ชมวัดร้างในเวียงเชียงใหม่ “วัดช้างเผือก” ศิลปะเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัย

วัดในพุทธศาสนาเป็นแหล่งหล่อหลอมรวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนในสังคมไทยมาแต่อดีต ทั้งยังเป็นแหล่งความรู้ในด้านศิลปสถาปัตยกรรม และวัฒนธรรมของท้องถิ่นอีกด้วย
เชียงใหม่ มีวัดร้างติดอันดับต้นของไทย วัดที่มีสภาพ เป็นวัดร้าง 106 แห่ง วันนี้เรามาชม “วัดช้างเผือก” ตั้งอยู่ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง บริเวณสี่แยกถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ด้านซ้ายมือในพื้นที่ของซีเอ็ม คอมพิวเตอร์ ชื่อที่มาของวัดยังไม่พบหลักฐานที่ชัดเจน จึงตั้งชื่อตามตำบลที่ตั้งว่า “วัดช้างเผือก” สภาพก่อนการบูรณะเป็นวัดร้างปกคลุมพบซากเจดีย์ทางด้านทิศตะวันตกของวิหารทรงกลมมีส่วนฐานชำรุด แต่ชั้นลูกแก้วย่อแก็ต 8 เหลี่ยมและปลายขององค์ทรงระฆังยังคงอยู่ และซากวิหารเป็ยร่องรอยสถปัตยกรรมล้านนา มีเจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์ สถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัย ประมาณพทธศาสตวรรษที่ 21-22 เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือ ทรงดอกบัวตูม เป็นสถาปัตยกรรมเอกลักษณ์ของศิลปะสุโขทัย เป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะสุโขทัย งานสถาปัตยกรรมศิลปะสุโขทัยในระยะแรกรับอิทธิพลมาจากศิลปะเขมร ต่อมาได้พัฒนาเป็นศิลปกรรมของตนเอง ลักษณะเฉพาะของเจดีย์ทรงยอดบัวตูมเกิดขึ้นจากการที่นำเอาองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมแบบต่าง ๆ มาปรับปรุงเข้าด้วยกันให้เป็นเจดีย์ทรงใหม่ ส่วนล่างประกอบด้วยฐาน 2 ชนิด คือ ฐานเขียง ซ้อนลดหลั่นเป็นชุด สอบขึ้นรับฐานบัวลูกแก้วอกไก่ซึ่งปรับทรงให้สูงขึ้น ต่อจากนั้นไปเป็นส่วนกลางหรือเรือนธาตุ ประกอบด้วยฐานทำซ้อน 2 ฐาน (ฐานแว่นฟ้า) รูปแบบของฐานรองรับเรือนธาตุนี้ ปรับปรุงมาจากธาตุบัวลูกฟักที่นิยมใช้เป็นฐานของปราสาทแบบขอมมาก่อน เรือนธาตุทรงแท่งที่ตั้งอยู่บนฐานบัวลูกฟัก ก็ปรับปรุงมาจากเรือนธาตุของปราสาทแบบขอมแต่บีบทรงให้ยืดสูงยิ่งกว่า มีการประดับกลีบขนุนตามุมด้านบนของเรือนธาตุตามแบบแผนของทรงปราสาทขอมอีกด้วย
“วัดช้างเผือก วัดร้างร่องรอยของกาลเวลาที่ยังคงบอกเล่าความรุ่งเรืองในอดีต…”

ร่วมแสดงความคิดเห็น