มรภ.ชม. เดินหน้าติดตามประเมินผลการถ่ายโอนภารกิจด้านน้ำบาดาล

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมกับ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำเนินการเก็บข้อมูล ติดตามประเมินผลการถ่ายโอนภารกิจด้านน้ำบาดาลของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ ในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 แห่ง ที่มีภารกิจด้านน้ำบาดาล ประกอบด้วย เทศบาลเมือง จำนวน 3 แห่ง เทศบาลตำบล จำนวน 12 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 15 แห่ง โดยแบ่งออกเป็นขนาดใหญ่ 5 แห่ง ขนาดกลาง 9 แห่ง และขนาดเล็ก 1 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา เทศบาลเมืองแม่เหี๊ยะ เทศบาลเมืองแม่โจ้ เทศบาลตำบลบ้านหลวง เทศบาลตำบลลวงเหนือ เทศบาลตำบลหนองควาย เทศบาลตำบลสุเทพ เทศบาลตำบลบ้านกลาง เทศบาลตำบลเชิงดอย เทศบาลตำบลยางเนิ้ง เทศบาลตำบลป่าแดด เทศบาลตำบลสันผักหวาน เทศบาลตำบลสบเตี๊ยะ เทศบาลตำบลไชยปราการ เทศบาลตำบลแม่ริม องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง องค์การบริหารส่วนตำบลม่อนปิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สูน องค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทา องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ก๊า องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา องค์การบริหารส่วนตำบลเขื่อนผาก องค์การบริหารส่วนตำบลดอยเต่า องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกาด องค์การบริหารส่วนตำบลเปียงยาง องค์การบริหารส่วนตำบลฮอด และองค์การบริหารส่วนตำบลร้องวัวแดง
โดยมีกำหนดลงพื้นที่ ระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2562 ถึงวันที่ 11 ตุลาคม 2562 ทั้งนี้ เพื่อศึกษาติดตามประเมินความพึงพอใจของประชาชน ในการบริหารจัดการถ่ายโอนภารกิจด้านน้ำบาดาล รวมถึงผลระบบการบริหารจัดการการใช้งบประมาณการควบคุมการกำกับดูแลการปฏิบัติตามภารกิจการถ่ายโอนด้านน้ำบาดาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และมาตรฐานการจัดบริการสาธารณะด้านน้ำบาดาลพร้อมข้อเสนอแนวทางการเสริมสร้างและยกระดับขีดความสามารถและประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านน้ำบาดาลแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ตลอดจนศึกษาประมวลผลภารกิจการถ่ายโอนน้ำบาดาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ด้านการสื่อสารถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารการเข้าถึงบริการสาธารณะการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอแนวทางการเสริมสร้างความเข้าใจภารกิจการถ่ายโอนด้านน้ำบาดาลแก่ภาคประชาชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และเพื่อถอดบทเรียนรูปแบบการบริหารจัดการภารกิจด้านน้ำบาดาลที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่โดยจะนำข้อมูลดังกล่าว มาพัฒนาการดำเนินงานต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น