ชัยมังคละทิศของการสร้างเมืองเชียงใหม่

ในทางการเมือง พื้นที่แห่งนี้เป็นศูนย์กลางการบริหารของอาณาจักรล้านนา เป็นที่ตั้งของ “หอคำ” หรือพระราชวัง และคุ้มเจ้านาย ซึ่งเป็นคณะผู้บริหารที่เรียกว่า “เจ้าขัน 5 ใบ” และ “เค้าสนามหลวง” ซึ่งมักมีการโยกย้าย “หอคำ” ตามความประสงค์ของกษัตริย์พระองค์ใหม่ เช่น สันนิษฐานว่า “หอคำ” สมัยพญามังรายอยู่บริเวณเวียงแก้ว ต่อมามีการย้านที่ตั้งเสาอินทขิลจากสะดือเมืองไปวัดเจดีย์หลวงแล้วใช้พื้นที่นั้นเป็นที่ตั้งของ “หอคำ” และคุ้มเจ้านาย ใช้เป็นที่ทำการเค้าสนามหลวง เรียกพื้นที่ว่างกลางเวียงว่า “ข่วงหลวง” หรือ “เค้าสนามหลวง”ตั้งแต่สมัยพระเจ้ากาวิละเป็นต้นมา บริเวณกลางเวียงมี “หอคำ” และคุ้มเจ้านายเรียงรายเป็นลำดับ ตำแหน่งคล้ายวังหลวง วังหน้าและวังหลังของกรุงเทพฯ เรียกว่า ราชสัณนิเวสน หอคำพระราชชะวังหลวง เจ้ามหาอุปราชชะวังหน้า เจ้ารัตตนะราชชะวังหลัง ขณะนั้น
รับอิทธิพลกรุงเทพฯแล้ว ในยุคก่อนเทศาภิบาลก่อนกรุงเทพส่งข้าหลวงขึ้นมาจัดการปกครองบริเวณพื้นที่สายดือเมือง จึงประกอบด้วย หอคำ หอเจ้าอุปราชาราชวังหน้า หอเจ้ารัตตนะราชวังหลังและคุ้มเจ้านาย ซึ่งใช้เป็นสถานที่สั่งราชการ บริหารกิจการบ้านเมืองของนครเชียงใหม่ และอาณาจักรล้านนา โดยอาณาบริเวณกว้างคือด้านเหนือจรดวัดหัวข่วง ด้านใต้จรดประตูเชียงใหม่ ขณะที่ด้านตะวันตกจรดวัดพระสิงห์และด้านตะวันออกจรดประตูเชียงเรือก เพราะอาณาบริเวณดังกล่าวมีหลักฐานเรียกว่า “ข่วงหลวง” ในปัจจุบันยังคงมีคุ้มเจ้านายทั้งที่อยู่ในสภาพเดิมและถูกเปลี่ยนสภาพไปแล้ว
ทิศเหนือ : เดชเมือง
วัดเชียงยืน ต.ศรีภูมิ อ.เมืองเรียกอีกชื่อว่าวัดฑีมาชีวะราม พระเมืองแก้ว (พ.ศ.2038 – 2068) โปรดให้บรรจุพระธาตุ ณ พระเจดีย์เมื่อ พ.ศ.2061 และยกฉัตรฉลองใน พ.ศ.2062 ด้วยความเชื่อว่าทิศเหนือเป็นหัวของเมือง เป็นทิศมงคล ขบวนแห่ในพิธรบรมราชาภิเษกจึงเข้าเมืองทางเหนือ และมักตั้งพลับพลาหรือไหว้พระที่วัดเชียงยืนแล้วจึงเข้าเมือง เช่นสมัยพระไชยเชษฐาจากล้านช้างเข้าเมืองเชียงใหม่แห่งล้านนาเมื่อ พ.ศ.2089 มาตั้งพลับพลาที่สัดเชียงยืน ก่อนเข้าเมือง และสมัยพระเจ้ากาวิละแวะไหว้พระที่วัดเชียงยืนแล้วจึงเข้าเมืองเชียงใหม่ เมื่อ 9 มีนาคม พ.ศ.2339
ทิศอีสาน : ศรีเมืองตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ระบุสภาพด้านอีสานของเมืองเชียงใหม่ว่า “หนองใหย่” ชื่ออีสาเนนสรา นรูปชา” เป็นไชยมังคละ 1 ใน 7 ประการ เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของเชียงใหม่ และเป็นแหล่งรับน้ำจากคูเมืองเชียงใหม่ ทำให้น้ำไม่ท่วมตังเวียง หนองน้ำ ขนาดใหญ่นี้ยังคงปรากฏในแผนที่ พ.ศ.2443 ของเจมส์ แมคคาร์ธี ที่สำรวจครั้งเตรียมโครงการทางรถไฟสายเหนือ แผนที่ พ.ศ.2447 ที่สำรวจครั้งจอมพลพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เสด็จมณฑลฝ่ายเหนือและแผนที่ พ.ศ.2466 ของมิชชั่นนารี ซึ่งสมัยหลังเรียกว่า หนองบัว หรือ หนองเขียว เป็นที่พักผ่อนพายเรือ ตกปลาและเก็บผักในหนองของคนเมืองเชียงใหม่ ที่ยังอยู่ในความทรงจำของคนร่วมสมัยที่มีอายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่กลายเป็นถนนอัษฏาธรและถนนรัตนโกสินทร์ พื้นที่ด้านนี้เป็นที่ตั้งวัดพันตาเกิ๋น หรือ วัดชัยศรีภูมิ บ้านช้างม่อย ถ.วิชยานนท์ เดิมชื่อว่าวัดพันตาเกิ๋น เพราะเชื่อว่าสร้างโดยขุนนางระดับพัน คือ พันตาเกิ๋น สร้างในสมัยของพระเมืองแก้ว (พ.ศ.2038 – 2068) เคยเป็นที่ประดิษฐานพระไม้แก่นจันแดง
