“ไทใหญ่” ในล้านนา “ชีวิตต้องสู้” ในเชียงใหม่

ภาคเหนือ มีความเป็น “พหุสังคม” ค่อนข้างเด่นชัด สะท้อนผ่านวิถีชีวิต ความเป็นอยู่เทศกาล งานบุญ ประเพณีและ สถาปัตยกรรม โดยเฉพาะพื้นที่ เชียงใหม่,แม่ฮ่องสอน ,เชียงราย ซึ่งมีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านการเข้ามาของผู้คนต่างบ้าน ต่างเมือง แม้จะมีสถานะตามระเบียบ กฎหมายไทยแตกต่างกันไป แต่ “รากเหง้า” ทุกชีวิต โดยเชื้อชาติ สัญชาติ สาแหรกตระกูล ล้วนมีจุดกำเนิดกฎกติกาสังคม ทุกถิ่นฐาน จำเป็นต้องกำหนดคำเพื่อสื่อความหมายให้เข้าใจกลุ่มชาติพันธุ์ ,กลุ่มชนเผ่า ,กลุ่มต่างด้าว ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจหรือเป็นปมในชีวิต ควรตระหนักและภาคภูมิใจด้วยซ้ำว่า “ชีวิตมีราก จากที่ใด” เช่นเดียวกับ “ไทใหญ่ “หรือจะเรียกว่า ฉาน ,คนไตย ,และอื่นๆท้ายที่สุดเมื่อเวลาผ่านเลยไป ก็มักจะมีสร้อยสรรพนามบ่งบอกถิ่นฐาน เช่น คนไตเมืองแม่ฮ่องสอน ,ไทใหญ่เชียงใหม่, คนไตยเมืองลาโดยบริบทการสื่อสะท้อน มีนัยยะถึงความภาคภูมิใจ ในความเป็นส่วนหนึ่งของถิ่นฐานที่อยู่นั้นๆชัดเจน
หากสืบสาวรากเหง้า การอพยพ พลัดถิ่นเข้ามา ในราชอาณาจักรไทย บ้างก็รับรู้ในแง่ปูมตำนานเรื่องเล่าจากรุ่นสู่รุ่น หรือ ข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์,เอกสารโบราณ กระทั่งงานวิจัยต่างๆเกี่ยวกับไทใหญ่ มักนำไปสู่ข้อคิดเห็นที่หลากหลาย เช่น การสื่อถึงกลุ่มชาวไทใหญ่ในประเทศเพื่อนบ้าน บางกลุ่มต้องการอิสระจากการปกครอง จับอาวุธขึ้นต่อสู้ เกิดศึกสงครามจนต้องอพยพเข้ามาไทย เพื่อความปลอดภัย ทั้งพื้นที่ทาง อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน และอ.ฝาง ,อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่
ประวัติศาสตร์โบราณ เกี่ยวกับไทใหญ่ สืบย้อนไปถึงตำนานเมืองเมา อาณาจักรแสนหวี น่านเจ้าเมืองคำของชาวไทใหญ่ อาจเป็นพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม ที่น่าสนใจอีกมุมเช่นกัน ข้อเท็จจริงด้านภูมิศาสตร์ชี้ชัดว่า ดินแดนไทใหญ่อยู่ท่ามกลางอำนาจรัฐขนาดใหญ่ คือ จีน พม่าและไทย ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามามีเกี่ยวข้องด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครองตามยุคสมัยพลวัฒน์ในปัจจุบัน ค่อนข้างเน้นไปที่ งานศึกษา วิจัยเชิงพื้นที่ เช่นชาวไทใหญ่ในเมืองแม่ฮ่องสอน อพยพมาจากดินแดน ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพม่าที่เรียกว่า “รัฐฉาน” แถบเมืองหมอกใหม่ เมืองนาย เมืองลานเคอ เมืองอื่นๆ แถบลุ่มแม่น้ำสาละวิน เข้ามาอาศัยในจ.แม่ฮ่องสอนราวๆ พ.ศ. 2374 สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นต้น
ส่วนในพื้นที่ จ.เชียงใหม่นั้น ชาวไทใหญ่รุ่นแรกๆ อพยพมาอาศัยอยู่ตามแนวตะเข็บชายแดนภาคเหนือ ไทย-พม่า เป็นการหนีภัยสงคราม ปัญหาทางการเมืองและหางานทำ “ไทใหญ่” ครั้งดำรงความเป็นราชอาณาจักร มีความยิ่งใหญ่ ในรอยอดีต ทำให้บางกลุ่มพยายามต่อสู้ ช่วงชิงเกียรติภูมิในความเป็นรัฐคืนมาให้ได้ เช่น กองกำลังกู้ชาติไตใหญ่ SSA. (Shan State Army)ซึ่งตั้งอยู่ที่ ดอยไตแลง รัฐฉานใต้ เขตติดต่อไทย (บริเวณ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน)กับพม่าทุกเรื่องราว