“ปอยหมั่งก่ะป่า” งานประเพณีเขาวงกตของชาวขุนยวม

จากความเชื่อที่ว่า ป่าหิมพานต์เป็นป่าที่มนุษย์ปถุชนไม่สามารถเข้าไปได้โดยง่าย และมีทางเข้าออกแค่ทางเดียวและการเข้าออกก็ยากลำบาก เลยนำมาดัดแปลงให้คนเข้าไปสักการะบูชาในทางเดินที่คดไปเคี้ยวมาของงานนี้ งานประเพณีเขาวงกตเดือน 12 ดัดแปลงจากที่ได้ทำกันมาทุกปี ให้ใกล้กับความเป็นจริง ตามความเป็นมาให้มากที่สุด โดยตรงกลางจะมีปราสาท 2 หลัง หลังหนึ่งเป็นที่ประทับของพระเวสสันดร อีกหนึ่งเป็นที่ประทับของพระนางมัททรีและกัญหาชาลี อีก 4 มุมนั้นเป็นสระบัว บนสระบัวทุกสระ จะเป็นวัด (จองพารา) 2 คอสามชาย
เป็นที่ประทับของพระอุปคุต ซึ่งมีอยู่ในน้ำมหาสมุทร เพื่อให้สอดคล้องกับคัมภีร์ที่คนสมัยก่อนเขาบันทึกไว้เพื่อเป็นหลักฐานทาง พระพุทธศาสนาว่า ในรอบปีหนึ่ง ๆ พระอุปคุตจะเสด็จขึ้นมาบิณฑบาตรในโลกมนุษย์ครั้งหนึ่ง ในวันเพ็ญเดือน 12 เวลาเช้าตรู่ของทุกปี ถ้าผู้ใดมีบุญวาสนาพบเห็นและถวายสิ่งของเครื่องใช้ หรือเครื่องอุปโภคต่าง ๆ จะเป็นข้าว ขนม หรือผลไม้ต่าง ๆ
และได้มีการจำลองการเดินทางค้าขายในอดีตไว้ให้รุ่นลูกรุ่นหลานไว้ดูด้วย คือ “ โบต่าง หรือ วัวต่าง ” เนื่องจากว่าการเดินทางเพื่อทำมาค้าขายในอดีตนั้นใช้ทางเท้าเป็นหลัก ไม่มีรถยนต์ใด ๆ ทั้งสิน ไม่ว่าการไปซื้อ-ขายที่เชียงใหม่ แม่สะเรียง แม่ฮ่องสอน หรือ มัณฑเลย์
ประเทศพม่า ก็ใช้วัวต่างแบบนี้ไปเป็นฝูงใหญ่ บางฝูงก็มี 50 ตัว แต่บางฝูงอาจจะมีถึง 100 ตัวก็ได้
บทความโดย
จักรพงษ์ คำบุญเรือง

ร่วมแสดงความคิดเห็น