พ.ศ.2380 มีการบูรณะอีกคั้งในสมัยพญาพุทธวงศ์ เจ้าหลวงเชียงใหม่คนที่ 4 (พ.ศ.2368 – 2389) ได้มีการสร้างอุโบสถเมื่อ พ.ศ.2384 และมีการฉลองอุโบสถเมื่อ พ.ศ.2386 โดยที่ถือเป็นศรีของเมือง ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดชัยศรีภูมิ สิ่งที่น่าสนใจคือ ทำเลที่ตั้งก่อนสร้างวัดอาจเป็นที่ตั้งของหอคำสมัยพญาติโลกราช ในวัดมีหอไตรเป็นอาคารไม้สองชั้น ชั้นล่างเป็นห้องสมุด ชั้นเก็บพระไตรปิฏก ไม่มีบันไดขึ้นถาวรต้องใช้บันไดพาดปีนขึ้นทางด้านข้าง
ทิศบูรพา : มูลเมือง
วัดเม็ง หรือ วัดบุพพาราม สร้างในสมัยพระเมืองแก้ว (พ.ศ.2039 – 2068) พระองค์โปรดให้สร้างวัด สร้างปราสาท สร้างพระพุทธรูปเงิน หอพระมณเฑียรธรรม และโปรดให้ฉลองพระไตรปิฏกฉบับลงทองที่วัดนี้ วัดนี้เคยเป็นที่อยู่ของพระสังฆราช สมัยพระมหาสังฆราชปุสระเทวะ และมีความสำคัญในระบบความเชื่อ พระเจ้ากาวิละนำพลจากเวียงป่าซางเดินทางเข้าสู่เมืองเชียงใหม่เมื่อเช้าวันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม 2339 ก็ได้พักแห่งแรกที่วัดบุพพาราม จากนั้นจึงนำขบวนทัพไปทางใต้ ทางทิศตะวันตกและทางเหนือของเมือง ไหว้พระที่วัดเชียงยืนแล้ว จึงเข้าเวียงทางประตูหัวเวียงตามประเพณีโบราณ และจัดให้ “ลัวะจูงหมาพาแขกเข้าเมือง”เหมือนครั้งที่พญามังรายเข้าเมืองสิ่งที่น่าสนใจ ได้แก่ วิหารเล็กเครื่องไม้ เจดีย์แบบพม่า พระพุทธรูปสมัยพระนเรศวรและร่องรอยของชุมชนเม็ง
ทิศอาคเนย์ : อุตสาหะเมืองวัดชัยมงคล ริมน้ำแม่ปิงฝั่งตะวันตก ตั้งอยู่เลขที่ 133 ถ.เจริญประเทศ ต.ช้างคลาน ของเดิมสร้างราว พ.ศ.1985 – 2000 สมัยพญาติโลกราช แต่เดิมเรียกวัดนี้ว่า วัดอุปาเม็ง หรือวัดอุปานอก ถือเป็นวัดพี่วัดน้องกับวัดบุพพาราม ซึ่งเรียกว่า วัดอุปาใน หรือวัดเม็ง
สมัยรัชกาลที่ 5 พระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้ขอเปลี่ยนชื่อเป็นวัดชัยมงคล ชาวบ้านเรียกว่าวัดชัยมงคลริมปิงพื้นที่เดิมของวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวไปทางทิศเหนือ – ใต้ ด้านทิศตะวันตกตั้งแต่พระเจดีย์ไปถึงถนนใหญ่เป็นบ้านพักของกงศุลฝรั่งเศส สมัยครูบาแก้วคันธิยะเป็นเจ้าอาวาสได้เจรจาขอแลกพื้นที่ด้านเหนือกับด้านตะวันตกเพื่อให้ที่ดินทั้งสองเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส กงศุลฝรั่งเศสตกลงจึงได้ย้ายเจดีย์เก่าที่อยู่ติดรั้วกลศุลเดิมมาสร้างใหม่เป็นทรงมอญ (เม็ง) เอกสารประกอบวิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรืองและคณะ โครงการเผยแพร่เส้นทางท่องเที่ยวสถาปัตยกรรมเชิประวัติศาสตร์
บทความโดย
จักรพงษ์ คำบุญเรือง

ร่วมแสดงความคิดเห็น