อุทยานแห่งชาติขุนน่าน ออกตรวจลาดตระเวนเชิงคุณภาพในพื้นที่ป่าอนุรักษ์

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2562 เวลา 08.00 น. ที่ อุทยานแห่งชาติขุนน่าน
ภายใต้อำนวยการ นายเกรียงศักดิ์ ถนอมพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 มอบหมายให้
นายวิสุทธิ์ ใสสะอาด หน.
อุทยานแห่งชาติขุนน่าน สบอ.13 (แพร่) พร้อมด้วยจนท. อช.ขุนน่าน ชุดลาดตระเวนที่ 1 ออกตรวจลาดตระเวนเชิงคุณภาพในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ (Smart Patrol) ตามคำสั่งอุทยานแห่งชาติขุนน่าน ที่ 67/2562 ลงวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เรื่อง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกตรวจลาดตระเวนพื้นที่อุทยานแห่งชาติตามมาตรฐานระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (Smart Patrol System) บริเวณห้วยหกและห้วยน้ำปัน ท้องที่บ้านป่าก๋อ หมู่ 1 ตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน พิกัดเริ่มต้นที่ 729132E 2122190N พิกัดสิ้นสุดที่ 729284E 2122179N รวมระยะทางในการลาดตระเวนทางรถยนต์และเดินเท้าทั้งสิ้น 18.83 กิโลเมตร พบปัจจัยนิเวศ พบร่องรอยสัตว์ป่า พบร่องรอยการกระทำผิด และจนท. อช.ขุนน่าน ชุดลาดตระเวนที่ 3 ออกตรวจลาดตระเวนเชิงคุณภาพในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ (Smart Patrol) ตามมาตรฐานระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (Smart Patrol System) บริเวณป่าห้วยข่วงเงือกและป่าขุนห้วยศาลา ท้องที่บ้านนาบง หมู่ที่ 14 ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน พิกัดเริ่มต้นที่ 732382 E 2116193N พิกัดสิ้นสุดที่ 732386E 2116199N รวมระยะทางในการลาดตระเวนทางเดินเท้าทั้งสิ้น 8.50 กิโลเมตร พบปัจจัยนิเวศ พบร่องรอยสัตว์ป่า ไม่พบร่องรอยการกระทำผิด

นายวิสุทธิ์ ใสสะอาด หน. อุทยานแห่งชาติขุนน่าน กล่าวว่า การลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (SMART PATROL) คือระบบการเดินลาดตระเวนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างเป็นระบบ เพิ่มศักยภาพในการป้องกัน ปราบปราม และการจัดการพื้นที่ โดยการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อวางแผนลาดตระเวน การเก็บข้อมูล วิเคราะห์ประมวลผลในมาตรฐานเดียวกันทุกที การลาดตระเวนเชิงคุณภาพ เริ่มขึ้นในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และได้ขยายผลดำเนินการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ทั่วประเทศ นอกเหนือจากการลาดตระเวนที่เข้มข้นครอบคลุมพื้นที่ป่าอนุรักษ์แล้ว ข้อมูลที่พบระหว่างการลาดตระเวนของเจ้าหน้าที่ได้แก่ การปรากฏตัวของสัตว์ป่าแหล่งปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ป่า และปัจจัยคุกคาม สามารถทำให้ทราบถึงการกระจายของสัตว์ป่าชนิดสำคัญ ปัจจัยคุกคาม แหล่งน้ำ ดินโป่ง และพืชอาหารของสัตว์ ซึ่งทำให้สามารถนำข้อมูลดังกล่าว มาวิเคราะห์เพื่อการบริหารจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ร่วมแสดงความคิดเห็น