ภัยเงียบใกล้ตัว! “ไมโครพลาสติก” จากสัตว์น้ำ สู่อาหารของมนุษย์

ช่วงนี้กลายเป็นกระแสมากมายในเรื่องของ “ไมโครพลาสติก” ซึ่งก่อนหน้านี้ พบไมโครพลาสติกในอากาศ, น้ำฝน, น้ำดื่ม , เกลือ , หรือเสื้อผ้าที่ทำมาจากเส้นใยสังเคราะห์ ซึ่งคือพลาสติก รวมถึงสิ่งมีชีวิต ที่เป็นห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ เช่น ปลาทู , หอย , ปลาหมึก , เต่า แม้กระทั่งในอุจจาระของมนุษย์เอง
โดยล่าสุด “Patricia Blair” นักศึกษาปริญญาเอก เจ้าของงานวิจัยไมโครพลาสติกในปลาหมึก กล่าวว่า การพบไมโครพลาสติกในปลาหมึก เป็นเสมือนเครื่องยืนยันว่า ไมโครพลาสติกได้เข้าสู่ “ห่วงโซ่อาหาร” เรียบร้อยแล้ว ซึ่งผลการสำรวจปลาหมึก ในประเทศไทย พบว่า “มีไมโครพลาสติก ในกระเพาะปลาหมึกไทยเฉลี่ย 21 ชิ้นต่อปลาหมึก 1 ขีด ซึ่งพวกมันไม่ได้กินไมโครพลาสติกโดยตรง แต่พวกมันกินไมโครพลาสติก จากอาหารของพวกมัน เช่น ปลา เป็นต้น”
“ไมโครพลาสติก” นั้นส่วนใหญ่เป็นเส้นใยหลากสี ที่มาจากเสื้อผ้า หรือเครื่องมือที่ใช้ในการทำประมง อย่างเน็ต เม็ดพลาสติก หรือมาจากขยะทะเลที่ล่องลอยอยู่ อยู่มากมายทั่วทุกอนูของน้ำในท้องทะเล และที่น่าตะหนักที่สุด เพราะอันตรายจากผลการกระทำของมนุษย์จากอดีตถึงปัจจุบัน ที่ตอนนี้ส่งผลมายังอนาคตแล้วก็คือ “ปัจจุบันนี้ พบไมโครพลาสติก อยู่มากในกระเพาะสัตว์น้ำ ซึ่งบางส่วนเป็นสัตว์น้ำที่เป็นอาหารของมนุษย์เอง” และนั้นเท่ากับว่า มนุษย์กำลังกลื่นกินขยะพลาสติก เข้าไปในร่างกายทีละนิด ในทุก ๆ วันนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามันไม่ได้ดูดซึมจากกระเพาะอาหาร แต่จะทำให้ติดค้างอยู่ในกระเพาะ ซึ่งไมโครพลาสติกมีอนุภาคที่เล็กมาก จึงสามารถดูดซับโลหะหนัก หรือยาฆ่าแมลงได้ แม้ตัวไมโครพลาสติกเอง อาจไม่มีพิษมากก็ตาม แต่การที่มันสามารถเคลือบสารพิษอื่น ๆ ที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารแล้ว ไมโครพลาสติกพร้อมสารพิษเหล่านี้ อาจเข้าสู่ร่างกาย และละลายออกมาได้
ด้วยเหตุนี้เอง จึงถึงเวลาแล้ว ที่เราทุกคนควรจะต้องแก้ไขปัญหาภัยเงียบ ที่ใกล้ตัวเราอย่างนี้ แบบจริงจังสักที เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการช่วยกัน “ลด ละ เลิก” สร้างขยะพลาสติก เก็บ แยก ทิ้งขยะให้ถูกที่ถูกทาง จัดการอย่างถูกวิธี และรณรงค์การใช้สินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สามารถนำไปรีไซเคิล หรือย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ เพื่อเป็นการไม่สร้างขยะให้กับโลกใบนี้มากขึ้นไปกว่านี้อีก
ที่มา : Backpack Journalist

ร่วมแสดงความคิดเห็น