ราชภัฎปลุกพลัง แก้วิกฤตินศ. ลด ปิดหลักสูตรภาคค่ำ จ่อยุบรวมหลายจังหวัด

วงเสวนากลุ่มผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา ภาคเหนือ กล่าวถึงกรณีกระแสข่าวมหาวิทยาลัยราชภัฎกำลัง
เผชิญปัญหานักศึกษาลด บางสาขาวิชา โดยเฉพาะหลักสูตรภาคค่ำ ภาคพิเศษวันหยุด ไม่มีผู้สนใจสมัครเรียน รวมถึงหลักสูตรปกติ
บางคณะต่ำกว่าเกณฑ์ จนส่งผลต่อการจัดสรรงบด้านบุคลากร
ผู้บริหารสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา ในเชียงใหม่ กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ใช่มีเฉพาะกลุ่มราช
ภัฎ แต่กลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชนและของรัฐ ก็เผชิญวิกฤตินี้ เนื่องจากสถานการณ์ตลาดการศึกษาเปลี่ยนไป
หลักฐานในระบบทีแคส 2562 การรับสมัครนักศึกษาของมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาที่เข้า
ร่วมกว่า 92 แห่งจากที่นั่ง 3.9 แสนคน หายไปแสนกว่า เป็นปรากฎการณ์ที่ยังมีข้อโต้แย้ง หลายทัศนะ ทั้งการไปเรียนสายวิชาเฉพาะ,
เรียนต่างประเทศ, หรือเข้าระบบเรียนออนไลน์ กระทั่งปัญหาด้านค่าใช้จ่าย สารพัดเรื่องที่ยังไม่ได้ข้อสรุป
หนึ่งในผู้บริหารมหาวิทยาลัย ในเมืองเชียงใหม่ ให้ความคิดเห็นว่า สถาบันอุดมศึกษาในบ้านเรา มี
การแข่งขันสูงไม่พอ ยังต้องแข่งด้านคุณภาพ กับสถิติต่างๆที่กระหน่ำในตลาดการศึกษาของอาเซียนอีก ผลกระทบจากจำนวนนักศึกษา
ที่ลดลง มีหลายแห่ง ไม่จำเพาะกลุ่มราชภัฎ บางสถาบันออกนอกระบบ มีการขยายวิทยาเขต เด็กในพื้นที่เลือกเรียนใกล้บ้านก็มี
รายได้ที่ลดลง ทางกลุ่มราชภัฎ เคยเสนอขอขึ้นค่าเทอม ก็ยังไม่คืบหน้า แม้จะพยายามปรับปรุงจุด
แข็งด้านหลักสูตรคุรุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทยอยปิดหลักสูตรที่ไม่มีผู้สมัครเรียน รวมถึงการ
ปิดหลักสูตรภาคค่ำ การสอนในวันเสาร์-อาทิตย์
” ภารกิจมหาวิทยาลัย แต่ละแห่งแตกต่างกัน ราชภัฎ โดดเด่นเรื่องการผลิตครูผู้สอน ต่อไปต้องเน้น
จุดแข็ง ซึ่งที่อื่นๆที่เคยเปิดทุกศาสตร์ ก็เริมหันมาทบทวนจุดแข็งของสถาบันกันมากขึ้น เปิดหลักสูตร สร้างอาคารการเรียน การสอน
แล้วไม่มีผู้เรียน จะเป็นปมปัญหาภายในสถาบันขึ้นมา เกษียณไป แต่อายุความคดีไม่สิ้นสุด วุ่นไปหมด”
ด้านผู้ปกครอง แสดงความคิดเห็นว่า สมัยนี้ ต้องมองตลาดแรงงานเป็นหลัก ไม่ใช่สอบติดก็เรียนๆไป
การกู้กยศ. ก็ยากในเรื่องคนค้ำแล้ว มีขั้นตอนตรวจสอบละเอียดกว่าเดิม ดังนั้นศักยภาพครอบครัวก็มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนของ
เด็กๆด้วย
ประกอบกับ เรียนจบมา ระดับปริญญาตรี ว่างงานแต่ละปีเป็นแสน พอเปิดสอบรับราชการจากเดิม
