กรมอนามัย ชี้ชัด เลี้ยงทารกด้วยความเชื่อผิด ๆ เสี่ยงอันตราย ย้ำ กินนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนดีที่สุด

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยเลี้ยงทารกด้วยความเชื่อแบบผิด ๆ  เสี่ยงอันตรายพร้อมย้ำ คำแนะนำจากองค์การอนามัยโลก แนะทารกควรกินนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค หลังครบ 6 เดือน จึงให้กินนมแม่ควบคู่อาหารตามวัย
แพทย์หญิงพรรณพิมล  วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากข่าวในสังคมออนไลน์ในกรณีที่ย่าของเด็กเอาน้ำผึ้งผสมน้ำให้หลานวัย 2 เดือนเศษ ๆ กินโดยมีความเชื่อหรือเข้าใจผิดตามที่ “เขาว่า” มาว่ามันช่วยอะไรก็ไม่รู้นั้น  เป็นความเชื่อและการกระทำที่ไม่ถูกต้อง และอาจจะส่งผลกระทบต่อทารกได้
เนื่องจากตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ เด็กควรได้กินนมแม่อย่างเดียวติดต่อกันตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 เดือน โดยไม่ต้องให้น้ำหรืออาหารอื่น เนื่องจากนมแม่มีสารอาหารครบถ้วน ย่อยง่าย และถูกสร้างมาให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของทารกที่มีระบบการย่อยและดูดซึมอาหารยังพัฒนาไม่เต็มที่  หากกินอาหารอื่นที่ไม่ใช่นมแม่เข้าไปอาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติ เช่น ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ท้องเสีย แพ้อาหาร และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากลำไส้อุดตัน  แต่หลังจากทารกอายุครบ 6 เดือน เมื่อระบบย่อยและดูดซึมอาหารพัฒนาได้ค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว  จึงให้เริ่มกินอาหารที่เหมาะสมตามวัย เช่น กล้วยน้ำว้า ไข่แดง ข้าว ผัก ผลไม้ และสารอาหารอื่นๆ ควบคู่กับการกินนมแม่อย่างต่อเนื่อง หากลูกวัยทารกมีอาการ เช่น ท้องผูก แหวะนม ควรปรึกษาสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน
“นมแม่ถือเป็นอาหารที่มีคุณค่าที่สุดสำหรับลูก มีสารอาหารกว่า 200 ชนิด ที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต พัฒนาสมอง จอประสาทตา ทำให้เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว นมแม่ในระยะ 1-7 วันแรก จะมี     ยอดน้ำนมที่เรียกว่า หัวน้ำนม หรือโคลอสตรัม ถือเป็นยอดอาหารที่อุดมไปด้วยสารคาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ครบถ้วน ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำนมแม่มีภูมิคุ้มกันสูงสุด เปรียบเสมือนได้รับวัคซีนหยดแรกของชีวิต เพื่อป้องกัน    เชื้อโรคต่าง ๆ เพราะเด็กแรกเกิด

ร่วมแสดงความคิดเห็น