เชียงใหม่นิวส์สอนคำเมือง

 

“อิดอก” อ่านว่า อิด-อก

เป็นภาษาถิ่นเหนือ มีความหมายว่า “เหนื่อยใจ”

มักจะใช้คู่กันกับ “อิดใจ” เช่น อิดอกอิดใจ

 

.

.

.

“แป่บแต้บแย้บ” เป็นภาษาถิ่นเหนือ

มีความหมายว่า บางมากๆ ถึงมากที่สุด

เช่น ข้าวเหนียวห่อนี้แป่บแต้บแย่บ

แปลว่า “ข้าวเหนียวห่อนี้บางมากๆ” เป็นต้น

.

.

.

 

วอนทุกหน่วยงานเห็นใจ เร่งพัฒนาให้กดเงินแบงค์ซาว (แบงค์ยี่สิบบาท)

หรือแบงย่อยได้ … เหตุ ยุคข้าวยากหมากแพง ข้าวเหนียวก็ราคาขึ้น

วอนเห็นใจ … เพราะช็อตจริงๆ !

.

.

.

 

“ลักเมีย” เป็นภาษาถิ่นเหนือ

แปลว่า “แอบกลับ”

เช่น “ลักเมียบ้าน” คือ แอบกลับบ้าน เป็นต้น

.

.

.

 

นอนดึก ตื่นขวาย ข้าวงายบ่ตันได้กิน”

ใครเป็นแบบนี้พ่องเจ้า ?

.

.

.

“จะเล้อเกลี้ยง” เป็นภาษาถิ่นเหนือ

หมายถึง “จิ้งเหลน” เน่อ

.

.

.

 “ตำหมู่นี้” เป็นภาษาถิ่นเหนือ

หมายถึง ละแวกบริเวณใกล้ๆนี้

ยกตัวอย่างเช่น มีลูกหลานมาบอกว่า ขอไปเล่น “ตำหมู่นี้”

ก็คือ ขอไปบริเวณละแวกใกล้ ๆ นี้นั่นเอง

.

.

.

 

“โม้ม” เป็นภาษาถิ่นเหนือ

หมายถึง การกินอาหารคำใหญ่ๆ ไปในครั้งเดียว

เพราะฉะนั้น การ “โม้ม” จึงมีความเสี่ยงที่อาหารจะติดคอเป็นอย่างมาก

การโม้มจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เลี่ยงได้ก็เลี่ยงเน่อ

 

.

.

.

“หล่อ” เป็นคำที่ใช้ในบริบทถิ่นเหนือ

ณ ที่นี้ หมายถึงการ “หล่อเข้าใส่”

ที่หมายถึงการ “พุ่งเข้าหา” นั่นเอง

.

.

.

“พ่อง” เป็นภาษาถิ่นเหนือ แปลว่า “บ้าง” เน่อ

โดยมักใช้ลงท้ายในประโยคคำถาม

เช่น “วันนี้เป็นใดพ่อง” (วันนี้เป็นยังไงบ้าง) เป็นต้น

ร่วมแสดงความคิดเห็น