สมัครไม่มาก ทุกวันนี้แค่ข้าราชการท้องถิ่น รับหมื่นเศษ แต่แห่สมัครสอบกัน6-7 แสนคน ภาคเอกชนก็คัดคนทำงานมากขึ้น บางสาย
งานมีปัญญาประดิษฐ์ เครื่องจักรกลเข้ามาแทนคนอีก ยิ่งตกงานกันมากขึ้น
นักวิชาการศึกษา ระบุว่าสถาบันอุดมศึกษากว่า 170 แห่ง ตัวเลขผู้เรียนใหม่ต้องอยู่ที่ 4-5 พันคนต่อ
มหาวิทยาลัยในแต่ละปีการศึกษา ปัจจุบัน อยู่ที่ 3 พันคน หากเป็นเช่นนี้ ใน ปี 2563จะเหลือมหาวิทยาลัยทั้งระบบ 100 แห่งช่วงที่
ผ่านมา เอกชนปิดตัวลงกันเป็นส่วนใหญ่ ส่วนของรัฐ มีงบประมาณก็ยังต้องปิดบางสาขาวิชาที่ไม่ตอบโจทย์ของตลาดแรงงาน
ผู้สื่อข่าวตรวจสอบข้อมูลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในอาเซียน ปี 2562 มีที่เข้าหลักเกณฑ์ 121
แห่ง ไทย 28 แห่งมาเลเซีย 34 แห่ง อินโดนีเซีย 24 แห่ง เวียดนาม 14 แห่ง สิงคโปร์ 11 แห่ง ฟิลิปปินส์ 7 แห่ง บรูไน 2 แห่ง และ
เมียนมาร์ 1 แห่ง
โดย 10 อันดับแรกนั้น ในอันดับ 1 คือมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงค์โปร์ 70.9 คะแนน ไทยติดอันดับ
4 ม.มหิดล 49.3 คะแนน, อันดับ 6 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 44.7 คะแนน และอันดับ 10 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 30.6 คะแนน ใน
ขณะที่กลุ่ม ม.ราชภัฎ ยังไม่เคยติดอันดับท๊อปเทน ในแต่ละครั้งที่มีการสำรวจทุกๆปีการศึกษา
อย่างไรก็ตาม ในการจัดอันดับคุณภาพ 179 สถาบันการศึกษาที่ผ่านมา พบว่ามหาวิทยาลัยราชภัฎ
กลุ่มภาคเหนือ 8 แห่ง เช่น ราชภัฎลำปาง( มร.ลป. )อันดับ 56 ของไทย,ราชภัฏเชียงใหม่ (มร.ชม.)อันดับ 72 ของไทย และในจำนวน
38 แห่งนั้น มีหลายแห่ง ยุบควบรวมไปแล้ว เช่น ราชภัฏนครพนม ควบรวมเป็นส่วนหนึ่งของ มหาวิทยาลัยนครพนม เมื่อ 2 กย. พ.ศ.
2548 ราชภัฏกาฬสินธุ์ควบรวมเป็นส่วนหนึ่งของ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เมื่อ 9 กย. พ.ศ. 2558 เป็นต้น
ไทยมีสถาบันอุดมศึกษา/มหาวิทยาลัย ที่จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงระดับปริญญา
เอกจำนวนมาก ทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐ ,ในสังกัดของรัฐ,เอกชน, สถาบันการศึกษาเฉพาะทาง ,มหาวิทยาลัยราชภัฏ และมหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคล ไม่เพียงแต่ประเทศไทยที่ตกอยู่ในสถานการณ์นี้ แม้แต่สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้นำการศึกษาของโลก ก็เผชิญ
ปัญหาในลักษณะเดียวกัน เมื่อต้นปี 2561 มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาปิดตัวไปกว่า 500 แห่ง

ร่วมแสดงความคิดเห็น