กระดาษทางเลือก! ผลิตจากเศษหิน กันน้ำได้ ย่อยสลายได้แค่ตากแดด  

กระดาษที่เราใช้ในปัจจุบัน ส่วนมากผลิตมาจากเยื่อไม้ ซึ่งการผลิตจะต้องผ่านกรรมวิธี ที่ใช้ทั้งพลังงานความร้อน พลังงานเคมี และพลังงานกล แถมยังต้องตัดต้นไม้มาใช้ในการผลิตจำนวนมาก ทำให้ Kevin Garcia และ Jon Tse 2 หนุ่ม ชาวออสเตรเลียเกิดไอเดีย ผลิตกระดาษจากเศษหิน ที่เหลือจากไซต์ก่อสร้างและของเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม
ซึ่งกระดาษที่ทำจากหินนี้ สามารถกันน้ำได้ มีความแข็งแรง มีสีขาวจากธรรมชาติ ไม่ต้องตัดต้นไม้ ไม่ต้องใช้น้ำและสารเคมีในกระบวนการผลิต และปล่อยคาร์บอน 60% น้อยกว่ากระดาษทั่วไป และยังสามารถกันน้ำและนำไป รีไซเคิลได้อีกด้วย
โดยบริษัทของสองหนุ่ม มีความต้องการลดอัตราการตัดไม้ทำลายป่า ด้วยกระดาษที่มีกรรมวิธีในการผลิตและวัสดุที่ยั่งยืน ในปี 2019 Garcia ชี้ว่ากรรมวิธีในการผลิตกระดาษของเขาช่วยปกป้องต้นไม้กว่า 540 ต้น ลดการใช้น้ำกว่า 83,100 ลิตร และงดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 25,5000 กิโลกรัม
สำหรับขั้นตอนการผลิต เขาจะหินปูนที่เหลือใช้มาล้าง และนำบดให้เป็นผง แล้วนำไปผสมกับเรซินพอลิเอทิลีนที่มีความหนาแน่นสูง HDPE (High-density polyethylene) ทำให้สามารถย่อยสลายได้ง่าย แค่เพียงทิ้งไว้ให้โดนแดด ก็จะสลายเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งเมื่อนำแคลเซียมคาร์บอเนตที่เหลือ ไปผสมกับเรซิน 10% แล้วนำไปอบร้อน ก็จะสามารถนำไปผลิตกระดาษได้ใหม่อีกครั้ง
โดยกระดาษที่ผลิตจากหินนี้ สามารถผลิตได้ในหลากหลายระดับความหนา และมีคุณสมบัติกันน้ำ ฉีกขาดได้ยาก และสามารถนำไปรีไซเคิลได้ แต่อย่างไรก็ตามกระดาษที่ทำมาจากหินนี้ ยังมีส่วนผสม HPDE ซึ่งเป็นหนึ่งในพลาสติกผสมอยู่ ดังนั้นการเลือกใช้วัสดุต่างๆ เราจึงควรคำนึงถึงความเหมาะสม และเลือกใช้ให้เกิความคุ้มค่ามากที่สุดนั่นเอง ที่มา : karststonepaper, CNN

ร่วมแสดงความคิดเห็น