ความหมายของ “ซุ้มประตู” วัดในล้านนา

ประตูโขงหรือประตูทางเข้าวัด ในคติทางพุทธศาสนาเปรียบเสมือนดั่งป่าหิมพานต์ ทางผ่านระหว่างชมพูทวีปสู่เขาพระสุเมรุอันเป็นศูนย์กลางของจักรวาล โดยจักรวาลทีปนี้ได้บรรยายถึงรายละเอียอดของป่าหิมพานต์ สระอโนดาตและภูเขาทั้ง 5 ที่แวดล้อมสระ คือ สุทัสสนกูฏ จิตรกูฏ กาฬกูฏ คันธมาทนกูฏและไกรลาสกูฏ ซุ้มประตูโขงที่พบในล้านนา ส่วนใหญ่สร้างเป็นประตูวงโค้งต่อยอดขึ้นไป 5 ชั้น ประดับด้วยลวดลายพรรณพฤกษา รวมถึงรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น นาค มกร หงส์ กินรี มอม ตัวลวง เป็นต้น ส่วนยอดที่ซ้อนลดหลั่นกันเป็นชั้นได้จำลองซุ้มวิมานของเทพยดาในระดับภพภูมิต่าง ๆแนวคิดในการสร้างซุ้มประตูของชาวล้านนา นอกจากการสร้างซุ้มประตูโขงแล้ว ยังพบซุ้มประตูป่าที่ทางเข้าวัดซึ่งสร้างขึ้นในวาระพิเศษการฟังเทศน์มหาชาติ หรือการตั้งธรรมหลวง ที่บริเวณประตูทางเข้าวัด ทางขึ้นวิหารและรอบ ๆ ธรรมมาสน์ภายในวิหารล้วนประดับตกแต่งด้วยราชวัติ ต้นกล้วย ต้นอ้อย ตุงช่อ และเครื่องประดับอื่น ๆ เพื่อสื่อความหมายถึงป่าหิมพานต์การสร้างซุ้มประตูโขงและซุ้มประตูป่าจึงมีความชัดเจนในเรื่องการจำลองป่าหิมพานต์ เนื่องด้วยอานิสงส์จากการฟังธรรมมหาเวสสันตระชาดก ที่ต้องฟังให้จบภายใน 1 วันและสักการะบูชาด้วยสิ่งมงคลต่าง ๆ อย่างละพัน จักบังเกิดสุข 3 ประการและจะได้เกิดร่วมยุคสมัยกับพระศรีอารยเมตไตรยเพื่อให้บาปกรรมหมดไปและให้พบกับพระนิพพานเป็นที่สุดบทความโดย
จักรพงษ์ คำบุญเรือง

ร่วมแสดงความคิดเห็น