“กาด” แหล่งซื้อขายสินค้าราคาถูกของคนล้านนา

“กาด” เป็นภาษาพื้นบ้านของล้านนา หมายถึง “ตลาด” ที่เรานิยมไปเดินซื้อของกินของใช้ แต่ปัจจุบันตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงที่เรารับอิทธิพลมาจากชาติตะวันตก เด็กวัยรุ่นไทยก็ต้องไปเดินตากแอร์เย็น ๆ บนห้างสรรพสินค้า เพราะยังไงเสียบนห้างสรรพสินค้าก็ต้องมีดีกรีกว่าตลาดทั่วไปที่อยู่ตามข้างถนนหรือตามใจกลางของหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นของกิน ของใช้ที่ดูสะอาดตาจัดวางไว้อย่างเป็นระเบียบ เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องประดับ เครื่องสำอางชนิดที่ว่ามีตั้งแต่อาหารสด อาหารแห้ง เครื่องดื่มที่มีราคาถูกและแพงตามยี่ห้อสินค้า ที่สำคัญไม่ต้องเดินตาดแดดให้ผิวหนังไหม้เกรียม

วันนี้จะพาไปย้อนอดีตเตือนความทรงจำเก่า ๆ เพื่อรำลึกถึงตลาดในวันวาน “ถ้าอยากเห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร ก็ให้ไปดูที่ตลาดของชุมชนนั้น ไม่ว่าจะเป็น พืช ผัก ผลไม้ เสื้อผ้า ยารักษาโรค ล้วนมีขายในชีวิตประจำวันทั้งสิ้น” ปัจจุบัน “กาดนัด” เป็นตลาดที่ขึ้นอยู่กับผู้ขายหรือพ่อค้าแม่ค้ามีการนัดหมายกัน ถ้าเป็นตลาดวัวควายเรียกว่า “กาดงัว–กาดควาย” แต่ก่อนชาวบ้านจะมีการนำวัวควายมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน นอกจากสัตว์แลัวก็ยังมี เครื่องมือทางการเกษตร ก็มักจะหาซื้อได้ที่นี่ไม่ว่าจะเป็น เชือก เคียว สมุนไพร ยันต์กันผี เสื้อผ้า กล้าผัก ฯลฯ ปัจจุบันนี้ก็ยังคงมีอยู่แต่คงเหมารวมเป็นกาดหมั้ว เพราะไม่มีการนำเอาวัวควายมา ซื้อขายแลกเปลี่ยน ถ้าพ่อค้าคนใหนสนใจก็จะต้องขับรถไปหาซื้อตามหมู่บ้านที่มีการเลี้ยงวัวควาย ทั้งการขนส่งวัวควาย ลำบาก รถราก็เยอะขึ้น และปัจจุบันเราก็เห็นแล้วว่าไม่มีการนำเอาวัวควายมาช่วยในการทำนา ที่เห็นคงเป็นรถไถ รถแทรกเตอร์ กาดวัวควายปัจจุบันจึงมีของมือสอง เช่น รถไถนา เครื่องตัดหญ้า เสียมากกว่า ส่วนวัวควายที่เราเห็นกันอยู่ชาวบ้านเลี้ยงเพื่อส่งขายโรงฆ่าสัตว์ ให้นายทุนชำแหละเนื้อสัตว์ขายในตลาดสด
การตั้งชื่อกาดนั้นนอกจากที่เรากล่าวมาข้างต้นแล้วยังนิยมตั้งชื่อตามบุคคลและสถานที่ เช่น กาดอุ้ยทา กาดอุ้ยเงา กาดทุ่งฟ้าบด กาดศรีบุญยืน หรือบ้างก็เรียกตามชื่อเจ้าของหรือตระกูลของเขานั่นเอง ในอดีต “กาด” ไม่เป็นเพียงแต่สถานที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าเท่านั้น กาดยังเป็นสถานที่ที่คนทุกเพศทุกวัยได้มาพบกัน เป็นสถานที่พิเศษที่เป็นสีสันของชีวิต ทุกคนในสมัยก่อนจะชอบไปกันมาก ไม่ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนแปลงไปแต่กาดก็ยังจะเกี่ยวข้องผูกพัน และมีความสำคัญในฐานนะที่ต้องเกี่ยวข้องปัจจัย 4 เครื่องอุปโภคบริโภคของมนุษย์เราซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานการดำรงชีวิตของมนุษย์ เราไม่สามารถแบ่งแยกว่ากาดที่กล่าวข้างต้นทั้ง 2 รูปแบบแบบใหนจะดีกว่ากัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับรสนิยม และการพิจารณาของเราที่จะเป็นไปตามสถานะว่า ที่ไหนจะให้ของที่ดี ราคาถูก ประหยัด และที่สำคัญต้องมีคุณภาพรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วยจะดีมาก
บทความโดย จักรพงษ์ คำบุญเรือง

ร่วมแสดงความคิดเห็น