ยุบโรงเรียนเล็ก นักเรียนไม่ถึง 60 คน เป้า 15,000 แห่ง

ผู้บริหารสถานศึกษา ในจ.เชียงใหม่และลำพูน แสดงความคิดเห็นกรณีจะมีการยุบโรงเรียนขนาดเล็กซึ่งมีนักเรียนไม่ถึง 60 คนของ ก.ศึกษาฯนั้น เท่าที่คณะกรรมการสถานศึกษาฯ และบรรดาผู้ปกครอง ส่วนหนึ่งกังวลใจคือ การเดินทางไปเรียนของลูกหลาน และการควบรวมจากโรงเรียนในชุมชนใกล้บ้านไปยังที่เหมาะสม จะส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียนเปลี่ยนไปอย่างไรก็ตามนายเอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (บอร์ด กพฐ.) แถลงสื่อฯว่าขณะนี้มีมติให้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( สพฐ.) รวบรวมอุปสรรคทั้งหมด โดยเขตพื้นที่การศึกษาต้องแจ้งไปยังศึกษาธิการจังหวัดให้ตรวจสอบจำนวนขณะนี้มีประมาณ 15,000 แห่งทั่วประเทศ และปัญหาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ที่เปิดให้ ป. 6 เรียนต่อม.1 ในโรงเรียนเดิม มี 7-8 พันแห่ง บางแห่งมี เพียง 4 คน/ห้อง มีการเสนอให้หยุดรับนักเรียน ตามประกาศล่วงหน้า 1 ปี แล้วให้ไปเรียนในโรงเรียนใกล้เคียง
ทั้งนี้ทีมข่าว ตรวจสอบข้อมูลจากสพฐ.ในพื้นที่เชียงใหม่พบว่า สพป.ทั้ง 6 เขต มีโรงเรียนกว่า 691 แห่ง ในเขต สพป. บางโรงเรียนจากฐานข้อมูล สพฐ.มี 7 ห้องเรียน นักเรียนมี 29 คน ครู/บุคลากร 4 คนแถวๆป่าแป๋ แม่แตง, บางแห่งในเขต พร้าว มี 35 คน ใน 6ห้องเรียน และครู/บุคลากร 2 คน เป็นต้น

สำหรับการบันทึกข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ (สพป.)แต่ละเขต-จังหวัดนั้น จะระบุพื้นที่อปท.ระยะทางสถานศึกษาจากอำเภอ ขนาดสถานศึกษา จำนวนครู /บุคลากร,นักเรียน และห้องเรียน ซึ่งพบข้อมูลที่น่าสนใจว่า โรงเรียนขนาดเล็ก ใน เชียงใหม่มีจำนวนนักเรียนไม่ถึงเกณฑ์ 60 คน หลายแห่ง
ผู้นำชุมชน ในพื้นที่ อ.ป่าซาง ลำพูน และ อ.ฅสันทราย จ. เชียงใหม่ เสนอว่า การยุบโรงเรียนทำให้ อาคาร สิ่งปลูกสร้าง สถานศึกษาที่ถูกยุบทิ้งไปรกร้าง หากจะกำหนดแนวทางการเข้าไปใช้ประโยชน์ จะส่งผลดีต่อชุมชน ดีกว่าปล่อยไว้นานจนชำรุดเสื่อมสภาพไปหรือ เปิดโอกาส ให้พัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ ตามอัธยาศัย ศูนย์ปราชญ์ชุมชนก็ได้ ดีกว่า ปล่อยให้เป็นแหล่งมั่วสุม นักวิชาการศึกษา สังกัดเทศบาลแห่งหนึ่ง ใน..สันทราย เชียงใหม่ กล่าวว่า ปัญหาการยุบที่แท้จริงคือ ไม่มีจำนวนนักเรียนที่เหมาะสมกับสัดส่วนของห้อง บางชั้นเรียนมี ไม่ถึง10 คน ในระดับประถม-มัธยมต้น จะแตกต่างจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก-อนุบาล บรรดาผู้ปกครอง ยังนิยม ส่งเด็กๆไปเรียน พอเข้าระดับประถม-มัธยมฯจะมีค่านิยมว่าต้องส่งลูกไปเรียนที่ดังๆ มีโอกาสสอบแข่งขันเรียนต่อในระดับต่างๆเพิ่มขึ้น

สำหรับกรณีสังคมตั้งข้อสังเกตุว่า เด็กที่เรียน จะเป็นลูกหลานแรงงานข้ามชาติ และเกิดในบ้านเรา อย่าลืมว่า ตามหลักสากล การเสริมสร้างโอกาสทางการแพทย์ สาธารณสุข และการศึกษาเป็นสิ่งที่ทุกสังคมต้องร่วมส่งเสริม แม้ ผู้บริหาร ท้องถิ่นจะรับรู้ว่าจำนวนนักเรียนที่แท้จริง เป็นลูกหลานคนในพื้นที่จริงเท่าไหร่ และส่วนหนึ่งมาจากไหน” การบริหารจัดการคุณภาพชีวิตเด็กเยาวชน เพื่อก้าวสู่สิ่งดีๆในชีวิต ไม่ควรมีเงื่อนไขใดๆ”
ส่วนประเด็น สพฐ. มีแผนจัดสรรงบ 1 ล้านบาทให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทุกแห่ง ถ้าไม่ซ้ำซ้อน งบที่จัดสรร5 รายการ ทั้ง ค่าจัดการเรียนการสอน ,ค่าหนังสือเรียน, ค่าอุปกรณ์การเรียน, ค่าเครื่องแบบ,ค่ากิจกรรมการพัฒนาผู้เรียนต้องกำหนดให้ชัดเจน รวมถึงมาตรฐานตรวจสอบการจัดสรรงบที่ว่า นำไปพัฒนาด้านใดบ้าง

ร่วมแสดงความคิดเห็น