มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการประกวดออกแบบ Mascot หัวข้อ “การแพทย์ฉุกเฉิน 1669 ทั่วไทย” ชิงเงินรางวัลกว่า 50,000 บาท

ศูนย์นวัตกรรมการสื่อสาร คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอเชิญส่งผลงานโครงการประกวดออกแบบสื่อสัญลักษณ์ (Mascot) หัวข้อ “การแพทย์ฉุกเฉิน 1669 ทั่วไทย” ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมทั้งสิ้น 50,000 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร โครงการการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับรู้ของประชาชน และผลิตสื่อเพื่อให้ความรู้ผู้ใช้ระบบบริการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน1669 ระบบบริการสุขภาพอย่างครบวงจรในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
ขอเชิญชวนนักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดออกแบบสื่อสัญลักษณ์ (Mascot) ในหัวข้อ “การแพทย์ฉุกเฉิน 1669 ทั่วไทย” เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน โดย         รศ.ธีรภัทร วรรณฤมล คณบดีคณะการสื่อสารมวลชน ในฐานะหัวหน้าศูนย์นวัตกรรมการสื่อสาร คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อสัญลักษณ์ในการประชาสัมพันธ์ และรณรงค์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญ ของการใช้บริการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินหมายเลข 1669
ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ส่งผลงานเข้าประกวด ออกแบบสื่อสัญลักษณ์ (Mascot) ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมทั้งสิ้น 50,000 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร โดยเปิดรับผลงานตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2562 และจะประกาศผลการตัดสินในวันที่ 18 ตุลาคม 2562 ทั้งนี้ แนวคิดและนิยาม สื่อสัญลักษณ์ (Mascot) “การแพทย์ฉุกเฉิน 1669 ทั่วไทย” คือ สื่อสัญลักษณ์ที่มีความเชื่อมโยงกับระบบบริการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน 1669 สะท้อนถึงความรวดเร็ว และประสิทธิภาพของการให้บริการ อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ที่สามารถใช้เป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ กิจกรรมของโครงการได้ในทุกรูปแบบ โดยกลุ่มเป้าหมาย และคุณสมบัติผู้เข้าร่วมประกวด เป็นนักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป สามารถส่งผลงานได้ทั้งรายบุคคลหรือกลุ่มละไม่เกิน 3 คน
เปิดรับสมัครส่งผลงานตั้งแต่บัดนี้ ถึง 5 ตุลาคม 2562 จากนั้นจะโพสต์ผลงานประกวดลงบน Facebook เพื่อหารางวัล Popular vote ระหว่างวันที่ 7 – 14 ตุลาคม 2562 และประกาศผลผู้ที่ได้รับรางวัลผ่านทางFacebook ในวันที่ 18 ตุลาคม 2562 ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องทำตามกติกาที่กำหนดไว้ เช่น ออกแบบสื่อสัญลักษณ์ (Mascot) ในอิริยาบถ (Character) ต่าง ๆ โดยกำหนดให้มี ด้านหน้า – ด้านข้าง –ด้านหลัง และออกแบบคำขวัญ (Slogan) ที่สอดคล้องกัน ผลงานที่นำเสนอจะต้อง มีความคิดสร้างสรรค์ ตรงตามแนวคิด สะท้อนให้เห็นถึงความรวดเร็ว และประสิทธิภาพของการให้บริการ
โดยนำเสนอในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้ง่าย สามารถสื่อความหมายที่ชัดเจนไปยังกลุ่มเป้าหมายและประชาชนทั่วไป ผู้เข้าร่วมประกวดจะต้องอธิบายรายละเอียด แนวคิด แรงบันดาลในการออกแบบผลงานให้ชัดเจน ผลงานที่นำเสนอต้องสามารถนำไปผลิตเพื่อการสวมใส่ได้จริงในการทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานได้ ซึ่งสื่อสัญลักษณ์ (Mascot) ที่ส่งเข้าประกวดจะต้องไม่ผ่านการประกวดมาก่อน และเป็นผลงานที่ผู้ประกวดสร้างสรรค์ขึ้นด้วยตัวเอง โดยไม่ได้คัดลอกหรือดัดแปลงจากงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่น ถ้าพบว่ามีการคัดลอกหรือดัดแปลงจากงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่น ผู้ประกวดจะต้องรับผิดชอบผลทางกฎหมายที่เกิดขึ้น และจะถูกสงวนสิทธิ์ในการประกวดและรับเงินรางวัล โดยทางโครงการจะไม่ขอรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
ผู้เข้าประกวดจะต้องส่งผลงานออกแบบที่เข้าประกวดเป็นไฟล์ดิจิทัล โดยกำหนดให้ใช้รูปแบบไฟล์ภาพเป็น vector illustrator หรือ Photoshopความละเอียดไม่ต่ำกว่า 300 dpi ขึ้นไป โดยในรูปแบบไฟล์ .JPEG หรือ .PNG และมีการส่งไฟล์ต้นฉบับในรูปแบบของไฟล์ .Ai .PSD หรือ .ESP สามารถส่งผลงาน ทางออนไลน์ได้ 2 ทาง คือ https://forms.gle/oGUutr6MYjDHpo7EA และทาง E-mail : [email protected] (ในกรณีที่ส่งในแบบฟอร์มไม่ได้)
โดยการส่งผลงานจะต้องระบุข้อมูลได้แก่ ชื่อ และนามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ และอีเมล์ ของผู้เข้าร่วมประกวด ชื่อสถาบันการศึกษา (กรณีของนักเรียน นักศึกษา) ชื่อผลงาน แนวคิดในการออกแบบ ภาพสัญลักษณ์ (Mascot)คำขวัญ (Slogan) โดยผู้เข้าร่วมประกวดสามารถติดตามรายละเอียด และความเคลื่อนไหวได้ทาง Facebook “แพทย์ฉุกเฉิน 1669 ทั่วไทย” และ Facebook “คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” สำหรับผู้ชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัล 25,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร รางวัลชมเชย 2 รางวัล เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร รางวัล Popular vote 1 รางวัล เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับรางวัลที่ชนะเลิศหรือรางวัลชมเชย มีสิทธิ์ได้รับรางวัล Popular Vote ควบคู่กัน ผู้สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมศูนย์นวัตกรรมการสื่อสาร คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทร. 093-535-5592 อีเมล : [email protected]หรือทาง Facebook “แพทย์ฉุกเฉิน 1669 ทั่วไทย” และ Facebook “คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่”

ร่วมแสดงความคิดเห็น