่ำต่อเนื่อง ต้องยอมรับความจริงว่า พืชเศรษบกิจเกือบทุกอย่าง หากมีการส่งเสริม จะ มีผลลัพท์ เป็นวงจรแบบนี้ ช่วงแรกราคาดีพอมีการปลูกกันมาก ผลผลิตล้นตลาดก็ย่อมเป็นเรื่องธรรมดาที่ราคาจะตกต่ำ

ดังนั้น การ ปรับเปลี่ยนรูปแบบ การทำสวน ทำไร่ ไม่เป็นไปตามกระแส เลือกวิถีเกษตรที่เหมาะสม ไม่ลงทุนมากไป และมีช่องทางการตลาด น่าจะเป็นทางรอดของ เกษตรกร ในอนาคตได้ แต่อย่าฝากความหวังไว้ที่กลไกตลาดมาก เพราะกำลังซื้อลดต่อเนื่อง รูปแบบเกษตรผสมผสาน มีความพอเหมาะ ลงตัวน่าจะสร้างสมดุลย์ในวิถีเกษตรพื้นบ้านได้ในปัจจุบัน

ร่วมแสดงความคิดเห็น