บูรณา 5 หน่วยงาน แถลงข่าวปราบปรามยาเสพติด พื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ

วันที่ 14 ธ.ค. 62 พล.ท.สุภโชค ธวัชพีระชัย แม่ทัพน้อยที่ 3/ผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการบริหารการแก้ไขปัญหายาเสพติดชายแดนภาคเหนือ ร่วมกับนายมานิต โกเมศ ผู้อำนวยการ สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 5 ว่าที่ ร.ต.ณรงค์ โรจนโสทร รองผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย นายปิติณัช ศรีธรา ผู้เชี่ยวชาญด้านควบคุมทางศุลกากรภาค 3 ปลัด จ.เชียงใหม่ กองกำลังผาเมือง กองกำลังนเรศวร กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 3 กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ตำรวจภูธรภาค 5 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 5 จ.แม่ฮ่องสอน และ จ.พะเยา แถลงผลการปฏิบัติการร่วมสามเหลี่ยมทองคำ 1511 ครั้งที่ 1/63 – ศอ.บส.ชน. ณ ห้องประชุม ศป.บส.ชน.ค่ายกองพันพัฒนาที่ 3 อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่แม่ทัพน้อยที่ 3/ผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการบริหารการแก้ไขปัญหายาเสพติดชายแดนภาคเหนือ กล่าวว่า ในการร่วมกันสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ ตามแนวชายแดนแม่น้ำโขงของแต่ละประเทศ พื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ ในปี 62 ที่ผ่านมา มีการจับกุม 1,023 คดี ผู้ต้องหา 2,021 คน ยาบ้ากว่า 400 ล้านเม็ด ไอซ์ 19,044 กิโลกรัม เฮโรอีน 3,342 กิโลกรัมและกรดไฮโดรคลอริก 77,046 ลิตร เนื่องจากพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ ยังคงเป็นแหล่งผลิตยาเสพติดหลักของโลก ที่มีแนวโน้มปริมาณการผลิตเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น ทั้ง 6 ประเทศ ได้เห็นชอบร่วมกัน ที่จะยกระดับการสกัดกั้นและปราบปราบยาเสพติด ให้เป็น “ปฏิบัติการร่วมสามเหลี่ยมทองคำ 1511 ครั้งที่ 1/63 – ศอ.บส.ชน. ” ขึ้นเพื่อยกระดับความร่วมมือระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ในการร่วมกันเฝ้าระวังและสกัดกั้นสารเคมีที่เสียงต่อการนำไปผลิต ยาเสพติดในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ เพิ่มมาตรการ การวางจุดตรวจจุดสกัดกั้นยาเสพติดตามเส้นทางให้มีประสิทธิภาพ ภายในแต่ละประเทศของตน รวมทั้งดำเนินการต่อพื้นที่และหมู่บ้านสำคัญ ที่คาดว่าเป็นแหล่งผลิตหรือแหล่งพักยาเสพติดในประเทศของตน
โดยทั้งสองประเทศจะดำเนินการสืบสวนปราบปรามกลุ่มผู้ผลิต และผู้ค้ายาเสพติดในประเทศของตน และจะมีการยกระดับการสืบสวนปราบปรามร่วมกัน เช่น เครือข่ายการค้ายาเสพติดที่มีความเชื่อมโยงทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะคนไทยที่หนีหมายจับไปอยู่ในพื้นที่ประเทศเมียนมา การวางแผนสืบสวนและขยายผลร่วมกัน โดยประเทศฝ่ายหนึ่งสามารถ ร้องขอให้มีการปฏิบัติการของอีกฝ่ายหนึ่งได้ เพื่อขอความร่วมมือการสอบปากคำ และขยายผลอย่างรวดเร็วทันการณ์ ต่อไปแม่ทัพน้อยที่ 3/ผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการบริหารการแก้ไขปัญหายาเสพติดชายแดนภาคเหนือ กล่าวว่าการปฏิบัติการครั้งนี้ได้ กำหนดเป้าหมายคู่ขนาน คือ ฝ่ายเมียนมา บริเวณพื้นที่เมืองสาด และ จ.ท่าขี้เหล็ก จำนวน 10 พื้นที่ 21 จุด และคนไทยหนีหมายจับไปอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว จำนวน 53 เป้าหมาย ส่วนพื้นที่เป้าหมาย ฝ่ายไทยกำหนดพื้นที่เสี่ยงสำคัญ ที่อาจมีการลักลอบลำเลียงยาเสพติด และสารตั้งต้น/เคมีภัณฑ์ ผ่านเข้า–ออก พื้นที่ชายแดน จำนวน 20 ช่องทาง/ท่าข้าม 23 พื้นที่หมู่บ้าน และ 12 เส้นทางเพ็งเล้ง ด้าน ต.เชียงใหม่ และ จ.เชียงราย สำหรับการจัดกำลังร่วมปฏิบัติตามแผนฝ่ายไทย ประกอบด้วย ศูนย์ปฏิบัติการบริหารการแก้ไขปัญหายาเสพติดชายแดนภาคเหนือ กองกำลังผาเมือง กองกำลังนเรศวร กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 3 กองบัญชาการตำรวจปราบปราม ยาเสพติด ตำรวจภูธรภาค 5 สำนักงานศุลกากรภาคที่ 3 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 5 สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 5 ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดพะเยา ในการร่วมกันยกระดับความร่วมมือระหว่างไทยและเมียนมา และการปฏิบัติการร่วมเพื่อหยุดยั้งการนำเข้าและส่งออก ยาเสพติด สารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ บริเวณพื้นที่ชายแดนภาคเหนือของไทย ให้ส่งผลต่อสถานการณ์ปัญหายาเสพติด ในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ ภายใต้ความร่วมมือของอนุภาคี 6 ฝ่าย หรือ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น