มติเอกฉันท์ “ธนาธร” ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. หลังศาลรัฐธรรมนูญ

เมื่อวันที่ 23 พ.ค. มีรายงานข่าวแจ้งว่า ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ 9:0 รับพิจารณาคุณสมบัติ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ จากกรณีถือหุ้นสื่อ พร้อมมีมติ 8:1 สั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทันทีศาลรัฐธรรมนูญพิจารณากรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๔๒ ว่า สมาชิกภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ (ผู้ถูกร้อง) สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๑ (5) ประกอบมาตรา ๔๘ (๓) หรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๒ ได้บัญญัติให้ คณะกรรมการการเลือกตั้งส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๑ (๒) ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๔๘ (๓)

เมื่อข้อเท็จจริงตามคําร้องและเอกสารประกอบคําร้องปรากฏว่าผู้ร้องมีมติให้ส่งเรื่องมายัง ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากผู้ร้องเห็นว่า ผู้ถูกร้องเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท วี-ลัค มีเดีย จํากัด อยู่ในวันที่สมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งเป็นลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๔๘ (๓) และ ผู้ร้องได้ยื่นคําร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๑ (5) กรณีจึงเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๒ วรรคหนึ่งและวรรคสี่ ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณา ของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๗ (๕) แล้ว จึงมีมติเอกฉันท์มีคําสั่งรับคําร้องไว้พิจารณา วินิจฉัย และแจ้งให้ผู้ร้องทราบ และส่งสําเนาคําร้องให้ผู้ถูกร้องยื่นคําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับสําเนาคําร้อง

สําหรับคําขอของผู้ร้องที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคําวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๒ วรรคสอง ศาลพิจารณาคําร้องและเอกสาร ประกอบคําร้องแล้ว เห็นว่า คดีนี้ผู้ร้องได้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา ๔๒ วรรคสอง และปรากฏข้อมูลจากเอกสารประกอบคําร้องว่า ตลอดระยะเวลาสิบปี ที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นทุกครั้งจะส่งสําเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ระบุวันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น พร้อมมีหนังสือนําส่งนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครในเวลาใกล้ชิดกัน ซึ่งแตกต่างจาก การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นในคดีนี้ตามเอกสารประกอบคําร้องไม่ปรากฏว่ามีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น จึงปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ถูกร้องมีกรณีตามที่ถูกร้อง ประกอบกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกร้องอาจ ก่อให้เกิดปัญหาข้อกฎหมายและการคัดค้านโต้แย้งเป็นอุปสรรคต่อการดําเนินงานสําคัญของที่ประชุม สภาผู้แทนราษฎรได้ จึงมีมติเสียงข้างมาก ๘ ต่อ ๑ ให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จนกว่าศาลจะมีคําวินิจฉัยส่วนคําขอของผู้ร้องที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งกําหนดมาตรการหรือวิธีการอื่น เป็นการชั่วคราวก่อนการวินิจฉัย ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของ ศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๗๑ นั้น เมื่อศาลได้มีคําสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๘๒ วรรคสอง แล้ว ในชั้นนี้จึงยังไม่มีเหตุจําเป็นที่จะกําหนดมาตรการหรือ วิธีการคุ้มครองชั่วคราวใด ๆ อีก

สําหรับเรื่องพิจารณาที่ ๘/๒๕๖๒ กรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๓๑ (๑) ว่า คําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑/๒๕๖๒ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ลงวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ มีปัญหาเกี่ยวกับ ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๑ วรรคสอง และมาตรา ๒๖๙ (๑) (ข) และ (ค) หรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑/๒๕๖๒ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา สมาชิกวุฒิสภา ลงวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ แล้วเห็นว่า คําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับดังกล่าวเป็น เพียงการออกคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทําหน้าที่กลั่นกรอง เสนอรายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดแรก ตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๙ เท่านั้น มิใช่เป็นการออกกฎเกณฑ์ที่มีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป จึงมิใช่เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามความหมาย ของรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๓๑ (๑) ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ จึงมีคําสั่งไม่รับคําร้องไว้ พิจารณาวินิจฉัย

ร่วมแสดงความคิดเห็น