คปภ.น่าน ให้ความเหลือเยียวยามอบค่าสินไหมค่า ปลงศพให้ผู้ประสบภัย จากจักรยานยนต์ที่อุบัติเหตุเสียชีวิต

เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2562 เวลา 16.10 น. ที่ผ่านมา นายยศพล จิตติมานุสรณ์ (ผอ.คปภ.น่าน) ร่วมกับ นาย สมภพ ภู่พัฒน์วิบูลย์ (ผู้จัดการ บ.กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ) นายธนวัฒน์ ก๋องแก้ว (เจ้าหน้าที่บ.กลางฯ) นางอมรรัตน์ สีกัน (เจ้าหน้าที่ พรบ.โรงพยาบาล.นาหมื่น) พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันมอบค่าสินไหมค่า ปลงศพให้ผู้ประสบภัยจากรถ
จากกรณีที่ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2562 นายเจษฎาวัฒน์ ใจกว้าง อายุ 20 ปี บ้านเลขที่ 23 บ้านนาน้อย หมู่ 10 ตำบลสถาน อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน เป็นคนขับขี่รถจักรยานยนต์ได้เสียชีวิต และนางสาวรัตนาภรณ์ มูลชารี อายุ 19 ปี บ้านเลขที่ 2 บ้านดอยงาม ตำบลบ่อแก้ว อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน ซึ่งเป็นคนนั่งซ้อนท้ายได้เสียชีวิต เหตุรถจักรยานยนต์ทะเบียน 1 กจ 564 น่าน ชนเสาไฟฟ้าแรงสูง ถนนสายแพร่ น่าน ขาเข้าเมืองน่าน ตรงข้ามหน้าห้างแม็คโคร บ้านดอนมูล ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย
จากการตรวจสอบพบว่า รถจักรยานยนต์คันดังกล่าวจัดทำประกันภัย ตาม พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ กับ บ.กลางคุ้มครองผู้ประสบภัย จากรถจึงได้มอบ ค่าปลงศพ ให้แก่นางสาวนภัสสรณ์ งานอุดม มารดา นาย เจษฏาวัฒน์ ใจกว้าง (ผู้ขับขี่) จำนวน 35,000 บาท ที่บ้านเลขที่ 23 บ้านนาน้อย หมู่ 10 ตำบลสถาน อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน และได้มอบค่าสินไหม จำนวน 300,000 บาท ให้กับ นางเสาวนีย์ มูลชารี (มารดา) กรณีที่นางสาวรัตนาภรณ์ มูลชารี(ผู้โดยสาร) เสียชีวิต ตามพรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ที่บ้านเลขที่ 2 บ้านดอยงาม ตำบลบ่อแก้ว อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน ทั้งนี้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ทายาทและครอบครัวผู้ประสบภัย ซึ่งเป็นสิทธิที่ผู้ประสบภัยพึงได้รับตามความคุ้มครอง จากการประกันภัยรถภาคบังคับตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถในเบื้องต้น
นายยศพล จิตติมานุสรณ์ (ผอ.คปภ.น่าน) กล่าวว่า บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย มีภารกิจตามกฎหมายคือทำหน้าที่ ในการดูแลประชาชนที่ประสบอุบัติเหตุ จากรถให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ได้ร่วมกับเครือข่ายและบริษัทประกันภัย ในการให้ความช่วยเหลือคุ้มครองและเยียวยา ผู้ประสบภัยที่เกิดจากรถที่มีการทำประกันภัย พ.ร.บ.อย่างทันท่วงที ด้วยการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นภายใน 7 วัน โดยไม่รอพิสูจน์ความรับผิด กรณีบาดเจ็บจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลตามความเสียหายจริงสูงสุด ไม่เกิน 30,000 บาท ผู้บาดเจ็บไม่ต้องสำรองจ่าย ส่วนกรณีเสียชีวิตจ่ายเป็นค่าปลงศพ 35,000 บาท บริษัทกลางจะนำเงินค่าสินไหมทดแทนไปมอบให้ทายาททันที
โดยความคุ้มครองหลังพิสูจน์ความรับผิด จะยกเว้นสำหรับผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายผิด และหากผู้ขับขี่รถคันใดที่ไม่มีการทำประกัน พ.ร.บ. จะต้องรับผิดชอบจ่ายเงินเยียวยา ให้ผู้ประสบภัยจากรถ จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นดังกล่าวทั้งหมด โดยจะคุ้มครองเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นทันที กรณีบาดเจ็บความคุ้มครองสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน กรณีเสียชีวิตคุ้มครอง 35,000 บาทต่อคน การจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น คือการจ่ายทันทีโดยไม่รอพิสูจน์ความรับผิด แต่เมื่อทราบผู้ที่ต้องรับผิดแล้ว การจ่ายค่าสินไหมทดแทนตาม พ.ร.บ.จะคุ้มครองการบาดเจ็บสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท กรณีเสียชีวิต 300,000 บาท และกรณีเป็นผู้ป่วยในจะได้รับความคุ้มครองเป็นค่าชดเชย วันละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 วัน (ยกเว้นผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด)
อย่างไรก็ตามบริษัทประกันภัย ยังคงต้องทำการจ่ายเพิ่มเติม ตามสิทธิที่พึงมีของผู้ประสบภัยต่อไป เมื่อทราบผลพิสูจน์ความรับผิดแล้ว โดยความคุ้มครองหลังพิสูจน์ ความรับผิดจะยกเว้นสำหรับผู้ขับขี่ ที่เป็นฝ่ายผิดและหากผู้ขับขี่รถคันใดที่ไม่มีการทำประกัน พ.ร.บ. จะต้องรับผิดชอบจ่ายเงินเยียวยาให้ผู้ประสบภัยจากรถจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นดังกล่าวทั้งหมด ดังนั้นต้องอย่าลืมหน้าที่ของเจ้าของรถ จะต้องจัดทำประกันภัย พ.ร.บ. เพื่อเป็นหลักประกันให้ผู้ประสบภัยจากรถทุกคน

ร่วมแสดงความคิดเห็น