ผลผลิตเกษตร สามหมอกช่วยสร้างรายได้ชาวบ้าน

ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจากเกษตรกรในพื้นที่เมืองแม่ฮ่องสอนว่า เนื่องจากสภาพพื้นที่ของแม่ฮ่องสอนเอื้อต่อการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรบางประเภท ส่งผลให้ชาวบ้านส่วนใหญ่เลือกจะเพาะปลูกพืชตามฤดูกาล มากกว่าจะปลูกไม้ผล แต่บางส่วนก็เลือกจะทำการเกษตรแบบผสมผสาน
ทั้งนี้พืชผักที่ปลูกไม่ว่าจะเป็นกล้วย , ฟักทอง  คะน้า , ผักกาด , หอมแดง , กระเทียม จะนำมาวางจำหน่ายตามตลาดสดและกาดนัดชุมชน หากเป็นผลผลิตที่ปลูกเพื่อส่งโรงงานแปรรูปหรือส่งไปยังแหล่งค้าส่งค่อนข้างมีข้อจำกัดด้านการขนส่ง และเรื่องโควต้าแหล่งปลูก อาทิ หอม , กระเทียม , บุก
ดังนั้นชาวบ้านส่วนใหญ่จะเลือกปลูกผลผลิตที่สามารถขายได้ตามฤดูกาล จะได้ไม่ต้องแบกรับต้นทุน และบางพื้นที่ ชุมชน หมู่บ้าน มีการพัฒนาผลผลิตแปรูปเป็นสินค้าของที่ระลึกเช่นถั่วลายเสือคั่ว บ้านผาบ่อง เป็นต้น ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวซื้อเป็นของฝาก สร้างรายได้ให้ชาวบ้านเป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามเกษตรกรและชาวบ้านในพื้นที่เมืองแม่ฮ่องสอนที่นำผลผลิตมาจำหน่ายตามตลาดสดช่วงวันอาทิตย์แยกศูนย์โตโย ตลอดจนตามถนนคนเดินบริเวณหนองจองคำ,ตลาดสายหยุด ได้รับการอุดหนุนเลือกซื้อจากนักท่องเที่ยว ประชาชนทั่วไป
และเป็นที่น่าสังเกตว่าผลผลิตพืชผักผลไม้ส่วนหนึ่งมีการแลกเปลี่ยนซื้อขายจากแหล่งค้าชายแดนซึ่งจะเป็นผลไม้ พืชผัก ดอกไม้จากจีน จากเมียนมาและเชียงใหม่ ผู้นำชุมชนในพื้นที่บ้านผาบ่อง แม่ฮ่องสอน ยอมรับว่า การเกษตรแบบเชิงเดี่ยวที่ป้อนผลผลิตสู่โรงงาน ไม่ว่าจะเป็นส้มเขียวหวาน , บุก , ผัก , ข้าวโพด นั้นหลังจากเกษตรกรได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเกษตรพอเพียง ทำให้ปัญหาการบุกรุกป่า
เพื่อเพาะปลุกผลผลิตสู่ภาคอุตสาหกรรม เกษตรลดน้อยลง ประกอบกับความเข้มแข็งของภาคประชาสังคมที่มุ่งสู่เมืองรักษ์ป่า จังหวัดเกษตรพอเพียง ส่งผลให้เกษตรกรชาวแม่ฮ่องสอน ปรับเปลี่ยน รูปแบบการเกษตรเชิงคุณภาพเพิ่มขึ้น

ร่วมแสดงความคิดเห็น