สทนช. เปิดตัวโครงการความร่วมมือไทย-เยอรมัน นำร่องลุ่มน้ำยม

เมื่อเวลา 09.30 น.ที่ ที่วิทยาลัยเทคนิคแพร่ ทางสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ร่วมกับองศ์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) จะดำเนินงานความร่วมมือทางวิชาการภายไต้แผนงาน Thailand-German Climate Programme –Water (TGCP-Water) เพื่อพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยคัดเลือกลุ่มน้ำยมเป็นพื้นที่นำร่อง กำหนดให้มีการศึกษาร่วมกับกลุ่มผู้เซี่ยวชาญจากต่างประเทศ ในการวิเคราะห์สภาพปัญหาในพื้นที่ การประเมินความเสี่ยงและแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพทางเทคนิคและโครงสร้างให้กับคณะกรรมการลุ่มน้ำและผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ รวมทั้งกำหนดให้มีการประชุมเสวนาโครงการความร่วมมือดังกล่าว เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีและการมีส่วนร่วมระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้แทนส่วนราชการในพื้นที่ ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ สทนช. รวม จำนวน 100 คน
ลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำสะแกกรังได้รับการคัดเลือกเป็นพื้นที่นำร่อง ในการดำเนินโครงการฯ เพื่อยกระดับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างบูรณาการ โดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงการฯ มุ่งหวังให้ชุมชนสามารถตั้งรับ ปรับตัวรักษาวิถีชีวิต มีความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยและมีส่วนดูแลรักษาระบบนิเวศ เพื่อใช้บริการของระบบนิเวศในการปรับตัวต่อผลกระทบ และรับมือกับเหตุการณ์สภาพอากาศที่รุนแรงได้ ระบบนิเวศน์ช่วยเพิ่มการเก็บกัดน้ำ ลดการตกตะกอนและลดการพังทลายของตลิ่ง รวมถึงช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้น โครงการนำร่องในพื้นที่จะมีการประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากสภาวะโลกร้อนเพื่อใช้วางแผนระยะยาว และกำหนดเกณฑ์การเลือกมาตรการระบบนิเวศน์ในการจัดการทรัพยากรน้ำ โดยการประเมินความเสี่ยงนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทของลุ่มน้ำนำร่อง ซึ่งจะนำไปใช้แก้ปัญหาด้วยธรรมชาติ เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
นางกานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ และประธานคณะกรรมการลุ่มน้ำยม กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้ลุ่มน้ำยมเผชิญกับภาวะน้ำท่วมและน้ำแล้ง สำหรับจังหวัดแพร่ ฤดูฝนจะเกิดน้ำหลาก สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจำนวนมาก แต่ประชาชนในพื้นที่ก็มีการปรับตัวโดยหันมาประกอบอาชีพหาปลา สร้างรายได้ในช่วงน้ำหลาก ส่วนในฤดูแล้ง เนื่องจากแหล่งกักเก็บน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนไม่เพียงพอ จึงขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและทำการเกษตร ส่งผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ที่พึ่งพารายได้หลักจากผลผลิตด้านการเกษตร
นายอเล็กชานเคอร์ เราโบว์ด ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจและการค้า สถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย กล่าวว่า รัฐบาลเยอรมนีมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลไทยในการเสริมสร้างความสามารถในการปรับตัวต่อความเสี่ยงที่เกิดจากภาวะโลกร้อน ซึ่งถือเป็นเป็นความท้าทายระดับโลก สำหรับภาคการบริหารจัดการน้ำ เราทำงานร่วมกันเพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากอุทกภัยและความแห้งแล้งร่วมกับชุมชนลุ่มแม่น้ำยม
ดร. สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กล่าวว่า สทนช. อยากส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ระหว่างกัน แลกเปลี่ยนกัน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนบนหลักการมีส่วนร่วม ได้รับการยอมรับจากชุมชนและเป็นตัวอย่างการพัฒนาระดับลุ่มน้ำที่สามารถแสดงผลเชิงประจักษ์ในสายตาประชาคมโลกได้ สทนช. พร้อมที่จะสนับสนุนและขยายผลการจัดการโดยชุมชน ลุ่มน้ำยมต้องไดรับการรักษา ฟื้นฟู พัฒนาโดยเร็ว เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนลุ่มน้ำยมนางกานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ยังได้ทดลองปล่อยโดรน ซึ่งเป็นระบบผลิตข้อมูลเชิงพื้นที่ ความละเอียดสูงด้วยอากาศยานไร้คนขับสำหรับการติดตามและประเมินผล ซึ่งมีจุดเด่นคือเป็นระบบบินถ่ายภาพทางอากาศที่สามารถปรับเปลี่ยนระบบถ่ายภาพได้ เช่น ช่วงคลื่นที่สายตามองเห็น(Visible) และช่วงคลื่นอื่นๆ ที่มีการพัฒนาเพิ่มเติมในอนาคต เพื่อการติดตามการเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความจำเพาะและข้าถึงได้ยาก สามารถจัดทำข้อมูล ระดับความสูงสำหรับการใช้งานในด้านอื่นๆ เช่น การทำแบบจำลองเชิงพื้นที่

ร่วมแสดงความคิดเห็น