ทต.ช่อแฮ ออกสำรวจความร่วมมือจากบ้านพันเชิงในการกำจัดขยะ พร้อมทั้งให้ความรู้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.เกษร ปลาลาศ นายกเทมนตรีตำบลช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่ ได้มอบหมายให้ กองสาธารณสุข เทศบาลตำบลช่อแฮ ร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้านและอสม.บ้านพันเชิงออกสำรวจการจัดการขยะในครัวเรือน ซึ่งปรากฏว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือกับเทศบาลตำบลช่อแฮ ในการกำจัดขยะ คัดแยก โดย มีการจัพทำขุดหลุ่มขยะเปียกสามารถทำเป็นปุ๋ยหมัก มีการคัดแยกขยะ ขวดพลาสติก คัดแยกขยะกระดาษ นอกจากยั้นชาวบ้านยังได้ทำที่เก็ยขนะจำพวกใบไหม้ นำไม้ไผ่มาสานล้อมรอบต้นไม้ นำเศษไม้มาใส่ไว้และนานเข้าก็จะเป็นปุ๋ยหมัก
นอกจากนั้นเทศบาลตำบลช่อแฮ กองสาธารณสุขและ อสม.บ้านพันเชิง ยังได้มห้ความรู้การแก้ไขปัญหาขยะในชุมชนและหมู่บ้านดังนี้
1. ลดการขนขยะเข้าบ้าน เช่น ถุงพลาสติก ถุงกระดาษ กระดาษห่อของ โฟม หนังสือพิมพ์ ฯลฯ หากท่านมีความจำเป็นต้องใช้สิ่งเหล่านี้จริง ๆ ไม่ควรใช้ให้บ่อยครั้งเกินไป และเมื่อท่านจะขออะไรเข้าบ้านขอให้ฉุกคิดถึง ความจำเป็นสักนิดว่าสิ่งนั้นจะก่อให้เกิดขยะ ปริมาณเท่าใด มิใช่เห็นแก่ความสะดวกสบายเพียงอย่างเดียวแล้ว ท่านก็จะสามารถลดปริมาณขยะภายในบ้านได้
2. นำสิ่งของที่ใช้กลับมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า หรือนำสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วมาหมุนเวียนดัดแปลง ใช้ประโยชน์อีก เช่น ถุงพลาสติก ถุงกระดาษที่ไม่เปรอะเปื้อน ให้เก็บไว้ใช้ใส่ของอีก ส่วนขวดแก้วขวดพลาสติกกระป๋องเครื่องดื่มก็สามารถนำมา ดัดแปลงใช้ประโยชน์ได้อีกมาก สำหรับกระดาษที่ใช้ในสำนักงานชนิดสีขาว สามารถนำใช้อีกด้านหนึ่งได้ โดยอาจนำทำกระดาษทดเลข กระดาษจดบันทึกโทรศัพท์หรือใช้ห่อของได้
3. การใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดเติม ปัจจุบันผู้ผลิตสินค้าชนิดเติม หรือที่เรียกว่า ‘Refill’ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางเพราะ นอกจากจะราคาถูกกว่าแล้ว ยังเป็นการลดบรรจุภัณฑ์หีบห่อ ในส่วนที่เป็นขยะภายในบ้านได้ด้วย นอกจากนี้ยังเป็นการลดต้นทุนในการใช้ทรัพยากร จำนวนมากในการผลิตอันเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม โดยทางอ้อมได้อีกด้วย สินค้าที่นิยมผลิตเป็นชนิดเติม ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ใช้ภายในบ้านได้แก่ น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก น้ำยาปรับสภาพ ผ้าสบู่เหลว รวมถึงอาหาร และเครื่องดื่มสำเร็จรูปหลายชนิด
4. พยายามหลีกเลี่ยงการใช้โฟม และพลาสติก หากเป็นไปได้ไม่ควรใช้เลยจะดีกว่าแม้ว่าจะมีการประชาสัมพันธ์ว่าเป็นถุงพลาสติก ที่สามารถย่อยสลายได้ในแสงอาทิตย์แต่ถุงพลาสติกนั้นจะต้องอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมจึงจะสามารถย่อยสลายได้เช่น มีแสงและความชื้นพอเหมาะ ซึ่งอาจใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายนานนับสิบปี ควรใช้ถุงผ้าหรือตะกร้าสำหรับใส่ของแทนการใช้ถุงพลาสติกจะดีกว่าและสามารถใช้ได้หลายครั้งเป็นการช่วยลดขยะชนิดถุงพลาสติกได้
5. แยกประเภทขยะภายในบ้านเพื่อสะดวกแก่ผู้เก็บขน และยังสามารถนำขยะบางชนิดไปขายเพิ่มรายได้ให้เข้าบ้านอีกด้วย
6. แปรสภาพขยะให้เป็นปุ๋ย ขยะที่ย่อยสลายได้เช่น เศษพืชผัก ใบไม้ สามารถนำมาหมักทำปุ๋ยใส่ต้นไม้และบำรุงดินเป็นการลดการซื้อปุ๋ยเคมีซึ่งนอกจากราคาแพงแล้วยังมีสารพิษตกค้างด้วย
7. ลดปริมาณขยะอันตรายในบ้าน อาจทำได้ด้วยการรักษาความสะอาดภายในบ้าน จัดสิ่งของเครื่องใช้ให้มีระเบียบกำจัดเศษอาหารเศษภาชนะ แตกหักหรือที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ทิ้ง ซึ่งนอกจากจะทำให้บ้านเรือนสวยงามเป็นระเบียบ แล้วยังป้องกันสัตว์พาหนะที่นำเชื้อโรค จากขยะมาสู่คนได้ด้วย เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน มารบกวน หากมีความจำเป็นต้องใช้สารเคมีในการกำจัดสัตว์ เหล่านั้น ควรหันมาใช้วิธีทางธรรมชาติ ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมแทน เช่น การใช้การะบูนป้องกันมดและแมลงสาบเป็นต้น จะช่วยลดขยะที่เป็นกระป๋องสารเคมีป้องกันแมลง ภายในบ้านได้
นอกจากนี้เพื่อเป็นการลดทิ้งหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่เป็นพิษ ควรเลือกใช้หลอดประหยัดไฟชนิดหลอดผอม ซึ่งนอกจากจะมีอายุการใช้งานเที่ยวนานมากกว่าแล้ว ยังช่วยในการประหยัดไฟฟ้าลดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย
8.. เก็บรวบรวมขยะภายในบ้านให้เรียบร้อย ใส่ภาชนะที่ถูกหลักสุขาภิบาลเพื่อความสะดวกแก่พนักงานเก็บขนและขยะที่เป็นเศษอาหาร ควรเก็บรวบรวมใส่ถุงให้เรียบร้อยเพื่อเวลาเก็บขนจะได้ไม่หกเลอะ สกปรก และก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นในระหว่างที่รอพนักงานมาเก็บรวบรวม

ร่วมแสดงความคิดเห็น