ลองทดสอบกันดูไหม กับ แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ-9 พร้อมข้อแนะนำการดูแลตนเอง

จากข่าวที่อ่านพบเจอในช่วงนี้ ในขณะนี้มักจะพบกับข่าวการฆ่าตัวตาย ด้วยสาเหตุจากภาวะซึมเศร้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะหลายครั้งมักเกิดกับคนใกล้ชิด ที่เราไม่คาดคิดว่าเขาเหล่านั้น กำลังประสบปัญหาเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ จึงอยากนำเสนอข้อมูลให้ผู้อ่านได้รับรู้ถึงการเป็นโรคซึมเศร้า ว่าเป็นอย่างไร
สาเหตุหลักๆ เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ผู้ที่มีญาติพี่น้องป่วยเป็นโรคซึมเศร้า มีความเสี่ยงถึง 1.5-2 เท่า มีความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ที่มีผลต่ออารมณ์ซึมเศร้าของคน มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน เช่น วัยทอง หรือหลังคลอดบุตร โรคการเจ็บป่วยทางกาย เช่น โรคเรื้อรัง หรือโรคประจำตัว ตัวยาบางชนิดทำให้เกิดโรคซึมเศร้า เช่น ยาลดความดัน เกิดจากความเครียด การสูญเสียพลัดพราก หรือพบเจอกับเหตุการณ์ที่กระทบจิตใจขั้นรุนแรง  ผิดหวังซ้ำซากจากประสบการณ์ทางลบในวัยเด็ก เก็บกด หนีปัญหา
วิธีการรักษามี 2 วิธีคือ
การใช้ยา เป็นยาแก้ซึมเศร้า จะมีด้วยกันหลายกลุ่ม และยาอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงต่างๆได้บ้าง จึงต้องพบจิตแพทย์สม่ำเสมอตามนัด
การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า เป็นวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรือการใช้ยาที่ไม่ได้ผลแล้วเท่านั้น
โรคจิตเภท (Schizophrenia) เป็นความผิดปกติทางจิตใจ ในด้านความคิด การรับรู้ อารมณ์ และสังคม ที่แสดงออกให้เห็นได้ทางพฤติกรรมที่แปลกๆและผู้อื่นไม่เข้าใจ โดยผู้ป่วยจิตเภทส่วนใหญ่ขาดการตระหนักรู้ในตนเอง ไม่รู้ว่าตนเองผิดปกติ ไม่อยู่ในโลกของความจริง
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะโรคซึมเศร้าหรือโรคจิตเภทก็ตาม เราไม่ควรรังเกียจหรือมองเขาเป็นพวกแปลกเราควรให้กำลังและช่วยเหลือ เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้มีกำลังใจในการต่อสู้กับโรค
แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ-9
ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล และคณะ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้พัฒนาแบบประเมินนี้ จากแบบสอบถามสุขภาพผู้ป่วย (Patient Health Questionnaire: PHQ-9)
การประเมินนี้เป็นการประเมินระดับภาวะซึมเศร้าในขั้นต้น ส่วนการวินิจฉัยนั้น จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย รวมถึงส่งตรวจเพิ่มเติมที่จำเป็น เพื่อยืนยันการวินิจฉัยที่แน่นอน รวมถึงเพื่อแยกโรคหรือภาวะอื่น ๆ เนื่องจากภาวะซึมเศร้าเป็นมาจากสาเหตุต่างๆ ได้มากมาย เช่น โรคทางจิตเวชอื่นที่มีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย โรคทางร่างกาย เช่น โรคไทรอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือเป็นจากยาหรือสารต่างๆ
ผลการประเมินและคำแนะนำที่ได้รับจากโปรแกรมนี้ จึงไม่สามารถใช้แทนการตัดสินใจของแพทย์ได้ การตรวจรักษาเพิ่มเติมหรือการให้ยารักษา ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ และการปรึกษากันระหว่างแพทย์และตัวท่าน
https://med.mahidol.ac.th/th/depression_risk?fbclid=IwAR2Uz5w5jioyNenD4gyVvHsddjnhUyoWr7cOFnto_8zN9aBhh4d-qrv9kKo

ร่วมแสดงความคิดเห็น