งานปล่อยโคมยี่เป็ง จังหวัดเชียงใหม่

การกำเนิด “ยี่เป็ง” เทศกาลเก่าแก่คู่เมืองเชียงใหม่
“ลอยกระทง” เป็นงานรื่นเริงอย่างหนึ่งของคนไทย มีกำหนดจัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 12 ของทุกปี ซึ่งในช่วงเวลานี้ น้ำจะหลากเอ่อล้นไปทั่วฝั่งแม่น้ำลำคลอง ดังคำโบราณว่า “เดือน 11 น้ำนอง เดือน 12 น้ำทรง”
แต่ทางภาคเหนือของไทย กลับจัดประเพณีลอยกระทงกันในวันเพ็ญเดือนยี่ หรือที่เรียกกันว่า วันยี่เป็ง คำว่า “เป็ง” เป็นภาษาเหนือ ซึ่งแปลว่า “เพ็ญ” ในภาษาภาคกลาง ส่วนคำว่า “ยี่” นั้น คือ เดือนยี่หรือเดือนที่ 2 ของปี แต่ประเพณีลอยกระทงของจังหวัดเชียงใหม่มีความพิเศษกว่าจังหวัดอื่นคือ มีการจัดงานถึง 2 วัน คือ ในวันเพ็ญและวันแรม 1 ค่ำเดือนยี่เหนือ
การลอยกระทง ถือกันเป็นประเพณีนิยมอย่างหนึ่งของเผ่าไทยเดิม ของผู้มีอาณาจักรอยู่ในดินแดนภาคเหนือมาแต่โบราณกาล ในจังหวัดสุโขทัย สมัยราชวงศ์พระร่วงเป็นกษัตริย์ปกครองพระองค์แรก
จังหวัดเชียงใหม่ รับช่วงประเพณีการลอยกระทงนี้ จากจังหวัดสุโขทัย เพราะเชียงใหม่กับสุโขทัยเป็นเมืองพี่เมืองน้องกัน ชาวล้านนาเป็นคนใจบุญสุนทาน มีความนับถือในพระพุทธศาสนาแนบแน่นอยู่ในหัวใจ มีการปรับเปลื่อนรูปแบบการลอยกระทงให้สอดคล้องกับศาสนา ไม่ใช่เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินอย่างเดียว ประเพณีการลอยกระทงของจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดอื่น ๆ ที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง จึงวัฒนาถาวรไม่เสื่อมลง
ปัจจุบัน ชาวเชียงใหม่ยังคงมีความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนาไม่เปลี่ยนแปลง ประกอบกับจังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางภาคเหนือ ทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามารับชม ซึมซับวัฒนธรรมประเพณี และสนใจในความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนาของชาวเชียงใหม่ จึงอยากมีส่วนร่วม ในประเพณีลอยกระทง และปล่อยโคม เช่นเดียวกับชาวเชียงใหม่
เมื่อจำนวนนักท่องเที่ยว มีความต้องการอยากลอยกระทง และปล่อยโคมมากขึ้น นักธุรกิจชาวเชียงใหม่ จึงเห็นช่องทางจัดการปล่อยโคมตามวัดต่าง ๆ
เมื่อความนิยมเพิ่มสูงขึ้น จำนวนนักธุรกิจชาวเชียงใหม่ที่สนใจในธุรกิจนี้ ก็เพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ ส่วนมาก นักท่องเที่ยวที่เข้าร่วมงานจะชอบงานมาก เพราะนักธุรกิจที่จัดงานส่วนใหญ่ มีประสบการณ์มากขึ้น แต่ก็มีผู้ประกอบการบางราย อาจจะยังประสบการณ์น้อย และเห็นแก่ผลกำไรมากเกินไป ทำให้คุณภาพการจัดงาน ยังไม่ดีเท่าที่ควร จึงทำให้ภาพพจน์งานลอยโคมของจังหวัดเชียงใหม่ เสียหาย เสียชื่อ ที่สำคัญคือ ผู้ประกอบการรายอื่น ๆ รวมถึงชาวเชียงใหม่ รู้สึกเสียใจ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นอย่างมาก
ภาคเอกชนผู้เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว น่าจะมีการจัดการประชุม เพื่อพูดคุย หารือ แก้ไข โดยเฉพาะในส่วนราชการหลายภาคส่วนที่มีหน้าที่กำกับดูแล มีการจัดการเรียกประชุม หาทางปรับปรุงแก้ไข มีมาตราการเข้มงวด เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นอีก
อีกประการหนึ่ง เนื่องจากปีนี้มีพระราชบัญญัติ ซึ่งออกเป็นกฎหมาย มาควบคุมการปล่อยโคม ซึ่งมีการห้ามไม่ให้ปล่อยโคม ในพื้นที่ ที่อยู่ในแนวการบิน ถึงแม้จะมีความขอความร่วมมือกับสายการบิน ในวันลอยกระทงให้งดการบินแล้วก็ตาม ซึ่งหน่วยงาน และผู้รับผิดชอบ เน้นและคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลัก
เรื่องประเด็นเกี่ยวกับกระแสโซเชียล ที่มีกระแสว่า มีการหลอกลวงนักท่องเที่ยว เข้าใจว่าเป็นการประกอบการของผู้ประกอบการธุรกิจ “บางรายเท่านั้น” เนื่องจากผู้ประกอบการบางรายมีพื้นที่จัดกิจกรรมที่อยู่ในแนวการบินและพรบ.ฉบับใหม่ที่เพิ่งออกมาบังคับใช้เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ห้ามมิให้มีการปล่อยโคมลอยในบริเวณแนวการบินอย่างเด็ดขาด จึงทำให้ผู้ประกอบการเหล่านี้ต้องย้ายสถานที่จัดกิจกรรมไปยังพื้นที่ใหม่ เนื่องจากเวลาค่อนข้างกระชั้นชิดน่าจะมีการเตรียมการไม่ทันหรือไม่มีเวลา จึงอาจจะทำให้เกิดปัญหาดังที่เป็นกระแสในโชเชี่ยล แต่ผู้ประกอบการหลายแห่ง ยังคงได้รับการยอมรับจากนักท่องเที่ยวชาวจีนอยู่
เหตุการณ์ในครั้งนี้ สร้างความไม่สบายใจ ให้เกิดกับทุกฝ่าย เพราะชาวเชียงใหม่และคนไทย ยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกชาติ ศาสนา ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักท่องเที่ยวชาวจีน ที่ความผูกพันอย่างลึกซึ้งกับคนไทย ทั้งด้านเชื้อชาติ และวัฒนธรรม ตลอดจนเศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งคนไทยและคนจีน เปรียบเสมือนพี่น้องกัน
“หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คนจีนส่วนใหญ่ จะยังเชื่อมั่นว่า ประเทศไทย และจังหวัดเชียงใหม่ ยังเป็นสถานที่น่ามาท่องเที่ยวเช่นเดิม”ผู้ประกอบกิจการท่องเที่ยวในเชียงใหม่กล่าว

ร่วมแสดงความคิดเห็น