เกี่ยวกับ ไทใหญ่ ล้วนมีที่มาที่ไป แต่ในสังคมปัจจุบัน ความเป็น “พหุสังคม” ในโลกไร้พรมแดน การปรับตัวเปลี่ยนแปลงตามกฎกติกาสังคม ในแต่ละถิ่นฐานที่ดำรงอยู่เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำให้ได้ การมีสถานะเป็น “ไทใหญ่” ในแต่ละเมืองใหญ่ๆในไทย เช่น เชียงใหม่ ความพยายามที่จะแสดงบทบาทในบางพื้นที่บางเรื่องเล่าลือ ราวกับเส้นทาง ยากูซ่า หรือนักรบพลัดถิ่น ยังไม่มีข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์แต่บนสมมติฐานที่เป็นจริง คงไม่มีกลุ่มบุคคลย้ายถิ่นฐานใด อยากจะฝ่าฝืนเงื่อนไขกฎกติกาสังคมในพื้นที่ซึ่งเข้ามาอาศัยใบบุญ
ด้วยสังคมต่างรากเหง้า ความเป็น “ไทใหญ่” มักจะเป็นปมข้อคำถามในใจเกิดขึ้นว่า “ผิดด้วยหรือที่เกิดมาเป็นลูกหลานไทใหญ่” สอดรับกับผลสำรวจ งานวิจัยภาคสนามโดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน ชี้ว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นสาเหตุแรกที่ทำให้ต้องจากบ้าน เข้ามาทำงานในไทย ตามด้วยปัญหาการถูกกดขี่ทางการเมืองและความขัดแย้ง การสู้รบในพื้นที่ส่วนใหญ่ มีความหวังที่จะกลับคืนสู่บ้านเกิดเมืองนอน เมื่อมีความพร้อมจะกลับไป อาจจะมีเพียงรุ่นลูก รุ่นหลาน ที่เกิดและเติบโต ในแผ่นดินไทยบางส่วน พยายามทำความเข้าใจในแผ่นดินมาตุภูมิที่รุ่นพ่อ แม่จากมากลุ่มแรงงานข้ามชาติมาจากรัฐฉานมากกว่า ร้อยละ 50 ที่สำรวจระบุถึงด้านความไม่ปลอดภัยในพื้นที่ เป็นสาเหตุทำให้เข้ามาไทย มาหางานทำในเชียงใหม่ สร้างครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่นผลสำรวจความหวังของประชากรย้ายถิ่นจากรัฐฉานที่พำนักในไทย เกือบทุกครอบครัวยังหวังกลับไปพร้อมหน้าพร้อมตาที่บ้านเกิด แต่ก็มีหลายครอบครัวหวังเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่นี่ ภายใต้เงื่อนไข นโยบาย ให้โอกาส “ไทใหญ่” รุ่นใหม่ๆที่เกิดและเติบโตได้รับการศึกษาในไทย ซึ่งแนวทางที่รัฐไทยจะให้สัญชาติไทยกับกลุ่มบุคคลเหล่านี้ต้องมีสถานะพิเศษ โดดเด่นจริงๆ เช่น มีชื่อเสียง, มีความรู้ ความสามารถ หรือกรณีบางคน ในทีม หมู่ป่าที่ติดภายในถ้ำหลวง เป็นต้นอย่าลืมว่าภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ระหว่างปี พ.ศ. 2549 ถึงปี พ.ศ. 2552 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 (บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน กลุ่มคนไร้รากเหง้า) สังคมไทย ปฏิเสธไม่ได้ว่า “กลุ่มนักรบแรงงาน ในสถานะความเป็น ไทใหญ่” เหล่านี้ สามารถก่อร่างสร้างตัวเป็นปึกแผ่น มั่นคง ในหลายๆพื้นที่ในภาคเหนือ จนอาจนำไปสู่การสร้างเงื่อนไขต่อรอง กดดัน ภาครัฐฯ เช่น กรณีแรงงานรับเหมาที่วงการรับรู้ว่า กลุ่มผู้รับเหมาที่ผูกขาดในตลาดก่อสร้าง ของเชียงใหม่นั้น มีรายใดบ้าง การเคลื่อนไหวเรียกร้องให้จัดการกลุ่มบุคคลที่ฉ้อฉล แสวงประโยชน์ จากกลุ่มไทใหญ่ บางสาขา อาชีพทุกๆสังคม ในโลกไร้พรมแดน ปรากฎการณ์ต่างๆ ที่เห็น และรับรู้กันในด้านต่างๆที่ผิดกฎหมาย ทุกคนไม่อาจอยู่เหนือกฎหมายที่เที่ยงธรรมได้ ไม่ว่าจะเชื้อชาติ สัญชาติใดๆก็ตาม ถ้าผิดก็ต้องรับโทษ ถ้าฝ่าฝืนก็ต้องยอมรับผล (กรรม) ที่ตามมา

ร่วมแสดงความคิดเห็น