พมจ.แม่ฮ่องสอน หนุนสร้างพลังเครือข่าย เพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

พมจ.แม่ฮ่องสอน หนุนสร้างพลังเครือข่ายเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยการสร้างความรู้ และการเรียนรู้ทางสังคม ร่วมกันระหว่าง ภาครัฐเอกชน ภาคราชการ และภาคประชาชน ประชาสังคมต่างๆ รวมถึงเชื่อมร้อยเพื่อขับเคลื่อนพลังการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ภายใต้กิจกรรมสุนทรียสนทนา
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2562 สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ร่วมกับ สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคมโดย จัดโครงการ สร้างพลังเครือข่ายเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ณ โรงแรมสิบล้านบุรี รีสอร์ท ต.ปางหมู อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ทั้งนี้เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ พัฒนารูปแบบการทำงานของเครือข่ายด้านการพัฒนาสังคม เสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่าย โดยการสร้างความรู้ และการเรียนรู้ทางสังคม ร่วมกันระหว่าง ภาครัฐเอกชน ภาคราชการ และภาคประชาชน ประชาสังคมต่างๆ รวมถึงเชื่อมร้อยเพื่อขับเคลื่อนพลังการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ภายใต้กิจกรรมสุนทรียสนทนา ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม ประจำปี 2562
โดยมีอาจารย์ ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ ประธานสถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม นายวิสุทธิ์ เหล็กสมบูรณ์ นักวิชาการอิสระ ขับเคลื่อน พัฒนาในประเด็นเด็ก สตรี คนพิการ ชาติพันธุ์ และ นางสาวกรรณจริยา สุขรุ่ง อดีตผู้สื่อข่าวและนักเขียนสารคดีเชิงข่าว หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ที่ปรึกษาบรรณาธิการวารสารจุฬาสัมพันธ์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) และงานการติดตามสนับสนุนการเรียนรู้และวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลง เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ การ พัฒนารูปแบบการทำงานของเครือข่ายด้านการพัฒนาสังคม โดยผู้เข้าร่วมอบรมประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และเจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และเครือข่ายภาคประชาชนนางสาวสิทธิอาพร เชยนาค พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า ปัจจุบันเครือข่ายทางสังคม มีความสำคัญมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ เป็นขบวนการทางสังคม ที่ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อมูลข่าวสารประสบการณ์ แล้วพัฒนาไปสู่การวางแผนร่วมกัน ดำเนินกิจกรรมบางอย่างรวมกัน ทำให้ด้านหนึ่งหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อน อีกด้านหนึ่งทำให้กิจกรรมนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะเป็นการประสานพลัง เป็นการใช้ทรัพยากร ใช้พลังงาน อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการรณรงค์เรื่องต่างๆถ้าทำเป็นเครือข่ายจะได้ผลมากกว่า ซึ่งถ้าวัตถุประสงค์ของเครือข่ายดี การเชื่อมโยงภายในเครือข่ายเหมาะสม เอื้อให้เกิดความเคลื่อนไหวของกิจกรรมและความแข็งขันของสมาชิก โครงการหรือกิจกรรมมีลักษณะกระจายอำนาจไปให้กับมวลสมาชิกที่ได้รับประโยชน์ การดำเนินงานของเครือข่ายจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ในที่สุด

ร่วมแสดงความคิดเห็น